jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

a

ทำอย่างไรเมื่อไข้หวัดนกลามสู่คน

โดยผู้จัดการออนไลน์ 2 ธค 2548

เจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ป้องกันออกปฏิบัติหน้าที่

เช้า 27 พ.ย. ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานสังกัดนครฮานอย ปฏิบัติการ "ซ้อมรบ" อย่างเต็มรูปแบบเพื่อพร้อมรับมือกับสถานการณ์โรคหวัดระบาดในคน ถึงแม้ว่าจะยังไม่เกิดขึ้นและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็ตาม แต่การเฝ้าระวังด้วยการตื่นตัวยังคงเป็นสิ่งที่ทางการเวียดนามให้ความสำคัญอย่างสม่ำเสมอ

สถานการณ์สมมุติซึ่งเป็น "โจทย์" ในการซ้อมครั้งใหญ่นี้ก็คือ ในระยะ 5 วันที่ผ่านมาในพื้นที่ของแขวง V. เขต LB. ของใจกลางนครฮานอย พบผู้ป่วยหลายรายซึ่งมีอาการบ่งบอกว่าเป็นไข้หวัด ซึ่งในระยะแรกมีเพียงไม่กี่กรณี

หน่วยแพทย์ควบคุมโรคระบาดเข้าควบคุมพื้นที่

       

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่นได้ดำเนินการตรวจเบื้องต้นและส่งผู้ป่วยขึ้นไปยังโรงพยาบาลตามสายงาน ขณะเดียวกันได้รายงานไปยังสำนักงานสาธารณสุขและศูนย์เวชศาสตร์ป้องกัน นครฮานอย

เมื่อสถานการณ์ส่อเค้าว่าจะกลายเป็นโรคระบาดครอบคลุมพื้นที่ขนาดกว้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะประสานภารกิจกันอย่างไร? และจะประสบผลสำเร็จระดับใด ?

แพทย์ตรวจและสืบประวัติผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว

       

*ไวรัสเริ่มลุกลามติดต่อจากคนสู่คน*

ศูนย์เวชศาสตร์ป้องกันจัดหน่วยออกเก็บตัวอย่างเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ แน่นอนการแพร่เชื้อค่อนข้างรวดเร็ว จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะแรกมีเพียงไม่กี่ครัวเรือนแต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 30 กว่าครัวเรือนด้วยจำนวนผู้ป่วยประมาณ 60 ราย สถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง มีกรณีเสียชีวิต และการระบาดของโรคมีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น สถาบันระบาทวิทยาส่วนกลางดำเนินการทางห้อง Lab อย่างทันท่วงทีและวินิจฉัยได้ว่าตัวอย่างที่เก็บมาจากผู้ป่วยมีปฏิกิริยาเป็นบวกกับไวรัสหวัดใหญ่ และมีการติดต่อจากคนสู่คน

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค

    

ภายหลังจากที่ได้รับรายงานสถานการณ์ดังกล่าว คณะอำนวยการป้องกันและควบคุมการระบาดของหวัดใหญ่นครฮานอย เรียกประชุมฉุกเฉินและชี้ชัดว่าเป็นการระบาดค่อนข้างร้ายแรงของหวัดใหญ่และมีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนอีกด้วย ที่ประชุมออกมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมสำหรับแต่ละหน่วยงานเพื่อง่ายต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ระดับล่าง

ควบคุมพื้นที่ทันท่วงที* ด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว หน่วยแพทย์ควบคุมโรคระบาดเคลื่อนที่ (แต่ละหน่วยประกอบด้วย แพทย์ระบาดวิทยา 1 , แพทย์เวชปฏิบัติ 1, เจ้าหน้าที่ lab 2 , เจ้าหน้าที่จัดการสิ่งแวดล้อม 1 และ พนักงานฉีดพ่นยา 2 รวมแต่ละหน่วยมีเจ้าหน้าที่ 7 คน) จำนวน 3 หน่วย สังกัดศูนย์เวชศาสตร์ป้องกัน นครฮานอย และ สังกัดมณฑลทหารนครฮานอย พร้อมอุปกรณ์ครบครันลงปฏิบัติงานในพื้นที่ ในทันทีที่หน่วยแพทย์ฯ ลงถึงพื้นที่ เจ้าหน้าที่ได้แจกจ่ายผ้าปิดปากและจมูกให้แก่ประชาชนในละแวกเสี่ยงการติดเชื้อ แพทย์ระบาดวิทยาสัมภาษณ์สืบประวัติและข้อมูลโรคอย่างรวดเร็ว แพทย์เวชปฏิบัติทำการตรวจและแยกประเภทผู้ป่วย มีผู้ป่วย 28 รายมีอาการไม่รุนแรง มีไข้ต่ำ เจ้าหน้าที่จัดให้ทานยา Tamiflu (2 เม็ด/วัน เช้า เย็น ระยะเวลา 7 วัน) ผู้ที่มีประวัติสัมผัสจัดให้มีการทาน Tamiflu เพื่อป้องกัน ในขณะเดียวกันแพทย์รายงานว่ามีผู้ป่วยหนัก 16 รายมีอาการหายใจลำบากขอให้มีการช่วยเหลือเป็นการด่วน มีผู้ป่วย 115 รายต้องทำการลำเลียงไปยังโรงพยาบาลสนาม

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ถอดทำลายชุดป้องกันส่วนบุคคลและทำการฆ่าเชื้อ

 

นักศึกษาแพทย์ทหารจากสถาบันการแพทย์ทหาร (Military Academy of Medicine)

เจ้าหน้าที่ Lab ดำเนินการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยและส่งต่อไปยังสถาบันระบาดวิทยาส่วนกลาง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่ลืมที่จะแจกใบปลิวแนะนำระเบียบวิธีการป้องกันการระบาดของโรคหวัดใหญ่

ภายในบ้านและรอบๆ บริเวณบ้านของผู้ป่วยได้รับการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ Cloramine B 5% และในระยะ 500 ม. ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างละเอียด

นักศึกษาแพทย์ทหาร พร้อมรับผู้ป่วย

ในขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติหน้าที่ สถานีวิทยุชุมชนรวมทั้งเสียงตามสายกระจายเสียงสถานการณ์และให้ความรู้แก่ประชาชนในการปฏิบัติตน ในสถานการณ์หวัดกำลังระบาด

*โรงพยาบาลสนามพร้อมรับมือ*

รับผิดชอบการจัดตั้ง รพ.สนาม โดย ทีมแพทย์ทหารมณฑลทหารนครฮานอย และสถาบันการแพทย์ทหารฮานอยผู้ป่วยได้ถูกเคลื่อนย้ายส่งมายังโรงพยาบาลสนาม ณ ที่นี้ แพทย์ พยาบาล รับผู้ป่วยและแยกประเภท ในขณะเดียวกันฉีดพ่นฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะขนส่งผู้ป่วยหนัก ถูกส่งเข้ายังห้อง ไอ ซี ยู เพื่อให้ออกซิเจน หรือใช้เครื่องช่วยหายใจตามแต่กรณี

เคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ

ส่วนผู้ป่วยรายอื่นๆ ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และได้รับการรักษาตามขั้นตอนที่ กท.สธ.กำหนด ต่อจากนั้นทำการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลศูนย์ทำการรักษาต่อไป

*เมื่อโรงพยาบาลศูนย์มีรหัสฉุกเฉิน*

โรงพยาบาลศูนย์ จะเป็นโรงพยาบาลส่วนกลาง เป็นที่รองรับและรักษาผู้ป่วยโรคระบาด ทันทีภายหลังจากที่ได้รับข้อมูลว่ามีผู้ป่วยโรคหวัดระบาดเข้ารับการรักษาฉุกเฉินเป็นจำนวนมาก แพทย์เวรรายงานไปยังผู้อำนวยการโรงพยาบาล และขณะเดียวกันสั่งรหัสฉุกเฉินระดับสูงที่สุดไปยังเจ้าหน้าที่ทุกคน

แพทย์รับและดำเนินการแยกประเภทผู้ป่วย ในขณะเดียวกันจัดพื้นที่หวงห้ามเพื่อควบคุมการระบาด

หลังจากนั้นทำการรักษาตามอาการของแต่ละผู้ป่วยทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของ กท.สธ.อย่างเคร่งครัด ผู้ป่วยที่มีอาการหนักมากจะได้รับการส่งต่อไปยังสถาบันโรคเขตร้อนเพื่อทำการรักษาต่อไป

ทั้งหมดนั้นเป็นการซ้อมใหญ่บนพื้นฐานของสถานการณ์สมมุติ โดยใช้เวลากว่า 3 ชม.

ภายใน รพ.สนาม บางกรณีอาการหนัก ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

 นางเลหง็อกจรอง (Le Ngoc Trong) รมช. กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า "การซักซ้อมในครั้งนี้เป็นการประสานงานของหลายๆ หน่วยงานทั้งของส่วนกลางและของนครฮานอย รวมถึงทหารด้วย เนื้อหาการซ้อมเป็นไปตามระบบระเบียบวิธีการปฏิบัติที่วางไว้ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์พลเรือนและแพทย์ทหาร และต้องถือว่าการ ซ้อม ในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามคาดหมายทุกประการ"

"... ดิฉันคิดว่า นี่จะเป็นแบบปฏิบัติให้แก่ท้องถิ่นต่างๆ ถึงแม้ว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดการระบาดเกิดขึ้น แต่หากในกรณีที่ขี้เหร่ที่สุดพวกเราก็ยังคงเตรียมพร้อมรับมือเสมอ" รมช.