หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

โรคผิวหนังผื่นแพ้สัมผัส contact dermatitis



ผื่นแพ้สัมผัสเป็นโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการแพ้สารที่มาสัมผัสผิวหนัง สารที่มาสัมผัสมีทั้งสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง irritant contact dermatitis หรือสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ต่อผิวหนัง โรคนี้หากทราบสาเหตุก็จะป้องกันมิให้เกิดซ้ำ

โดยเฉลี่ยผู้ใหญ่จะใช้สารเคมีกับร่างกายอย่างน้อย 7 ชนิดได้แก่ น้ำหอม ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด สบู่ ครีมนวดผม หรือแชมพูสระผม ครีมดับกลิ่น และเครื่องสำอางที่แพ้บ่อยที่สุดได้แก่น้ำหอม ควรจะใช้เครื่องสำอางที่ไม่มีน้ำหอม

ตำแหน่งที่เกิดผื่นแพ้สัมผัส

ได้แก่ ใบหน้า ริมฝีปาก ตา หู เป็นการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีบางชนิด การอักเสบของผิวหนังจะมากหรือน้อยขึ้นกับความเข้มข้นของสารเคม ีและระยะเวลาที่สัมผัสแบ่งออกเป็นสองชนิดได้แก่่

ผื่นแพ้จากการสัมผัส Irritant contact dermatitis

ผื่นแพ้จากการสัมผัส

เป็นการอักเสบของผิวหนังที่มีอาการ บวม แดง และมีขุยที่ผิวหนัง เนื่องมากจากผิวหนังได้สัมผัสสารที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เซลล์ผิวหนังเสียหาย และหลั่งสารที่ทำให้ผิวหนังอักเสบ เช่น กรด หรือด่าง ส่วนสารที่มีความระคายเคืองน้อยได้แก่ สบู่ ผงซักฟอก ครีมดับกลิ่น เครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งน้ำเปล่าหากสัมผัสบ่อยๆ ก็ทำให้เกิดผื่นได้เช่นกัน ผื่นมันจะเกิดหลังจากสัมผัสสารนั้นภายใน 1-2 วัน

ผื่นแพ้สัมผัส irritant contact dermatitis

ผื่นแพ้ Allergic dermatitis

แพ้ยาง

เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสสารที่ทำให้แพ้ การเกิดผื่นนี้มักจะเกิดหลังจากการสัมผัสครั้งแรก 6-10 วัน ผิวหนังที่เคยถูกกระตุ้นแล้วอาจจะเกิดผื่นภายใน 4-12 ชั่วโมงเป็นผิวหนังอักเสบ ที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ ตัวอย่างเช่น แพ้ยาง แพ้ปูน

อ่านผื่นแพ้สัมผัสAllergic dermatitis


ความรุนแรงของผื่นแพ้ contact dermatitis

ผื่นแพ้ผ้าอ้อม

ความรุนแรงของผื่นขึ้นกับ

ความรุนแรงของผื่นแพ้สัมผัส

การรักษาผื่นแพ้ contact dermatitis

ยารักษาผื่นแพ้สัมผัส

การรักษา และการป้องกันโรคผื่นแพ้สัมผัสที่สำคัญ คือจะต้องหาสาเหตุ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งที่แพ้ การรักษาแบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง ยาที่ใช้รักษาก็มีทั้งยาทาเฉพาะที่ ยาแก้แพ้ ยาทา steroid ยารับประทาน steroid

การรักษาผื่นแพ้สัมผัส


allergic contact dermatitis | iriitant contact dermatitis | การรักษา | ความรุนแรงของโรค | แนวทางการดูแลสำหรับผู้เป็นผื่นแพ้