โรคลมพิษ Urticaria

โรคลมพิษเป็นโรคที่พบผิวหนังจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง นูน ขอบเขตชัดเจนและมีอาการคัน โรคลมพิษจะแบ่งเป็นลมพิษเรื้อรังคือมีอาการหกสัปดาห์ขึ้นไป ส่วนที่มีอาการน้อยกว่าหกสัปดาห์ถือเป็นลมพิษปัจจุบัน โรคลมพิษเป็นโรคที่เกิดจากภูมิแพ้ทำให้เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง โรคลมพิษมีอาการตั้งแต่เป็นลมพิษมีผื่นเพียงเล็กน้อย หรือเป็นโรคลมพิษรุนแรงถึงกับเสียชีวิต

อาการโรคลมพิษผื่นลมพิษ

ประวัตการป่วยด้วยลมพิษที่ต้องทราบคือ เคยเป็นมาก่อนเมื่อไร ระยะเวลาที่ผื่นหายไป ประวัติที่ต้องทราบ

  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดผื่น เช่น ความร้อน ความเย็น บริเวณที่กดทับเช่น ขอบชุดชั้นใน การออกกำลังกาย ความเครียด การใช้ยา
  • โรคประจำตัว เช่นโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคอื่นๆ
  • ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว โดยเฉพาะประวัติการแพ้รุนแรง

โรคลมพิษแบ่งออกเป็นสองชนิด ได้แก่

1ลมพิษชนิดเกิดปัจจุบัน Acute urticaria

เกิดอาการลมพิษ หลังจากได้รับสารที่ก่อภูมิแพ้ ผื่นมักจะหายภายใน 24 ชัวโมง หรืออาจจะมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่เรียกว่า angioedema หรืออาจจะเกิดภาวะ anaphylactic shock แต่บางคนผื่นอาจจะอยู่ได้นาน 2-3 วัน สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้แก่ อาหาร ยา อากาศ การติดเชื้อไวรัส

Allergy testing may be needed to find out if you're allergic to suspected triggers for urticaria.

2ลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria

เป็นลมพิษที่เป็นเรื้อรังนานเกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุอาจจะเกิดจากการได้รับสารที่แพ้อย่างต่อเนื่องเช่น ได้รับยาปฏิชีวนะในน้ำนม สารถนอมอาหาร สี สารปรุงรส

สำหรับลมพิษที่เกิดน้อยกว่า6 สัปดาห์จะต้องหาสาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคได้แก

  • ประวัติการเจ็บป่วยก่อนหน้านี้
  • ประวัติการใช้ยาทั้งซื้อรับประทานเอง หรือแพทย์สั่ง รวมทั้งสมุนไพร
  • การฉีดสีเพื่อวินิจฉัย
  • การท่องเที่ยว
  • อาหาร
  • น้ำหอม ยาย้อมผม ผงซักฟอก ครีม เสื้อผ้า
  • การสัมผัสสัตว์เลี้ยงใหม่ ฝุ่น ไรฝุ่น ต้นไม้ เกษรดอกไม้
  • การตั้งครรภ์
  • สัมผัสยาง สารเคมี กำไร ต่างหู โลหะ
  • แสงอาทิตย์ อากาศหนาว
  • การออกกำลังกาย
  • การดื่มสุรา

หากเกิดอาการลมพิษจะต้องตรวจหาโรคร่วมและความรุนแรงของโรค

  • หากหนังตาบวม ริมฝีปากหน้า หากใจลำบากแสดงว่าเป็นลทพิษชนิดรุนแรงที่เรียกว่า Agioedema ซึ่งเป็นภาวะเร่งด่วน
  • ผื่นลมพิษปกติจะไม่เจ็บและมักจะจางลงใน 24 ชั่วโมง แต่หากผื่นลมพิษมีอาการเจ็บ ผื่นจางลงช้า และมีผื่นหายมีร่องรอยดำๆบริเวณผื่นให้สงสัยว่าผื่นนั้นเกิดจากหลอดเลือดอักเสบ urticarial vasculitis
  • มีอาการไข้อ่อนเพลียครั่นเนื้อครั่นตัว
  • มีตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโตหรือไม่
  • ต่อมไทรอยด์โต
  • ปอดบวมหรือไม่
  • ผิวหนังมีการติดเชื้อราหรือไม่

การวินิจฉัยโรคลมพิษ

การวินิจฉัยจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วย

  • ผื่นเกิดเมื่อไร ผื่นเกิดบริเวณไหนก่อน
  • สถานที่เกิดผื่น
  • ก่อนเกิดผื่นได้มีกิจกรรมอะไรบ้างเช่น การรับประทานอาหาร ยา การออกกำลังกาย
  • ประวัติการรับประทานยาชนิดใหม่
  • มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ้างไหม เช่น ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง สารเคมี
  • แมลงกัดต่อย
  • ก่อนหน้านี้มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคหรือภาวะอะไรบ้าง
  • การเดินทางท่องเที่ยวก่อนการเกิดผื่น
  • มีประวัติลมพิษในครอบครัวหรือไม่

การวินิจฉัยอาศัยประวัติการเจ็บป่วยและการตรวจร่างกาย

การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

  • ผู้ที่เป็นลมพิษน้อยกว่า 6 สัปดาห์ไม่จำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • ส่วนผู้ที่เป็นลมพิษเรื้อรัง(มากกว่า6 สัปดาห์)จะต้องเจาะเลือดตรวจ CBC, erythrocyte sedimentation rate (ESR), การทำงานของไทรอยด์ thyroid-stimulating hormone (TSH),และการตรวจหาแพ้ภูมิตัวเอง

การตรวจร่างกาย

นอกจากแพทย์จะตรวจลักษณะผื่นแล้วแพทย์ยังต้องตรวจ อาการแสดงของโรคร่วม โรคแทรกซ้อน

  • ตรวจหาหลักฐานว่าเป็นโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือไม่ เช่น มีอาการบวมของหนังตา ริมฝีปาก หายใจลำบากไหม Angioedema
  • ตรวจผื่นลมพิษว่ามีอาการกดเจ็บไหม ใช้เวลาหายนานกีวัน มีเลือดออกในผื่นไหม
  • ตรวจร่างกายทั่วไป ไข้ ปวดข้อ ข้ออักเสบ การเปลี่ยนแปลงขอน้ำหนัก ปวดกระดูก ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต
  • ต่อมไทรอยด์โตหรือไม่
  • มีอาการหลอดลมหดเกร็งหรือไม่
  • ผิวหนังมีการติดเชื้อหรือไม่

สำหรับผู้ที่เป็นลมพิษเกิน 6 สัปดาห์ มักจะไม่ใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้ดังนั้นจึงไม่ต้องมีการทดสอบภูมิแพ้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

  • ประวัติการรับประทานยา
  • ประวัติการดื่มสุรา และกาแฟ
  • ความเครียด
  • มีการตรวจ CBC
  • ตรวจเลือดหาภูมิ
  • ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

สาเหตุของลมพิษปัจจุบัน

  • ยา ที่จริงแล้วยาทุกชนิดมีโอกาศที่จะทำให้เกิดลมพิษได้ทั้งสิ้น แต่ชนิดที่มักจะสาเหตุได้บ่อยได้แก่ ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด และยาระงับประสาท การสืบค้นว่ายาชนิดไหนเป็นสาเหตุของลมพิษต้องอาศัยความร่วมมือทั้งผู้ป่วยและแพทย์ มียาบางชนิดที่ผู้ป่วยอาจจะนึกไม่ถึงว่าเป็นสาเหตุของลมพิษ ได้แก่วิตามิน ยาถ่าย ยาระบาย ยาหยอดหู ยาหยอดตา ยาลูกกลอน หรือยาแผนโบราณชนิดต่างๆที่ผู้ป่วยอาจจะซื้อยารับประทานเองก็ได้ เช่นpenicillins, sulfonamides, NSAIDs, codeine tetracyclin barbiturates codiene quinine phenylbutazone streptomycin chloramphenicol griseofluvin inh nitrfurantoin ,
  • แมลงต่อย เช่น ผึ้ง มด ต่อ
  • อาหาร การเกิดลมพิษอาจจะเกิดจากการแพ้อาหาร หรือสิ่งอื่นที่ผสมในอาหาร เช่นสารแต่งกลิ่นรส สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ ผื่นอาจจะเกิดขึ้นภายในเวลาเป็นนาที หรือชัวโมงหลังจากรับประทานอาหารที่มีรายงานว่าทำให้เกิดลมพิษขึ้นได้แก่ ถั่ว ไข่ นม ชอคโคแลต มะเขือเทศ และผลไม้สดบางชนิด หากสงสัยว่าแพ้อาหาร ผู้ป่วยจะต้องจดชนิดของอาหารที่รับประทานทุกมื้อในแต่ละวัน เพื่อนำมาพิจารณาว่าเมื่อรับประทานอาหารชนิดใดแล้วกิดผื่นมาบ้าง และอาจจะลองหยุดรับประทานอาหารที่สงสัยดูว่าผื่นลมพิษหายไปหรือไม่
  • การติดเชื้อ โรคที่เป็นสาเหตุลมพิษได้บ่อยคือการเป็นหวัด การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น เช่นจมูกอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้การอักเสบเฉพาะที่เช่น ฟันผุ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อช่องคลอดสตรี หรือการมีพยาธิ์ในลำไส้ เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะทำการหาการอักเสบติดเชื้อเหล่านี้ และให้การรักษา
  • ความเครียด
  • เกิดบริเวณกดทับเช่นขอบกางเกง ขอบเสื้อใน เจออากาศเย็น หรือร้อน
  • การออกกำลังกาย
  • การตั้งครรภ์
  • Sun or cold exposure

สาเหตุของลมพิษเรื้อรัง

สาเหตุเหมือนกับโรคลมพิษปัจจุบันและมีสาเหตุอิ่นๆเช่น

  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น (SLE, rheumatoid arthritis, polymyositis, thyroid autoimmunity
  • ความเครียด อากาศร้อน การออกกำลังกาย

ท่านจะทราบสาเหตุของลมพิษได้อย่างไร

  • ท่านแพ้ยาหรือไม่หากท่านรับประทานยาที่แพ้ก็จะทำให้เกิดผื่นลมพิษ
  • อาหาร ท่านอาจจะแพ้อาหารที่รับประทานก็ได้ อาหารที่แพ้บ่อยคือ ถั่ว อาหารทะเล สี ยีสต์
  • จากทางหายใจ เช่นเกษรดอกไม้ ควันธูป ยาฆ่าแมลง
  • ท่านมีไข้หรือไม่ หากมีไข้ผื่นที่เกิดอาจจะมาจากการติดเชื้อ เช่นไข้หวัด ปอดบวม พยาธิ์
  • แมลงกัดหรือต่อยหรือไม่
  • ท่านมีโรคประจำตัวหรือไม่ SLE ไทรอยด์
  • รับประทานยา aspirin อยู่หรือไม่
  • สภาวะแวดล้อม เช่น ความร้อน ความเย็น แรงกดรัด แสง

การรักษา