การติดไข้หวัดนกในคน
เชื้อไข้วัดนกคืออะไร avian influenza
เชื้อไข้หวัดนกเป็นเชื้อไวรัสโดยธรรมชาติจะติดต่อในนกเท่านั้น นกป่า นกเป็นน้ำจะเป็นพาหะของโรค เชื้อจะอยู่ในลำไส้โดยที่ตัวนกไม่มีอาการ เมื่อนกป่าเหล่านี้อพยพไปก็จะนำเชื้อนั้นไปด้วย เมื่อสัตว์อื่น เช่นไก่ เป็ด หมูเมื่อไก่หรือสัตว์เลี้ยงอื่นได้รับเชื้อไข้หวัดนกจะเกิดอาการสองแบบคือ
- หากได้รับเชื้อชนิดไม่รุนแรง low pathogenic สัตว์เลี้ยงนั้นอาจจะมีอาการไม่มากและหายได้เอง
- หากเชื้อที่ได้รับมีความรุนแรงมาก highly pathogenic ก็จะทำให้สัตว์เลี้ยงตายหมดโดยมากภายใน 2 วัน
อาการของการติดเชื้อไข้หวัดนกในคน
ระยะฟักตัวในคนสั้น ประมาณ 2 ถึง 8 วันและอาจจะอยู่ได้นานถึง 17 วัน สำหรับองค์การอนามัยโลกได้แนะนำใช้เวลา 7 วันสำหรับการซักประวัติเรื่องการระบาด ในคนอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน
- มีไข้สูงมากกว่า 38 องศา หนาวสั่น
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
- ปวดท้อง ท้องร่วง อาเจียน
- มีน้ำมูกไอ
- และเจ็บคอ
- เลือดกำเดา และมีเลือดออกตามไรฟัน
- บางครั้งพบว่ามีอาการตาแดงซึ่งจะหายเองได้ภายใน2ถึง7วัน
- หากมีอาการแทรกซ้อนจะมีอาการรุนแรงถึงปอดบวมและเกิดระบบหายใจล้มเหลว (Acute espiratory Distress Syndrome)ได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ
ทีสำคัญก่อนไปพบแพทย์ต้องแจ้งแก่แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ว่าได้สัมผัสไก่ที่ตายจากไข้หวัดนก หรือสัมผัสผู้ที่ป่วยด้วยไข้หวัดนก เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้เตรียมการป้องกันการแพร่ของเชื้อ และระหว่างการเดินทางไม่ควรโดยสารรถสาธารณะที่มีคนมาก ให้สวมหน้ากากอนามัย
การวินิจฉัยไข้หวัดนก
เกณฑ์การวินิจฉัยไข้หวัดนกสำหรับผู้ที่นอนในโรงพยาบาล
- ตรวจรังสีปอดพบว่ามีปอดบวม หรือมีอาการหายใจวาย
- มีประวัติการไปแหล่งระบาดของไข้หวัดนก 10 วันนับตั้งแต่เกิดอาการ
ร่วมกับมีอาการดังต่อไปนี้
- มีไข้มากกว่า 38 องศา และ
- มีอาการทางเดินระบบหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ หายใจหอบ และ
- ประวัติสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค หรือสัมผัสกับคนป่วยภายใน 10 วันก่อนเกิดอาการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์
- การเพาะเชื้อไวรัสจากสารคัดหลั่ง เช่นเสมหะ น้ำมูก
- การตรวจสารคัดหลั่งด้วยวิธี PCR influenza type A ให้ผลบวก
กาารักษา
การรักษาจะให้ยา oseltamivir (Tamiflu) หรือ zanamivir (Relenza) โดยให้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ และให้ยานี้กับสมาชิกใกล้ชิดในครอบครัว
ทำไมต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับเชื้อ H5N1
เชื้อไข้หวัดนกมีด้วยกันหลายสายพันธ์ แต่ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับเชื้อตัวนี้เนื่องจาก
- เชื้อสายพันธ์นี้ทำให้เกิดโรคมีความรุนแรงมาก
- เชื้อกลายพันธ์ได้เก่ง
- สัตว์ที่ยังไม่ตายจะสามารถแพร่พันธ์ได้อีก 10 วัน
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการกำจัดแหล่งที่มีการระบาดของเชื้ออย่างรวดเร็วจะป้องกันการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกครั้งใหญ่ได้ เพราะจากสถิติพบว่าทุก 100 ปีจะมีการระบาดใหญ่ 3-4 ครั้ง วิธีป้องกันการระบาดของไข้หวัดนกมีขั้นตอนดังนี้
- ต้องกำจัดแหล่งแพร่เชื้ออย่างรีบด่วน
- คนที่ทำงานในฟาร์ม หรือเจ้าหน้าที่ทำงานสาธารณสุขต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพื่อไม่ให้เชื้อกลายพันธ์
- คนที่สัมผัสไก่ที่เป็นโรคและมีไข้ต้องกินยาต้านไวรัส
- ผู้ที่ทำลายไก่ต้องสวมชุดเพื่อป้องกันการรับเชื้อ
มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกหรือยัง
ยังไม่มีการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกเพื่อจำหน่าย แต่ได้มีความพยายามทดสอบการผลิตวัคซีนตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาโดยมีการผลิตวัคซีนต้นแบบ และได้ทดลองในคนที่แข็งแรง 450 คนซึ่งผลการศึกษายังไม่ออก อ่านรายระเอียดที่นี่
นอกจากนั้นเชื้อที่ระบาดเมือปีคศ2004และ คศ.2005 ก็ยังไม่มีการกลายพันธ์
การติดต่อของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจากสัตว์สู่คน
เชื้อไข้หวัดใหญ่ Influenza ได้มีการระบาดใหญ่[Pandemic] มาแล้ว 4 ครั้งในปี คศ 1918[H1N1] ,1957[H2N2], 1968[H3N2],1977[H3N1] เชื่อในการระบาดทั่วโลกแต่ละครั้งจะมีการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้ออย่างมากที่เรียกทางการแพทย์ว่า Antigenic shift สำหรับการระบาดย่อยตามภูมิภาค(epidermic)จะมีการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื่อไม่มากที่เรียกว่า antigenic drift เมื่อมีการระบาดย่อยหลายๆครั้งจะเกิดการระบาดใหญ่
วิธีการติดต่อไข้หวัดนก
การติดต่อไข้หวัดนกจากสัตว์สู่คนได้ 2 วิธี
- ได้รับเชื้อจากสัตว์หรือสิ่งแวดล้อม เช่น
- ได้รับสารคัดหลั่งเช่น น้ำลาย อุจาระจากนกที่ติดเชื้อ
- การเคลื่อนย้ายของสัตว์ที่เป็นโรคจากเล้าหนึ่งไปยังอีกเล้าหนึ่ง
- ปนเปื้อนจากอุปกรณ์การเลี้ยงเช่น รังสำหรับวางไข่ รางอาหาร เสื้อผ้าและรองเท้าคนเลี้ยง
- ได้รับเชื้อจากนกที่อพยพ สัตว์ป่า ไก่ป่า
- น้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจาระของสัตว์ที่เป็นโรค
- แมลงจากกองขยะที่มีเชื้อโรค
- การติดต่อทางอากาศหากนกใกล้ชิดกันมาก
- การติดจากพาหะของโรคเช่นหมู
การกลายพันธุ์สามารถเกิดได้ในหมูหรือคนหากเกิดการติดเชื้อทั้งไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่พร้อมกันทำให้เชื้อไข้หวัดใหญ่มีการแลกเปลี่ยนทางพันธุกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาตัวเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในคนเพื่อตรวจดูว่ามีการกลายพันธุ์หรือไม่
การป้องกันการติดเชื้อในคน
- เชื้อไข้หวัดสามารถติดต่อทางเสมหะที่เกิดจากการไอ เนื่องจากเสมหะมีขนาดใหญ่ ( >5 ? ) หน้ากาอนามัย
- การติดต่อต้องอยู่ใกล้(น้อยกว่า 3 ฟุต) ดังนั้นหากเข้าใกล้ต้องใส่แว่นตา
- ล้างมือบ่อยๆ
- เมื่อต้องสัมผัสผู้ป่วยต้องสวมเสื้อคลุมและสวมถุงมือ
การป้องกันการระบาด
- เจ้าหน้าที่ที่ทำลายสัตว์ เจ้าของฟาร์มที่มีการระบด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่รักษาผู้ป่วยที่ติดไข้หวัดนกต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อไข้หวัดทั้งสองชนิดมีโอกาสเจอกัน
- ต้องมีระบบคัดกรองผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดนก ออกจากผู้ป่วยอื่นทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
- ผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม ต้องใช้ tissue ปิดปากและจมูก
- จัดให้มี alcohol สำหรับเช็ดมือ
- แยกผู้ป่วยที่มีอาการไอออกจากผู้อื่นอย่างน้อย 3 ฟุต
การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
- ต้องให้ผู้ป่วยนอนห้องแยก
- หากต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกนอกห้องต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- ห้ามแพทย์หรือญาติที่เป็นหวัด เยี่ยมผู้ป่วย
- หากจะเข้าใกล้ผู้ป่วยน้อยกว่า 3 ฟุตต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- ผู้ที่จะเข้าไปดูแลผู้ป่วยต้องสวมถุงมือ เสื้อคลุมทุกครั้ง และถอดออกเมื่อออกนอกห้อง
- ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยทุกครั้ง
กลับหน้าเดิม