การรับประทานอาหารและการออกกำลังผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายใช้น้ำตาลเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานจะต้องมีวิธีการปฏิบัติเพื่อป้องกันน้ำตาลต่ำจนกระทั่งหมดสติ นอกจากนั้นผู้ที่ยังคุมน้ำตาลไม่ดีก็ไม่ควรที่จะออกกำลังกาย เพราะจะทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด

โรคเบาหวานกับการออกกำลังกาย

การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย

วิธีดีที่สุดที่จะทราบว่าควรจะรับประทานอาหารมากน้อยเพียงใด ให้เหมาะสมกับการออกกำลังกายของท่าน คือการเจาะระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการออกกำลังกาย และถ้าออกนานกว่า 30 นาทีควรจะตรวจเลือดขณะออกกำลังกาย

  • ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 80-180 มก.%ควรจะรับประทานอาหารเพิ่มก่อนออกกำลังกาย
  • ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 180-240 มก.%ไม่จำเป็นต้องเพิ่มอาหารก่อนออกกำลังกาย แต่อาจจะต้องเพิ่มอาหารหากออกกำลังกายหนักหรือเกินกว่า 30 นาที
  • ปริมาณอาหารที่รับประทานเพิ่ม แล้วแต่ชนิดและระยะเวลาที่ออกกำลังกาย
  • การออกกำลังกายทุกครั้งควรเตรียมน้ำตาลก้อน หรือน้ำผลไม้ที่สามารถรับประทานได้ง่าย
  • อาจจะต้องตรวจเลือดก่อนและหลังการออกกำลังกาย

 

การออกกำลังกาย ระดับน้ำตาล มก.% ปริมาณอาหารคาร์โบไฮเดรตเพิ่ม ตัวอย่างอาหาร
ออกกำลังเบาๆ <80 10-15 กรัม ผลไม้หนึ่งส่วน หรือแป้งหนึ่งส่วนเช่นส้มหนึ่งผล หรือขนมปัง 1 แผ่น
80-100 10-15 กรัมก่อนออกกำลัง
>100 ไม่จำเป็นต้องให้
ออกกำลังปานกลาง <80 25-30 กรัมก่อนออกกำลัง และให้เพิ่มหากออกมากกว่า 30 นาที นม 1 แก้ว และขนมปัง 1 แผ่น
80-180 10-15 กรัมก่อนออกกำลัง 30 นาที ผลไม้หรือแป้ง 1 ส่วน
180-300 ไม่ต้องให้  
ออกกำลังกายหนัก <80 50 กรัม แป้ง 2 ส่วนและนม 1 ส่วน
80-180 25-50 กรัม นม 1 ส่วนและแป้งหนึ่งส่วน หรือผลไม้หนึ่งส่วนและแป้งหนึ่งส่วน
180-300 ไม่ต้องเพิ่ม  
   

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย การประเมินก่อนออกกำลังกาย วิธีออกกำลังกาย อาหารและการออกกำลังกาย การตรวจร่างกายก่อนออกกำลังกาย | การออกกำลังกายเมื่อมีโรคแทรกซ้อน | ผลออกกำลังในระยะยาว | ผลดีการออกกำลัง


หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง