การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก
การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกมี 3 วิธี
- เพาะเชื้อไวรัสไข้เลือดออก วิธีนี้ต้องอาศัยเครื่องมือและทักษะ
- การทดสอบทางภูมิคุ้มกัน โดยการเปรียบเทียบภูมิคุ้มกันตั้งแรกเป็นไข้ และอีกสองสัปดาห์ หากภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่าแสดงว่าเป็นการติดเชื้อไข้เลือดออก การทดสอบภูมิที่นิยมทำได้แก่
- Haemagglutination inhibition (HI) test เป็นการทดสอบที่นิยมทำมากที่สุด เนื่องจากใช้เครื่องมือน้อย การตรวจไม่ยุงยากและมีความไวสูง ภูมิชนิดนี้จะเริ่มขึ้นในวันที่ 5 ของไข้ระดับของภูมิมักจะน้อยกว่า 10 สำหรับภูมิที่เจาะตอนที่ผู้ป่วยหายแล้วภูมิจะขึ้นโดยมากมักจะตำ่กว่า 640 ข้อเสียของตรวจนี้คือจะขาดความจำเพาะ และไม่สามารถหาว่าเกิดจากเชื้อไข้เลือดออกชนิดไหน
- Complement fixation (CF) testการตรวจนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากการตรวจต้องใช้เครื่องมือ และต้องการทักษะในการทำ ภุมิจะเกิดช้ากว่าชนิด Haemagglutination inhibition แต่จะมีความจำเพาะกับชนิดของเชื้อมากกว่าชนิด Haemagglutination inhibition เหมาะสำหรับการตรวจหาการติดเชื้อครั้งแรก
- Neutralization test (NT) การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ไว และมีความแน่นอนมากที่สุด และภูมิที่เกิดจะอยู่นานทำให้ตรวจเพื่อหาการระบาดของเชื้อ
- IgM -capture enzyme-linked immuno-sorbent assay (MAC-ELISA) เป็นการตรวจหาภูมิต่อเชื้อไข้เลือดออกชนิด IgM ภู้มชนิดนี้จะขึ้นเร็วโดยประมาณวันที่ 5 ของไข้ บางคนก็ขึ้นวันที่ 2-4 แต่บางคนก็ไม่ขึ้น
- IgG -ELISA เป็นการตรวจเพื่อหาภูมิต่อเชื้อไข้เลือดออกชนิด IgG ความไวของการตรวจจะไวกว่าชนิด (HI) test แต่ไม่จำเพาะกับชนิดของเชื้อ
ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก วิธีการดูแลผู้ป่วย