ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังได้แก่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้


  1. โรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2
  2. โรคความดันโลหิตสูง
  3. ไขมันในเลือดสูง
  4. โรคตับ
  5. โรคแพ้ภูมิตนเอง (autoimmune diseases) เช่น หนังแข็ง SLE ที่อาจก่อให้เกิดไตผิดปกติ
  6. โรคติดเชื้อในระบบ(systemic infection) ที่อาจก่อให้เกิดโรคไต
  7. โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)
  8. โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำหลายครั้ง
  9. ได้รับยาหรือสารพิษที่ทำลายไต
  10. อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  11. มีมวลเนื้อไตลดลง ทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลัง
  12. มีประวัติโรคไตเรื้อรังในครอบครัว
  13. ตรวจพบนิ่วในไต

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งควรได้รับการตรวจ เพื่อวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง ดังนี้

  1. เจาะเลือดตรวจการทำงานของไต Creatinine ประเมินค่า estimated GFR (eGFR) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยการตรวจระดับครีเอตินินในซีรั่ม (serum creatinine, SCr) และ คำนวณด้วยสูตร
  2. ตรวจหาโปรตีนจากตัวอย่างปัสสาวะถ่ายครั้งเดียว โดยใช้แถบสีจุ่ม(Dipstick) อ่านการตรวจปัสสาวะหาโปรตีน

กรณีผู้ป่วยเบาหวาน

  • ถ้าตรวจพบมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะตั้งแต่ระดับ 1+ขึ้นไป และไม่มีสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม ถือได้ว่ามีภาวะไตผิดปกติ
  • ถ้าตรวจไม่พบโปรตีนรั่วทางปัสสาวะด้วยแถบสีจุ่มควรส่งตรวจปัสสาวะตอนเช้าโมงเพื่อหาค่าโปรตีนในปัสสาวะ urinary albumin/creatinine ratio (UACR) จากการเก็บปัสสาวะตอนเช้าถ้ามีค่า 30-300 mg/g แสดงว่ามีภาวะ microalbuminuria
  • ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตรวจ UACR ได้ อาจส่งตรวจปัสสาวะด้วย microalbuminuria dipstick แทน ถ้าได้ผลบวกให้ถือว่า ผู้ป่วยอาจมีภาวะ microalbuminuria

กรณีผู้ป่วยไม่ได้เป็นเบาหวาน

  • ถ้าตรวจพบมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะตั้งแต่ระดับ 2+ขึ้นไป และไม่มีสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม ถือได้ว่ามีภาวะไตผิดปกติ
  • ถ้าตรวจพบโปรตีนรั่วทางปัสสาวะในระดับ 1+ควรส่งตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ urinary protein/creatinine ratio(UPCR) ถ้ามากกว่า 500 mg/g ให้ถือว่ามีภาวะไตผิดปกติ


  1. ตรวจหาเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะด้วยแถบสีจุ่ม ถ้าได้ผลบวกให้ทำการตรวจ microscopic examination โดยละเอียด หากพบเม็ดเลือดแดง มากกว่า 5/HPF ในปัสสาวะที่ได้รับการปั่น และไม่มีสาเหตุที่สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม ถือได้ว่ามีภาวะไตผิดปกติ
  2. ในกรณีที่ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะควรได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้งในระยะเวลา 3 เดือนหากยืนยันความผิดปกติสามารถให้การวินิจฉัยผู้ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังหากผลการตรวจซ้ำไม่ยืนยันความผิดปกติ ให้ทำการคัดกรองผู้ป่วย ในปีถัดไป
  3. การตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจทางรังสี (plain KUB) และ/หรือการตรวจอัลตราซาวด์ (ultrasonography of KUB) ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยแต่ละราย

หากพบความผิดปกติแพทย์จะนัดท่านตรวจต่อ อ่านที่นี่

โรคไตวายเรื้อรัง สาเหตุโรคไต การรักษาโรคไต การรักษาความดัน การรักษาเบาหวานและไขมัน การรักษาภาวะแคลเซี่ยมต่ำ การรักษาภาวะโลหิตจาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโปรตีนในปัสสาวะ ความเสี่ยงการเกิดโรคไต การตรวจวินิจฉัยโรคไต ความรุนแรงโรคไต สาเหตุโรคไต อาการโรคไต โรคไต

อาการโรคไต การวินิจฉัยโรคไต