jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

โรคเอดส์ ความรู้เรื่องโรคเอดส์

เอดส์หรือโรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส

องค์การอนามัยโลกได้นิยามการวินิจฉัยโรคเอดส์ใหม ่เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยผู้ที่ติดโรคเอดส์ในผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปีซึ่งต้องมีเกณฑ์ดังนี้

และหรือ

สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า18ปี การวินิจฉัยโรคเอดส์มีเกณฑ์ดังนี้

การวินิจฉัย Primary infection

องค์กรควบคุมโรคติดต่อของประเทศอเมริกา(CDC)ได้ให้คำนยามไว้ดังนี้

การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเอดส์ชนิด advance (advanced HIV infection)

การประเมินความรุนแรงของโรคเอดส์ก่อนการรักษา

การประเมินความรุนแรงหรือระยะของโรคจะมีประโยชน์ในการประเมินก่อนการรักษาและประเมินเพื่อติดตามผลการรักษา และเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจให้ยาต้านไวรัสหรือการให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส

การประเมินความรุนแรงของโรคแบ่งเป็น

การประเมินความรุนแรงจากอาการของโรค

ตารางประเมินความรุนแรงจากอาการของโรค
อากาของผู้ป่วยโรคเอดส์
เกณฑ์ความรุนแรงตามองค์การอนามัยโรค WHO
ไม่มีอาการ
1
มีอาการน้อย
2
มีอาการโรคเอดส์Advanced symptoms
3
มีอาการรุนแรง Severe symptoms
4

การประเมินความรุนแรงจากภูมิของร่างกาย

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์จะมีการตอบสนองของเซลล์ CD4 เมื่อโรคเป็นมากเซลล์จะลดลง หากการรักษาได้ผลเซลล์CD 4ก็จะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนเซลล์ก็ขึ้นกับอายุดังนั้น

ตารางแสดงความรุนแรงและระดับ CD4
HIV-associated
immunodeficiency
จำนวน CD4 ในแต่ละอายุ
<11 เดือน
(%CD4+)
12–35 เดือน
(%CD4+)
36 –59 เดือน
(%CD4+)
>5 ปี (จำนวน cd4/mm3 sinv
%CD4+)
None or not significant
>35
>30
>25
500
Mild
30–35
25–30
20–25
350−499
Advanced
25–29
20–24
15−19
200−349
Severe
<25
<20
<15
<200 หรือ<15%

การตัดสินใจให้ยารักษาหรือป้องกันการตอดเชื้อฉวยโอกาส

การเจาะเลือดหาจำนวนเซลล์ CD4จะช่วยในการตัดสินใจให้ยารักษาหรือยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

การประเมินความรุนแรงของโรคเอดส์โดยอาศัยอาการหรือโรคแทรกซ้อน

ความรุนแรงของโรคระดับ1 อาการของผู้ป่วย
ไม่มีอาการ Asymptomatic
 
ต่อมน้ำเหลืองโต Persistent generalized lymphadenopathy ต่อมน้ำเหลืองโตมากว่า1 ซมโดยไม่พบสาเหตุ มากกว่า2แห่ง
ความรุนแรงของโรคระดับ2  
น้ำหนักลดลง 10 %จากปกตโดยไม่ทราบสาเหตุิ
 
มีการติดเชื้อทางเดินหายใจซ้ำๆ เช่นไซนัสอักเสบ sinusitis,ต่อมทอนซิลอักเสบ tonsillitis, หูชั้นกลางอักเสบ otitis media และคออักเสบ pharyngitis) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดใบหน้า น้ำมูกไหลข้างเดียว เจ็บหู หรือเจ็บคอ
งูสวัด Herpes zoster มีตุ่มขึ้นตามแนวเส้นประสาท
ปากนกกระจอก Angular cheilitis มุมปากแตกตอบสนองต่อยารักษาเชื้อรา
แผลในปากเป็นซ้ำRecurrent oral ulceration เป็นแผลร้อนในมากกว่า2ครั้งในระยะเวลา 6 เดือน
ผื่นที่ผิวหนัง Papular pruritic eruptions ผื่นคันเป็นตุ่มๆและมักจะเป็นจุดดำๆ
ผื่แพ้ไขมัน Seborrhoeic dermatitis ผิวหนังคนและมีขุยมักเป็นบริเวณที่มีผมหรือขน เช่นศรีษะ รักแร ร่องจมูก
เชื้อราที่เล็บ Fungal nail infections มีการอักเสบของเล็บหรือมีการติดเชื้อราที่เล็บ
ความรุนแรงของโรคระดับ3  
น้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ10โดยไม่ทราบสาเหตุ
น้ำหนักลด แก้มตอบ แขนขาลีบ ดัชนีมวลกายน้อยกว่า18.5
ท้องร่วงเรื้อรังมากกว่า 1 เดือน ถ่ายอุจาระเหลวเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 1เดือน
ไข้เรื้อรัง(มากกว่า37.6องศา)นานกว่าหนึ่งเดือน ไข้หรือเหงื่อออกกลางคืน ไข้อาจจะเป็นตลอดหรือเป็นๆหายๆ ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ
เชื้อราในปาก Persistent oral candidiasis มีอาการเจ็บปากและมีคราบขาวๆในปากเป็นๆหายๆ
มะเร็งในช่องปาก Oral hairy leukoplakia ผื่นขาวๆข้างลิ้น
เป็นวัณโรคปอด ไข้ไอเรื้อรังมากว่า 2 สัปดาห์ หรือตรวจเสมหะพบเชื้อวัณโรค หรือตรวจทางรังสีเข้าได้กับวัณโรค
ติดเชื้อแบททีเรียชนิดรุนแรง เช่น ปอดบวม หนองในปอด กล้ามเนื้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้ร่วมกับอาการตามระบบ เช่นไอ เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ
ปากหรือเหงือกอักเสบ ปาดอักเสบ มีแผล ฟันร่วง กลิ่นปากแรง
ซีดโดยไม่ทราบสาเหตุ (<8 g/dl),เม็ดเลือดขาวต่ำneutropaenia (<0.5 × 109 per litre)
หรือเกล็ดเลือดต่ำ chronic thrombocytopaenia (<50 × 109 per litre)
 
ความรุนแรงของโรคระดับ4  
กล้ามเนื้อรีบ HIV wasting syndrome
น้ำหนักลดลงมากกว่า10%และหรือท้องร่วงเรื้อรัง หรือไข้เรื้อรัง
ติดเชื้อ Pneumocystis pneumonia ไข้ เหนื่อยง่าย ไอ ตรวจทางรังสีพบปอดบวมและไม่พบว่ามีการติดเชื้อแบททีเรีย
ปอดบวมรุนแรงซ้ำ Recurrent severe bacterial pneumonia มีปอดบวม 2ครั้งใน 6เดือน
ติดเชื้อเริม Chronic herpes simplex infection เรื้อรังนานมากกว่า 1 เดือน มีผื่นที่ริมฝีปากหรืออวัยวะเพศนานกว่า1เดือนหรือเป็นๆหายๆ
ติดเชื้อราตามอวัยวะต่างๆ Oesophageal candidiasis (or candidiasis of trachea, bronchi or lungs) มีอาการกลืนอาหารลำบาก และเจ็บหน้าอกเนื่องจากเชื้อราในหลอดอาหาร
เป็นวัณโรคนอกปอด Extrapulmonary tuberculosis
ไข้ ไอ เจ็บหน้าอก ตรวจมีหนองช่องปอดหรือหัวใจ
Kaposi’s sarcoma ก้อนสีออกแดงที่ผิวหนังและในปาก
ติดเชื้อCytomegalovirus infection (retinitis or infection of other organs) รู้ได้โดยการตรวจของจักษุแพทย์
ติดเชื้อ Central nervous system toxoplasmosis มีอาการอ่อนแรงของแขนและขาทำcomputer พบรอยโรคในสมอง
HIV encephalopathy ความจำไม่ดี การเรียนรู้หรือพฤติกรรมแย่ลง
ติดเชื้อ Extrapulmonary cryptococcosis including meningitis ไข้ ปวดศีรษะ คอแข็งเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ติดเชื้อDisseminated non-tuberculous mycobacterial infection ไม่มีอาการเฉพาะ
Progressive multifocal leukoencephalopathy ไม่มีอาการเฉพาะ
ติดเชื้อ Chronic cryptosporidiosis (with diarrhoed) ไม่มีอาการเฉพาะ
ติดเชื้อ Chronic isosporiasis  
ติดเชื้อ Disseminated mycosis (coccidiomycosis or histoplasmosis) ไม่มีอาการเฉพาะ
ติดเชื้อไทฟอยด์ซ้ำ Recurrent non-typhoidal Salmonella bacteraemia ไม่มีอาการเฉพาะ
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma (cerebral or B-cell non-Hodgkin) or other solid HIV-associated tumours ไม่มีอาการเฉพาะ
มะเร็งปากมดลูก Invasive cervical carcinoma ไม่มีอาการเฉพาะ
Atypical disseminated leishmaniasis ไม่มีอาการเฉพาะ
โรคเอดส์ที่มีโรคไตและโรคหัวใจSymptomatic HIV-associated nephropathy or symptomatic HIV-associated cardiomyopathy ไม่มีอาการเฉพาะ