การสวมหน้ากากอนามัย
- ผู้ที่อายุมากกว่า 2 ปีที่ฉีดวัคซีนไม่ครบให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในอาคารสาธารณะ แต่เมื่ออยู่นอกอาคารก็ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย
- ในพื้นที่มีมีการระบาดของโรคโควิดให้สวมหน้ากากอนมัยในที่มีคนแออัดแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในอาคาร และให้สวมหน้ากากอนามัยถ้าต้องใกล้ชิดกับผู้คน
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอจากโรคเช่นมะเร็ง หรือผู้ที่รับประทานยากดภูมิให้สวมหน้ากากอนามัยแม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบ
- แม้ว่าคุณจะได้รับการฉีดวัคซีนครบเพื่อเป็นการป้องการแพร่ระบาดให้คนที่ฉีดวัคซีนครบต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออาคารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นมีคนจำนวนมาก หรือการถ่ายเทอากาศไม่ดี
- ให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในรถโดยสารสาธารณะ เครื่องบิน รถเมล์ ในสถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน
วิธีเลือกหน้ากากอนามัย
- หากเป็นหน้ากากผ้าต้องมีอย่างน้อยสองชั้น และสามารถถอดซักได้
- หน้ากากต้องมีความกว้างพอที่จะคลุมทั้งจมูกและปาก
- ต้องแนบกับแก้มไม่มีอากาศเร็ดลอดทางด้านข้าง
- ต้องมีขดลวดที่ดั้งจมูกเพื่อป้องกันอากาศเร็ดลอด
หน้ากากที่ไม่ควรเลือกใช้
- หน้ากากที่ทำจากใยสังเคราะห์เช่นไวนิล
- ไม่ควรมี exhalation valves
- ไม่ควรใส่ Face shield โดยที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยเพราะยังไม่มีการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพ
ข้อที่ควรพิจารณาในการใช้หน้ากากอนามัย
- ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัยให้กับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี และควรเลือกหน้ากากให้มีขนาดพอดีกับเด็ก
- เลือกหน้ากาที่คลุมตั้งแต่จมูกถึงคาง และไม่มีช่องว่างบริเวณแก้ม
- ไม่ใช้ผ้าพันคอแทนหน้ากากอนามัย
- ผู้ที่มีหนวดเคราควรจะโกนหนวดเคราให้สั้นติดผิวหนัง
- ให้สวมหน้ากากอนามัยชนิดผ้าคลุมหน้ากากอนามัยที่ใช้ทางการแพทย์
- สำหรับผู้พิการที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย ให้ใช้มาตรการอื่นแทน
ถ้าหากจำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยให้กับเด็ก หรือผู้พิการท่าจะต้องคอยช่วยเหลือ
- ให้ถอดหน้ากากอนามัยเมื่อจะหลับ
- ให้ใส่หน้ากากให้เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ หรืออยู่กับคนอื่น
- เลือกหน้ากากที่เหมาะสม
ขั้นตอนในการใส่หน้ากากอนามัย
ขั้นตอนการใส่หน้ากากอนามัย สำหรับป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- 1. ล้างมือให้สะอาดก่อนสวมใส่หน้ากากอนามัย
- 2. สวมหน้ากากให้คลุมทั้งจมูกและปาก โดยให้ขอบที่มีลวดอยู่ด้านบนสันจมูก และรอยจีบพับคว่ำลง
- หันหน้ากากด้านสีเขียวเข้มออก เอาสีขาวเข้าหาหน้าตัวเอง
- 3. หน้ากากอนามัยที่ทำด้วยกระดาษควรเปลี่ยนวันละครั้ง และทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิด ส่วนหน้ากากอนามัยที่ทำด้วยผ้าสามารถซักด้วยน้ำและผงซักฟอก ผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำมาใช้ได้อีก
- หากหน้ากากชำรุดหรือเปรอะเปื้อน ควรเปลี่ยนใช้ชิ้นใหม่
- นอกจากใช้หน้ากากอนามัยแล้ว ควรหมั่นล้างมือด้วยน้ำ และสบู่บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม หรือสั่งน้ำมูก