การกักตัวเองและดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคโคโรนา(โควิด2019)ที่บ้าน
เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่กระจายได้อย่างไร
โรคโควิด 19 ติดต่อโดย
- การไอ จามและมีเสมหะหรือน้ำมูกที่มีเชื้อโรคลอยไปในอากาศและเข้าจมูก ปากหรือตาของคนที่อยู่ใกล้
- น้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ป่วยปนเปื้อนอยู่กับสิ่งแวดล้อม เช่นลูกบิดประตู ราวบันได แป้นคอมพิวเตอร์ และคนทั่วไปไปสัมผัสและเอาเข้าปาก เชื้อก็สู่ร่างกาย
- หรือมือสัมผัสมือหรือส่วนอื่นของผู้ป่วยที่ปนเปื้อนเสมหะที่มีเชื้อโรค แล้วเอาเข้าปาก
โรคไวรัสโคโรน่ามีอาการอย่างไร
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า อาการของผู้ป่วย โควิด-19 ส่วนใหญ่ ได้แก่
- มีไข้
- มีอาการไอ
- มีน้ำมูก
- มีอาการเหนื่อยหอบ
บางรายมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ
การกักตัวเองและดูแลตัวเองเมื่อป่วยเป็นโรคโคโรน่า(โควิด19)
ผู้ป่วยโรคโควิดทุกรายควรจะนอนโรงพยาบาลโดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ โรคไต เพื่อติดตามอาการ แต่หากเตียงเต็มแพทย์จะให้ผู้ป่วยมาดูแลตัวเองที่บ้านซึ่งมีข้อควรพิจารณาดังนี้
- การจัดสถานที่และการทำความสะอาด
- การดูแลผู้ป่วย
- การป้องกันการติดเชื้อในครอบครัว
การจัดการสถานที่และการทำความสะอาดสำหรับกักตัวเอง
อุปกรณ์หรือสถานที่สำหรับการดูแลผู้ป่วย
- ห้องสำหรับผู้ป่วยนอน หากให้ดีควรจะมีห้องน้ำในตัว และควรจะเป็นห้องที่ไม่ค่อยมีคนเดินผ่าน ควรเป็นห้องที่โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ประตูห้องควรจะปิดอยู่ตลอดเวลา
- หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ป่วยสวมเมื่อเวลาออกนอกห้อง
- สบู่หรือแอลกอฮอล์เหลวสำหรับล้างมือเมื่อไอ จาม หรือกำลังจะออกนอกห้อง
- ปรอทวัดไข้
- ผ้าสำหรับเช็ดตัวลดไข้
- สมุดสำหรับจดบันทึกอุณหภูมิ ชีพขจร การหายใจ
- น้ำยาเช็ดพื้น
- กระดาษทิสชู่
- ที่ทิ้งขยะและมีถุงสำหรับมัด
การทำความสะอาดอุปกรณ์สำหรับกักตัวเอง
ห้องผู้ป่วยพัก
- ทิ้งกระดาษหรืออุปกรณืที่ใช้แล้วทิ้งเลย
- เช็ดทำความสะอาดเตียง พื้นด้วยน้ำสบู่
- เสื้อผ้า อุปกรณ์ทานอาหารไม่ควรใช้ร่วมกัน แต่ทำความสะอาดพร้อมกันได้
- ก่อนจะเข้าไปทำความสะอาดห้องที่ผู้ป่วยอยู่ให้เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทให้ดีก่อนเข้า
- ทำความสะอาดห้องที่พักและห้องน้ำหลังทำความสอาดให้เช็ดน้ำน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยจะทำเป็นครั้งคราว
- ผู้จะเข้าไปทำความสอาดจะต้องสวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือทุกครั้ง
- ให้เข้าไปทำความสอาดห้องน้ำหลังจากที่ผู้ป่วยใช้ไปแล้วให้นานที่สุด ไม่ควรเข้าไปทันทีหลังจากผู้ป่วยใช้ห้องน้ำ
สำหรับบ้านที่พัก
ให้ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย เช่น ลูกบิด ราวบันได โทรศัพท์ remote controls โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ ก๊อกน้ำ ทุกวัน
การดูแลผู้ป่วย
ขั้นตอนการดูแล
- ท่านต้องตรวจสอบว่าท่านมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่ กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนได้แก่ ผู้สูงอายุ ท่านที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคปอด ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน กลุ่มนี้ควรจะนอนโรงพยาบาล
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด19 ที่มีอาการไม่มาก หากโรงพยาบาลเตียงเต็มท่านอาจจะต้องนอนที่บ้าน และไม่ควรที่ออกนอกบ้าน นอกจากท่านจะป่วยและไปพบแพทย์
- ปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่านว่าท่านต้องได้รับยาต้านไวรัสหรือเปล่า
- หลีกเลี่ยงการไปที่สาธารณะ เช่นไปโรงเรียน ทำงาน สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า
- หลีกเลี่ยงการโดยสารโดยรถสาธารณะ เช่นรถสองแถว โรคเมล์ รถไฟฟ้า หรือแทกซี่
- แยกตัวเองจากผู้อื่นและสัตว์เลี้ยงให้มากที่สุด โดยแยกห้องพักห้องที่พักควรจะมีการระบายอากาศที่ดี
- หากเป็นไปได้ควรจะแยกห้องให้ผู้ป่วยต่างหากและมีห้องน้ำในตัวประตูห้องควรจะปิดอยู่ตลอดเวลา
- หากไม่มีความจำเป็นก็ให้อยู่แต่ในห้องเป็นเวลา 14 วัน
- หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านหรือมายังที่มีคนอยู่ก็ให้สวมหน้ากากอนามัย
- หากมีห้องน้ำแยกต่างหากจะช่วยลดการติดเชื้อ และให้ล้างห้องน้ำทุกวัน
- พักผ่อนให้มาก
- ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่เพื่อป้องกันมิให้ร่างกายขาดน้ำ
- ปิดปากและจมูกเมื่อเวลาไอหรือจาม และล้างมือบ่อยๆ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับคนอื่นโดยไม่จำเป็น ให้หยุดงาน หยุดเรียน ไม่ควรไปที่สาธารณะที่มีคนมาก เช่นห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนต์ เป็นต้น
- เฝ้าดูว่ามีอาการฉุกเฉินที่จำเป็นจะต้องรีบไปพบแพทย์
วิธีดูแลผู้ป่วยโควิด
เมื่ออาการไข้และมีอาการเหมือนไข้หวัดโคหวิด2019 ท่านจะต้องประเมินว่าท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่ หากท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน ท่านควรจะไปพบแพทย์เพื่อดูแลรักษา หากท่านไม่ใช้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และอาการของท่านไม่มาก ท่านสามารถดูแลตัวเองที่บ้านโดย
- วัดความดันโลหิตวันละ4 ครั้ง
- วัดอุณหภูมิวันละ 4 ครั้ง
- จับชีพขจรวันละสี่ครั้ง
- นับการหายใจวันละสี่ครั้ง
- ดูสภาพทั่วๆไป ทุกครั้งที่เข้าไปดูแลต้องสังเกตสิ่งต่างๆข้างล่าง และหากพบว่าผิดปกติก็แจ้งแพทย์ ดูว่ายังมีสติพูดคุยรู้เรื่องหรือไม่ หากสับสน หรือซึม หรือชักท่านต้องรีบพาไปโรงพยาบาล
- การหายใจว่าเหนื่อยหรือจมูกบานหรือไม่ หากมีอาการเหนื่อยหรือหายใจไม่พอ แสดงว่าอาจจะเกิดปอดบวม
- ดูสีผิวว่ายังแดงหรือไม่ หากริมฝีมากมีสีม่วงๆร่วมกับการที่หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ท่านจะต้องรีบพาไปโรงพยาบาล
- เดินไปมาหรือขึ้นบันไดโดยไม่หอบ หากเดินเล็กน้อยก็เหนื่อย หรือเดินไม่ค่อยไหว ท่านต้องรีบไปโรงพยาบาล
- รับประทานอาหารได้มากน้อยแค่ไหน หากรับประทานอาหารแข็งไม่ได้อาจจะรับเป็นโจ๊กหรือน้ำซุป
- ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง หากปัสสาวะน้อยแสดงว่าร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชย
- อาเจียนหรือถ่ายเหลวจะรับประทานอาหารได้หรือไม่
- หากพบว่าไข้เกิน 38.5 ก็ให้น้ำผ้าชุมน้ำธรรมดามาเช็ดบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และหลัง และให้รับประทานยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง หากไข้เกิน40 แม้ว่าจะได้ยาลดไข้ไปแล้วก็ควรไปพบแพทย์
หากอาการไม่ดีขึ้น เช่นไข้สูง ปวดตามตัวมาก เจ็บคอหรือเจ็บหน้าอกมาก หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ท่านต้องปรึกษาแพทย์
ภาวะที่ต้องรีบไปพบแพทย์
- หายใจลำบากหรือเจ็บหน้าอก
- ผิวหรือริมฝีมากมีสีม่วง
- อาเจียนจนรับประทานอาหารไม่ได้
- มีอาการขาดน้ำ เช่น เวียนศรีษะ หน้ามืดเวลายืนขึ้น ปัสสาวะน้อยลง เด็กจะร้องไห้ไม่มีน้ำตา
- มีอาการชัก
- เด็กซึม
การใช้ยารักษาโรค
- โดยทั่วไปยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับยาต้านไวรัส ยาต้านไวรัสเหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน หรือมีอาการหนัก
- ในเด็กหรือวัยรุ่นไม่ควรได้รับยาลด aspirin เพราะจะทำให้เกิดโรค Reye syndrome
- หากซื้อยารับประทานต้องตรวจสลากว่าไม่มี aspirin
- ยาแก้ปวดลดไข้ที่ใช้ได้คือ acetaminophen
การป้องกันการติดเชื้อในครอบครัว
การลดการแพร่กระจายเชื้อภายในบ้าน
เมื่อคนในบ้านป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) คนดูแลผู้ป่วยจะต้องดูแลผู้ป่วยเป็นอย่างดีแล้ว ยังต้องป้องกันตัวเอง และคนในบ้านมิให้ติดเชื้อด้วย วิธีการป้องกันมีดังนี้
- แยกผู้ป่วยออกจากสมาชิกในครอบครัวให้มากที่สุด
- ให้ผู้ป่วยปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม
- ให้ล้างมือทุกครั้งหลังจามหรือไอ
- ให้สมาชิกในครอบครัวล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ
- หากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องมีคนมาเยี่ยม ใช้วิธีการโทรศัพท์ หรือสื่อสารทางอื่น
- ให้มีคนดูแลเพียงคนเดียว
- ไม่ควรให้คนท้องมาดูแลผู้ป่วย
- สมาชิกในบ้านต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ
- ให้ใช้ tissue เช็ดมือแล้วทิ้ง หรือใช้ผ้าเช็ดมือผืนเล็กแล้วล้าง
- หากผู้ร่วมอยู่ในบ้านมีไข้ ปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสหรือไม่
- หากเป็นไปได้ควรจะแยกห้องให้ผู้ป่วยต่างหากและมีห้องน้ำในตัวประตูห้องควรจะปิดอยู่ตลอดเวลา
- หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านหรือมายังที่มีคนอยู่ก็ให้สวมหน้ากากอนามัย
- หากมีห้องน้ำแยกต่างหากจะช่วยลดการติดเชื้อ และให้ล้างห้องน้ำทุกวัน
หากคุณเป็นคนดูแล คุณต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง
- ไม่ควรนั่งประจันหน้ากับผู้ป่วยแบบใกล้ชิด (น้อยกว่า 6 ฟุต)
- หากต้องอุ้มเด็กให้เอาคางเด็กพาดไว้ที่ไหล่เพื่อป้องกันเสมหะเข้าจมูก
- ให้ใส่ถุงมือ และล้างมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วย
- โปรดระลึกเสมอว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถติดเชื้อจากผู้ป่วยได้ตลอดเวลา และอาจจะแพร่สู่ผู้อื่นได้โดยที่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นเมื่อต้องอกนอกบ้านให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- ติดตามอาการของตัวเอง เช่นไข้ น้ำมูกไหล ไอ
ที่สำคัญต้องดูอาการตัวเองว่ามีอาการไข้หรือเปล่า หากมีต้องปรึกษาแพทย์
การใช้หน้ากากอนามัย
- หลีกเลี่ยงการประจันหน้าใกล้ชิด(ระยะ 6 ฟุต)
- หากต้องประจันหน้าให้ใช้เวลาให้น้อยที่สุด และใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- หากต้องพ่นยาให้ผู้ป่วยให้ใส่หน้ากากชนิด N95
- เมื่อใช้หน้ากากเสร็จให้ทิ้งเลย ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่
- ล้างมือหลังถอดหน้ากากอนามัย
เมื่อไรจะยกเลิกการกักตัว
สำหรับผู้ที่มีผลการว่าเป็นโรคโควิดจะเลิกกักตัว
กรณีที่มีการตรวจเชื้อโควิด
- เมื่อผลการตรวจการตรวจให้ผลลบ
- ไม่มีไข้
- อาการไอ คัดจมูก เหนื่อยหอบดีขึ้น
สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีการตรวจหาเชื้อเพื่อยืนยันว่าไม่ติดต่อ
คำแนะนำควรจะตรวจว่าเชื้อหมดไปจากร่างกายหรือยัง หากไม่ได้ตรวจยืนยันก็มีคำแนะนำดังนี้
- ไม่มีไข้ติดต่อกัน 72 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับประทานยาลดไข้
- อาการไอ น้ำมูก แน่นหน้าอกดีขึ้น
- ควรอยู่จน 7 วันหลังจากเกิดอาการครั้งแรก