หมอนกระดูกทับเส้นประสาท
ผู้ที่มีปัญหากระดูกเสื่อม หรือได้รับอุบัติทางรถยนต์ หรือบางรายอาจจะไม่มีสาเหตุชัดเจนที่ทำให้หมอนกระดูกกดทับเส้นประสาท
ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการเจ็บคอ ร่วมกับอาการปวดแขนโดยปวดจากต้นแขนร้าวไปปลายแขน
มีชาที่มือ หากเป็นมากจะมีอาการอ่อนแรงของมือ ตำแหน่งของหมอนกระดูกทับเส้นประสาทที่พบบ่อยได้แก่กระดูกคอข้อที่
5-6,6-7 และ 4-5 เรียงตามลำดับ
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ขึ้นกับตำแหน่งของหมอนกระดูกว่ากดทับเส้นประสาทเส้นใด
- หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อที่ 4-5 จะมีอาการอ่อนแรงของกล้มเนื้อหัวไหล่
แต่ไม่มีอาการชามือ
- หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อที่ 5-6 จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อด้านหน้า(bicep
) กล้ามเนื้อที่ใช้กระดกข้อมืออ่อนแรง ชาหรือปวดบริเวณมือฝากนิ้วหัวแม่มือ
- หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อที่ 6-7 จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อด้านหลัง(triicep
) กล้ามเนื้อที่ใช้เหยียดนิ้วมือ ชาหรือปวดบริเวณริ้วกลาง
- หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกข้อที่ 7-กระดูกหน้าอกข้อที่1
ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อสำหรับการกำมือ ชาบริเวณมือฝากนิ้วก้อย
แต่ในความเป็นจริงอาการและการตรวจพบอาจจะไม่ตรงไปตรงมา จำเป็นต้องใช้การตรวจพิเศษเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อให้ยาแก้ปวดรับประทานมักมีอาการดีขึ้น เรื่องชาหรืออ่อนแรงอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์จึงจะกลับสู่ปกติ
การวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- การตรวจที่ให้ผลแม่นยำได้แก่การตรวจ MRI คือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- การตรวจด้วยเครื่อง CT ร่วมกับการฉีดสีเข้าไขสันหลังจึงจะมีความแม่นยำพอกับการทำ
MRI
- การตรวจคลื่นไฟ้ฟ้ากล้ามเนื้อ Eletromyography(EMG) เป็นการวัดว่าเส้นประสาทถูกกดทับหรือไม่โดยการเปรียบเทียบข้างที่เป็นโรคกับด้านที่ปกติ
การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- อาการปวดมักจะเกิดจากสาเหตุสองประการคือ เกิดจากการกดทับของเส้นประสาท
และเกิดจากการอักเสบ ในการรักษาเบื้องต้นเพียงให้ยาแก้ปวด NSAID ก็เพียงพอที่จะบรรเทาอาการปวด
- การทำกายภาพ เช่นการอบร้อน/เย็น การใช้ ultrasound จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- การดึงคอ จะช่วยลดการกดทับของเส้นประสาท
- การจัดกระดูก Chiropractic manipulation อาจจะช่วยลดอาการปวด(ต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญ
เพราะอาจจะทำให้โรคเป็นมากขึ้นหากทำผิด)
- การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อาการเป็นมากขึ้น เช่น การยกของหนัก กิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระแทก
เช่นการวิ่ง การนั่งรถที่แล่นทางขรุขระ การนั่งเรือเร็ว เป็นต้น
- การใส่ปลอกคอเพื่อให้มีการพักของกระดูกต้นคอ
- การใช้ยาแก้ปวดดังกล่าวข้างต้นหากไม่หายอาจจะต้องให้ยา steroid ยาแก้ปวดที่แรงมากขึ้น
- การฉีดยาเข้าบริเวณที่ปวด
การรักษาโดยการผ่าตัด
โดยทั่วไปผู้ที่มีหมอนกระดูกทับเส้นประสาทมักจะหายได้เอง หากอาการปวดหรือชาเป็นต่อเนื่องกัน
6-12 สัปดาห์ หรืออาการปวดรุนแรงมาก ก็จำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัด ซึ่งมีวิธีผ่าได้หลายวิธี
- Anterior cervical discectomy and fusion หมายถึงการผ่าตัดเพื่อนำเอาหมอนกระดูกออกโดยผ่าตัดส่วนหน้าของคอ
แผลกว้างประมาณ หนึ่งนิ้วครึ่ง เมื่อนำหมอนออกแล้วก็เชื่อมกระดูกทั้งสองเข้าด้วยกัน
- Anterior discectomy without fusion การผ่าตัดเหมือนกับข้อที่หนึ่งแต่ไม่มีการเชื่อมต่อ
ปล่อยไว้กระดูกจะเชื่อต่อกันเอง
- Posterior cervical discectomy เป็นการผ่าตัดนำหมอนกระดูกออกโดยผ่าทางด้านหลัง
แต่วิธีการผ่าตัดจะยากกว่าการผ่าตัดทางด้านหน้า
โรคแทรกซ้อนหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
พบไม่มากหากผ่าโดยผู้ชำนาญ โรคแทรกซ้อนที่อาจจะพบได้แก่
- ระหว่าการผ่าตัดอาจจะเกิดอุบัติเหตุต่อหลอดลม หลอดอาหาร เส้นเลือดแดงใหญ่
- อาจจะมีอุบัติเหตุต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียง ทำให้ผู้ป่วยเสียงแหบ
- ข้อกระดูกไม่เชื่อม ซึ่งต้องผ่าตัดซ้ำ
- อุบัติเหตุต่อเส้นประสาท
- เกิดการติดเชื้อ
ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ การเลือกหมอน การเลือกที่นอน