ประเทศไทยพร้อมหรือยังสำหรับการระบาดของไข้หวัดนก

ภาพยนต์เรื่องชื่อ Outbrake เป็นเรื่องที่คนติดเชื้อไวรัสที่มาจากลิง เชื้อระบาดไปทั่ว CDC ได้เข้าไปจัดการควบคุมการระบาดของเชื้อโรคซึ่งลุกลามเกินกว่าทางการจะควบคุมได้ จนกระทั่งรัฐบาลได้สั่งให้ทำลายเมืองนั้นทั้งเมืองเพื่อควบคุมโรคติดต่อ แต่โชคดีที่สามารถค้นพบวัคซีนได้ทัน เรื่องการระบาดเช่นเรื่องOutbrake จะเกิดขึ้นหรือไม่

ทั่วโลกให้ความสนใจกับเชื้อโรคไข้หวัดนก H5N1 เนื่องจากเชื้อนี้ได้ระบาดไปยังหลายประเทศทั่วโลก เชื้อก่อให้เกิดโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง และมีรายงานว่าอาจจะมีการติดต่อจากคนสู่คน การเตรียมพร้อมเพื่อรับการระบาดของไข้หวัดนกจะบรรเทาความเสียหายซึ่งเกิดจากการระบาดของไข้หวัดนก

จำลองสถานการเกิดการระบาดของโรค

มีข่าวลือว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากโรคระบาดที่จังหวัดหนึ่ง กระทรวงสาธารณะสุขส่งทีมเข้าสอบสวนและควบคุมการติดเชื้อ พบว่าเกิดการระบาดของโรคเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา ค้นพบคนป่วย 50 คนผู้ป่วยมีทุกอายุ 20 คนยังอยู่ในโรงพยาบาล ผู้ป่วย 5 คนเสียชีวิตจากปอดบวม ได้มีการสำรวจก็สามารถพบผู้ป่วยเพิ่มเติม ได้นำสารคัดหลั่งส่งตรวจหาเชื้อพบว่าเป็นเชื้อ Influenza A แต่ไม่ทราบชนิด จึงได้ส่งสารคัดหลั่งไปตรวจที่องค์การอนามัยโลก และสามารถแยกเชื้อเป็นชนิด H6N1 ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน จึงได้ถอดรหัสพันธุกรรม พบว่าเป็นเชื้อไข้หวัดนก ข้อมูลดังกล่าวได้ส่งไปยังองค์การอนามัยโลกและรัฐบาล

การระบาดยังไม่สิ้น ยังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นหัวข้อข่าวพาดหัวในหนังสือพิมพ์ องค์การอนามัยโลกได้สอบถามถึงสถานการการระบาดของไข้หวัดนก รัฐบาลได้สอบสวนและสืบสวนอย่างเข้มข้น

หลังจากนั้น 2 เดือนการระบาดได้กระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยมากเป็นในเด็และวัยรุ่น 1ใน20จะเสียชีวิต เกิดการตื่นกลัวไปทั่ว การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการตรวจคนก่อนเข้าประเทศ สถานศึกษาถูกสั่งปิด คนตื่นตระหนกเนื่องจากเกิดการขาดแคลนยาต้านไวรัส และวัคซีนต้นแบบยังไม่ได้ผลิต

หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น มีผู้ป่วยจากประเทศที่ระบาดโดยสารเครื่องบินเข้าประเทศ ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้นเกิดการขาดเรียน การขาดงาน เสียงโทรศัพท์ที่สาธารณสุขดังไม่ขาดสาย เชื้อได้ระบาดข้ามทวีป ผู้คนเรียกร้องหาวัคซีน ยาต้านไวรัสมีไม่พอใช้ ตำราจป่วย พนักงานขับรถป่วยทำให้เกิดปัญหากับบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน

โรงพยาบาลจะแออัดไปด้วยผู้ป่วยนอก เตียงจะไม่พอเพียงสำหรับผู้ป่วยจำนวนมาก เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดบวมไม่พอ พ่อแม่ต้องสูญเสียลูกหลังจากป่วยไม่กี่วัน สนามบินปิด งานที่สำคัญปิดเนื่องจากขาดคนทำงาน

ท่านจะเห็นว่าเมื่อเกิดการระบาดจะเกิดปัญหาขึ้นอย่างมากมาย การวางแผนรับมือกับการระบาดจะชลอการระบาด และลดการเสียชีวิตและความสูญเสีย

ประเทศไทยพร้อมหรือยังสำหรับการระบาดของไข้หวัดนก

ประเทศไทยมีการเตียมความพร้อมในการรับมือกับไข้หวัดนกหรือยัง เพื่อลดการสูญเสียชีวิต ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและลดปัญหาสังคม เรามาช่วยกันตรวจสอบรัฐบาลว่า ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดหรือยัง

ทำไมจึงต้องเตรียมความพร้อม

การเตรียมความพร้อมของรัฐบาลในการรับกับการระบาดของไข้หวัดนกจะช่วย

  • ลดการแพร่เชื้อของเชื้อ
  • ลดจำนวนผู้ป่วย
  • ลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต
  • การดำเนินการสาธารณะที่สำคัญยังสามารถดำเนินต่อไปได้
  • ลดปัญาทางสังคมและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดทั่วโลก

องค์การอนามัยโลกได้ออกแนวทางเพื่อให้ประเทศต่างๆได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการระบาดของไข้หวัดนก ผู้เขียนเห็นว่าบทความน่าสนใจเพื่อที่เราจะได้ตรวจสอบการทำงานของคนที่เกี่ยวข้องกับการระบาดว่าได้ทำงาน และเตรียมความพร้อมไปถึงไหน เราจะฝากชีวิตกับทางราชการได้หรือไม่ ในการเตรียมความพร้อมองค์การอนามัยโลกได้แบ่งออกเป็นหัวข้อต่างๆดังต่อไปนี้

  1. การเตรียมพร้อมสำหรับกรณีฉุกเฉิน Preparing for an emergency
  2. การสืบสวนและการสอบสวนโรค Surveillance
  3. การวินิจฉัยและการรักษา Case investigation and treatment
  4. การป้องกันการระบาดในชุมชน Preventing spread of the disease in the community
  5. การดำเนินกิจการสาธารณะที่จำเป็น Maintaining essential services
  6. การวิจัยและการประเมิน Research and evaluation
  7. การนำแผนไปปฏิบัติและการปรับแผน Implementation, testing and revision of the national plan

จะเห็นว่าองค์การอนามัยโลกได้แนะนำมาตราการในการรับการระบาดของไข้หวัดนกสำหรับประเทศต่างๆ เรามาสำรวจประเทศไทยว่าได้เตรียมพร้อมในประเด็นใดบ้าง จากแผนต่างๆจะสรุปเป็นตารางข้างล่าง

 
จำเป็น
ต้องการ
1การเตรียมพร้อมในภาวะฉุกเฉิน

1.1เริ่มต้น Getting started

x

1.2 lการออกคำสังและการควบคุม Command and control

x

1.3 การประเมินความเสี่ยงRisk assessment

x

1.4 สื่อสาร Communication

x

1.5 กฎหมายและจริยธรรม Legal and ethical issues

1.5.1 กฎหมาย Legal issues

x

1.5.2 จริยธรรม Ethical issues

x

1.6 การทำแผนตามระยะการระบาดResponse plan by pandemic phaseการ

2. การสอบสวนโรค Surveillance

2.1 การสอบสวนระหว่างระบาดInterpandemic surveillance

— ทั่วๆไปGeneral

x

— สัญญาณเตือนภัยEarly warning

x

2.2 การเพิ่มมาตรการสอบสวนEnhanced surveillance

x

2.3 การสอบสวนระหว่างระบาดPandemic surveillance

x
3. การวินิจฉัยและการรักษา Case investigation and treatment

3.1 Diagnostic capacity

3.1.1ห้องปฏิบัติการ Local laboratory capacity

x

3.1.2 ห้องปฏิบัติการอ้างอิงReference laboratory availability

x

3.2 การสอบสวนทางระบาด และการกักกันEpidemiological investigation and contact management

x

3.3 การรักษาClinical management

x

4. การป้องกันการระบาดของเชื้อ Preventing spread of the disease in the community

4.1 ทางสาธารณสุขPublic health measures

x

4.2 การฉีดวัคซีน Vaccine programmes

x

4.3 การใช้ยาต้านไวรัสAntiviral use as a prevention method

x

5. กำดำรงอยู่ของบริการที่จำเป็น Maintaining essential services

5.1การบริการทางสาธารณสุข Health services

x

5.2 การบริการที่สำคัญอื่นๆ Other essential services

x

5.3 ช่วงพื้นตัว Recovery

x
6. การวิจัยและ การประเมิน Research and evaluation
x
7. การนำแผนไปปฏิบัติ ทดสอบ Implementation, testing and revision of the national plan
x

1. Preparing for an emergency

การเตรียมในภาวะฉุกเฉินหมายถึงการเตรียมพร้อมรับกับภาวะฉุกเฉินทั่วๆไป ไม่จำเป็นต้องเป็นการระบาดของไข้หวัดนก การเตรียมการนี้จะเป็นการวางโครงสร้าง แผนปฏิบัติการเพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างเต็มประสิทธิภาพ

หลักการ Rationale

การเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดเป็นเรื่องลำบาก จะต้องใช้ทรัพยากรบุคคลในการเขียนแผน และจะต้องมีการลงทุนเพื่อการป้องกัน การตัดสินจะมุ่งเน้นที่ความสงบสุขของชุมชน การทำแผนนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทางการเมืองและสภา

คำถามที่จะต้องให้ความสนใจ

ผู้บริหารระดับสูงได้รับรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดกับชีวิตคน ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ทางการเมืองและสภาได้เตรียมเรื่องการระบาดไว้หรือยัง ในแผนการได้มีกลยุทธจัดการกับชุมชนหรือไม่

ผู้บริหารระดับสูงได้ทราบถึงความสำคัญของแผน และเป้าหมายของแผนการเตรียมรับมือกับการระบาดของไข้หวัดนก
ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการเตรียมความพร้อม
ได้มีการจัดองค์กรหรือคนสำหรับการเขียนหรือปรับแผน
มีการกำหนดว่าแผนจะสำเร็จเมื่อไร
ผู้คนหรือองค์ที่เข้าร่วมในแผนมาจากหลากหลายอาชีพ
  • สาธารณสุขประเทศและท้องถิ่น การป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษา องค์การเภสัช ตัวแทนวิชาชีพ
  • นักระบาดวิทยา นักไวรัสวิทยา
  • ผู้เชี่ยวเกี่ยวกับไวรัสในสัตว์
  • ผู้แทนจำหน่ายยา
  • ผู้แทนหน่วยบริการที่สำคัญ
  • ตัวแทนกองทัพ ตำรวจ หรือองค์กรที่บริการฉุกเฉิน
  • อาสาสมัคร สภากาชาติ
  • ตัวแทนสื่อต่างๆ
ต้องมีข้อตกลงและการกระจายงานให้แต่ละองค์กร
ต้องมีคณะกรรมการกลางขององค์กร
ต้องมีการประชุมเป็นระยะในขณะที่ไม่มีการระบาด หากมีสัญญาณว่าจะมีการระบาดต้องมีการประชุมเป็นประจำ
ต้องเตรียมเนื้อหาที่จะชี้แจงให้คนที่เกี่ยวข้องได้ทราบแผนการรับมือ เช่น ทางการเมือง รัฐบาล รวมทั้งประชาชน

ความเห็นของผู้เขียน

เท่ที่ติดตามข่าวสารที่ประกาศออกมาทางสื่อมวลชน ประเมินว่าการเตรียมพร้อมในข้อนี้ทางการยังไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ยังไม่มีกรรมการ ยังไม่มีแผนการฉุกเฉิน ยังไม่มีองค์กร รัฐบาลก็ยังไม่เห็นความสำคัญ ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ ยังไม่มีการตั้งงบประมาณ หากมีการระบาดจริงคงจะลำบาก

1.2 Command and control

หลักการ

เพื่อให้การตัดสินใจทันเวลาและทันเหตุการณ์จะต้องระบุีผู้รับผิดชอบในการออกคำสั่ง ให้ปฏิบัติตามแผนหากมีการระบาดของโรค รวมทั้งคำสั่งในการกักกัน การปิดสนามบิน การปิดโรงเรียน นอกจากนั้นจะต้องระบุว่าใครคือผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

เมื่อมีการระบาดของไข้หวัดนกใครคือผู้ประกาศแผนการรับมือ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ใครคือผู้แนะนำให้ออกมาตรการ มีโครงสร้างการตัดสินใจรวมทั้งเกณฑที่ใช้ในการตัดสินใจหรือไม่ แต่ละคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบหรือไม่

ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะมีโครงสร้างการตัดสินใจและเกณฑ์ในการตัดสินใจ และต้องมีการประสานระหว่าง
  • กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉิน
  • ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับผู้ว่าราชการ นายอำเภอ
โครงสร้างคำสั่งและการควบคุมสำหรับภาวะฉุกเฉินต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องรู้บทบาทและหน้าที่ในช่วงที่มีการระบาดหรือยัง
มีมาตราฐานการปฏิบัติงานหรือยัง มาตราฐานดังกล่าวได้แก่
  • วิธีการเตือนให้คนตะหนักและเตือนเมื่อเกิดการระบาดของโรค
  • เกณฑ์ในการตั้งทีมฉุกเฉิน
  • เกณฑ์ในการรายงาน
  • การตัดสินใจในทางการเมือง
  • การบรรลุข้อตกลงทางการแพทย์และวิทยศาสตร์เมื่อเกิดการระบาด เช่นเกณฑ์กาารรักษา
  • วิธีการแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบข้อมูล
  • การจัดการกับกำลังพลเมื่อมีการระบาด

ข้อคิดเห็นของผู้เขียน

เท่าที่ได้ข้อมูลยังไม่ปรากฏว่ามีการประชุมเพื่อจัดทำแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดการระบาด ดังนั้นจึงยังไม่มีโครงสร้างการสั่งงานทั้งในระดับรัฐบาลและท้องถิ่น

1.3 Risk assessment

หลักการ

เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากจะวิเคราะห์ถึงผลกระทบสุขภาพของประชาชน ควรจะวิเคราะห์ว่ามีผลกระทบต่อการบริการที่จำเป็นหรือไม่ อย่างไร

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

ทางราชการได้มีแบบจำลองถึงผลกระทบเมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดนกหรือยัง ผลกระทบต่อโรงพยาบาล ชุมชน คลินิค และผลกระทบต่อการบริการพื้นฐานอย่างไรบ้าง

จำลองแบบสถานการณ์ถึงผลกระทบหากเกิดการระบาดที่ความรุนแรงระดับต่างๆ ผลกระทบหมายถึง จำนวนผู้ป่วยนอก จำนวนผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล จำนวนผู้เสียชีวิต
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เห็นถึงความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมในการรับมือของการระบาดไข้หวัดนก
คากการถึงผลการให้ยาต้านไวรัสและวัคซีนต่อกลุ่มเสี่ยงต่างๆ
มีความเข้าใจเกี่ยวกับภาษา วัฒนธรรม และสื่อสำหรับชุมชนในประเทศ

ข้อคิดเห็นของผู้เขียน

มีรูปแบบจำลองการศึกษาถึงผลกระทบของการระบาด แต่ไม่ไดนำมาวางแผนป้องกัน รวมทั้งไม่มีแผนการเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสและการใช้วัคซีนสำหรับกลุ่มเสี่ยงต่างๆ

1.4 Communication

หลักการ

การสื่อสารเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในสถานการณ์โรคระบาด ข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลาสำหรับประชาชนทุกกลุ่มจะลดปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

ทางรัฐมีคณะทำงานที่ประเมินความเสี่งและแปรผลการวิจัยสู่ประชาชนหรือไม่ ทางรัฐมีแผนการสื่อสารกับคนทุกกลุ่ม เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประชาชน รวมทั้งความก้าวหน้าของการควบคุมการระบาด การทบทวนว่าจะใช้สื่ออะไรในการประชาสัมพันธ์ ใครเป็นโฆษกที่จะแถลง

1.4.1 Public communication การสื่อสารสู่สาธารณะ

ต้องเตรียมข้อมูลสำหรับคนในสังคมแต่ละกลุ่ม(เช่น ประชาชนทั่วไป บุคลากรทางการแพทย์ การเมือง เจ้าหน้าที่) สื่อต่างๆเช่น แผ่นพับ เวป จะทำอย่างไรที่จะการกระจายสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมาย
ได้มีการจัดทำเวปสำหรับให้ข้อมูลหรือไม่
ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลา
ในช่วงที่ไม่มีการระบาดจะต้องให้ข้อมูลทั่วไป และการเตรียมพร้อมสำหรับเมื่อเกิดการระบาดแก่กลุ่มเป้าหมาย เช่นคนทั่วไป และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะต้องแจกจ่ายข้อมูลให้แก่กลุ่มต่างๆอย่างทั่วถึง
ช่วงที่เกิดการระบาดต้องมีการให้ข่าวแก่ชุมชนเป็นประจำ
ต้องแน่ใจว่าข้อมูลต่างๆได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

1.4.2 Communication among those involved in the response การสื่อสารของเจ้าหน้าที่

มีคณะทำงานที่รวมรวมและกระจายข้อมูลของการระบาดไปสู่คนทำงาน คณะทำงานประกอบไปด้วยตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกระเกษตร ตัวแทนผู้บริโภค ตัวแทนทางการแพทย์ คณะดังกล่าวจะอยู่ในคณะทำแผนระดับชาติ
มีการประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างตัวแทนระดับชาติและองค์การสหประชาชาติ และสามารถนำเอาข้อกำหนดนานาชาติไปปฏิบัติ
มีกลไกที่จะกระจายข้อมูลได้อย่างถูกต้องและทันเวลา ข้อมูลที่สำคัญได้แก่ เกณฑ์การวินิจฉัยโรค เกณฑ์ในการให้วัคซีนและยาต้านไวรัส แนวทางการรักษา จำนวนผู้ป่วยจำแนกตามพื้นที่ จำนวนผู้เสียชีวิต ผลกระทบของการระบาดต่อการบริการที่จำเป็น
หากยังไม่มีกลไกดังกล่าวจะต้องมีกลไกการสื่อสารระหว่างหน่วยกลางไปยังท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภาวะฉุกเฉิน
หากยังไม่มี ต้องจัดตั้งระบบสื่อสารเช่น fax ,teleconference ,Internet and e-mail capacity.

1.5 Legal and ethical issues

หลักการและเหตุผล

ในช่วงที่มีการระบาดของโรคจำเป็นต้องจำกัดสิทธิและเสรีภาพของคน เช่นการกักกัน การใช้อาคารของเอกชนเป็นโรงพยาบาล การยกเลิกสิทธิบัตรยา การฉีดวัคซีน การปรับการบริการที่จำเป็น การออกกฎดังกล่าวต้องโปร่งใส และอยู่ภายใต้กฎหมาย

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

ในแผนการรับมือการระบาดได้มีกรอบการบังคับทางกฎหมายหรือไม่ กรอบดังกล่าวครอบคลุมแผนฉุกเฉินในการให้บริการทางการแพทย์หรือไม่ แผนในการบริการสาธารณที่จำเป็นหรือไม่

ต้องพิจารณาข้อดีข้อเสียของการประกาศใช้แผนฉุกเฉิน
มีเกณฑ์หรือกฎหมายรองรับในการพิจารณาควบคุมมิให้เชื้อมีการแพร่กระจาย เกณฑ์ดังกล่าวได้แก่
  • การควบคุมพื้นที่ติดเชื้อมิให้คนเข้าหรือออก
  • ปิดสถานศึกษา
  • การห้ามจัดงานที่มีคนมารวมกัน
  • การกักกันคนที่ได้รับเชื้อหรือการควบคุมคนที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อหรือกักคนที่มาจากบริเวณที่มีการระบาด
มีการกำหนดนโยบายให้มีการฉีดวัคซีนแก่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่บริการสาธารณะที่จำเป็น หรือกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
อนุญาติหรือต่อใบอนุญาติให้กับคนที่เกษียรหรือเจ้าหน้าทางแพทย์อื่นที่มาช่วยยังพื้นที่ที่มีการระบาด
มีการกำหนดความรับผิดชอบต่อผลข้างเคียงของวัคซีนและยาต้านไวรัส ที่มีการเร่งวิจัยและผลิต ความรับผิดชอบหรือการยอมรับผลข้างเคียงจะครอบคลุมถึงบริษัทผู้ผลิต เจ้าของลิขสิทะฺ์ ผู้ที่ฉีดยา
มีการกำหนดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ
มีการกำหนดให้โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดต่อที่ต้องควบคุมและป้องกัน

1.5.2 Ethical issues ด้านจริยธรรม

หลักการ

ในบางครั้งด้านจริยธรรมก็ไม่สามารถแยกออกจากกฎหมาย แต่จำเป็นที่จะต้องให้สังคมยอมรับ เช่นการกักกีน การเลือกคนที่ต้องให้วัคซีนก่อนคนอื่น เป็นต้น

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

ในการจัดทำแผนรับมือการระบาดได้คำนึงถึงกรอบด้านจริยธรรมมากน้อยเพียงใด และมีกรอบด้านจริยธรรมที่สามารถนำมาปฏิบัติเมื่อเกิดการระบาด

มีกรอบจริยธรรมเนื่องจากการขาดทรัพยกร เช่นคนทำงาน การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การขาดวัคซีน การขาดยาต้านไวรัส
มีคำถามทางจริยธรรมในการให้วัคซีนแก่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และบริการสาธรณะที่จำเป็นก่อนคนอื่น
มีคำถามทางจริยธรรมเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง
มีกรอบจริยธรรมในการวิจัยหรือไม่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทดลองในคน

1.6 Response plan by pandemic phase

หลักการ

ในการตอบสนองต่อการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบจะต้องรู้ว่า ต้องทำอะไรเมื่อมีคำสั่งออกมา องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกรอบในการปฏิบัติงาน แต่ละประเทศต้องนำไปปรับปรุงให้เข้ากับโครงสร้างของแต่ละประเทศ ดังนั้นต้องมีแผนการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับการระบาด

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

มีแผนที่ตอบสนองต่อการระบาดหรือไม่ แผนนั้นต้องระบุองค์กร คน ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดระยะต่างๆ

มีแผนการปฏิบัติตามระยะการระบาดของโรค ในแผนต้องระบุรายละเอียดถึงการตอบสนองในแต่ละยะของการระบาด
มีการระบุเหตุการณ์ที่บ่งบอกว่าการระบาดของโรคได้เปลี่ยนแปลง
ในแผนต้องระบุหน่วยงานที่ตอบสนองต่อการระบาดในแต่ละระยะ

2. Surveillance การสืบสวนและสอบสวนโรคหรือการเฝ้าระวังโรค

หลักการ

การสืบสวนและสวนโรคเป็นการรวบรวมข้อมูลและการแปรผลเพื่อที่จะได้วางแผนในการป้องกันการระบาด การสืบสวนสอบสวนมีจุดประสงค์ต่างๆกัน ในการสืบสวนสอบสวนต้องระบุวัตถุประสงค์

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

ประเทศของท่านจะใช้วิธีเฝ้าระวังแบบไหน ใครเป็นผู้รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ใครเป็นใช้ข้อมูลเพื่อสั่งการ ระบเฝ้าระวังมีความสอดคล้องระหว่างท้องที่ กับส่วนกลางและองค์การอนามัยโลกหรือไม่

มีการกำหนดเป้าหมายในการสืบสวนโรคในช่วงก่อนการระบาด สัญญาณเตือนว่าจะมีการระบาด และการสืบสวนโรคในช่วงที่มีการระบาด เป้าหมายในการเฝ้าระวังโรคต้องติดตามการระบาดของประเทศเพื่อนบ้านด้วย
มีการอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อสืบสวนสอบสวนโรค
ในช่วงก่อนมีการระบาดต้องสืบสวนหรือเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิดและเข้มข้น
ต้องวางแผนในกรณีฉุกเฉิน เช่นต้องอบรมคนเพิ่ม การย้ายคนจากที่อื่นมาช่วย

2.1 Interpandemic surveillance

หลักการ

การเฝ้าระวังในช่วงที่ไม่มีการระบาดจุดประสงค์จะเฝ้ามีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือไม่เพื่อพิจารณาในการให้วัคซีน นอกจากนั้นการเฝ้าระวังจะเป็นการคนหาว่ามีการเกิดระบาดของไข้หวัดจากเชื้อชนิดใหม่หรือไม่

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

ประเทศไทยมีการประเมินถึงภาระค่าใช้จ่ายจากไข้หวัดใหญ่หรือไม่ มีระบบค้นหาเชื้อชนิดใหม่ที่ระบาดหรือไม่ มีระบบค้นหาสาเหตุของคนที่ป่วยด้วยลักษณะคล้ายๆกัน

ได้มีการเฝ้าระวังกลุ่มโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไม่ influenza-like illness (ILI).
ได้มีการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็นสาเหตุของโรคหรือไม่
ได้มีความร่วมกับเครือข่ายไข้หวัดใหญ่ขององค์การอนามัยโลก national influenza centre (NIC),เพื่อที่จะเก็บรวบรวมเชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดใหญ่ สำหรับวางแผนในการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
มีการทำงานร่วมกับกองควบคุมโรคระบาดในสัตว์หรือไม่
การเฝ้าระวังสัญญาณเตือนภัยของการระบาด
ได้มีการเฝ้าระวัง และสืบสวนโรคระบบทางเดินหายใจซึ่งมีอาการไม่เป็นปกติ เพื่อที่จะได้ตรวจทางห้องปฏิบัติการและสืบค้นหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ ภาวะที่ต้องสืบค้นได้แก่
  • ได้มีการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลด้วยเรื่องโรคทางเดินหายใจ
  • การเฝ้าระวังผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินหายใจที่ไม่ปกติ
  • การเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องระบบทางเดินหายใจที่มาเป็นกลุ่ม
  • การเฝ้าระวังเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ป่วยหรือเสียชีวิตจากโรงระบบทางเดินหายใจ
  • มีการติดตามอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาโรคปอดบวม หรือยาที่ใช้รักษาไวรัสไข้หวัดใหญ่
ได้มีการแจ้งเจ้าหน้าที่อื่นเพื่อติดตาม กลุ่มโรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไม่ influenza-like illness (ILI)

2.2 Enhanced surveillance (phase 2 and beyond)

หลักการ

เมื่อมีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่าอาจจะเกิดการระบาดของโรค การเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดจะทำให้การค้นพบการระบาดได้อย่างรวดเร็ว

คำถามที่ต้องให้ความสนใจ

มีการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงเป็นพิเศษหรือไม่ การเฝ้าระวังจะเฝ้าระวังอะไร ใครเป็นคนสั่งให้เฝ้าระวัง ใครเป็นคนเก็บข้อมูล ใครเป็นคนแปลผล

ให้ตั้งวัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังอย่างเข็มงวดและอธิบายวิธีการเก็บข้อมูลนั้น
ให้แน่ใจว่ามีระบบที่จะเปลี่ยนคำนิยามของโรค เพื่อที่จะได้ทราบหากมีการระบาด
  • สัญญาณเตือนภัยเมื่อมีคนป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจร่วมกับการตายผิดธรรมชาติของสัตว์
  • สัญญาณเตือนภัยเมื่อมีกลุ่มคนที่ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ หรือมีการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจ หรือมีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ป่วยด้วยโรคทางเดินระบบทางเดินหายใจ

การเฝ้าระวังจะเน้นเป็นพิเศษในกลุ่มต่อไปนี้

  • คนซึ่งเดินทางมาจากถิ่นที่มีการระบาดของโรคติดต่อ
  • ผู้ที่ต้องทำลายทรากสัตว์
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์เช่นไก่ นก
  • เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นหรือสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดนก
  • เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการที่ได้สัมผัสเชื้อโรค
การเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด อาจจะทำให้ตรวจพบเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดได้เร็ว

2.3 Pandemic surveillance การเฝ้าระวังช่วงที่มีการระบาดของโรค

หลักการ

เมื่อมีการระบาดไปทั่วโลกตามที่องค์การอนามัยโลกประกาศ หน่วยงานสาธารณสุขจะต้องทำงานหนัก การเก็บข้อมูลควรจะทำตามความจำเป็น เพื่อี่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อและติดตามการระบาดของโรค ไม่จำเป็นต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทุกคน

ตรวจสอบว่ามีเกณฑ์การปรับระดับของการระบาดตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกหรือไม่
เมื่อมีการระบาดไปทั่วโลกจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรคหรือไม่
ในช่วงท้ายของการระบาดจะมีอัตราการติดเชื้อสูงมาก จึงไม่มีความจำเป็นต้องเฝ้าระวัง จะส่งตรวจเชื้อเพื่อเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อ
มีระบบที่จะปรับคำจำกัดความของโรคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
การเฝ้าระวังในช่วงที่มีการระบาดจะเฝ้าดู
  • ติดตามการนอนโรงพยาบาลของผู้ที่สงสัยจะติดเชื้อ
  • ติดตามจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิต
  • ติดตามการขาดงานของงานบริการที่สำคัญ
  • ติดตามการใช้วัคซีน
  • ติดตามผลข้างเคียงจากการใช้วัคซีน
  • รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้คำนวณประสิทธิภาพของการใช้วัคซีน
  • ติดตามการใช้ยาต้านไวรัสและผลข้างเคียงของยา
ติดตามผู้ที่ฝื้นจากโรคเพื่อนำมาทำงานบริการที่จำเป็น เนื่องจากเชื่อว่าคนกลุ่มนี้จะมีภูมิต่อโรค
มีกลไกที่รวบรวมข้อมูลและแปลผลเพื่อการตัดสินใจ

3. การวินิจฉัยและการรักษา Case investigation and treatment

หลักการ

การวินิจฉัยโรคระบาดได้รวดเร็วจะช่วยในการควบคุมการระบาดของโรค จึงจำเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย สำหรับประเทศที่ยังไม่พร้อมจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายช่วยในการวินิจฉัย

คำถาม

ประเทศของท่านมีห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจสอบหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคระบาดหรือไม่ การตรวจนี้จะครอบคลุมทั้งคนและสัตว์ แพทย์หรือเจ้าหน้าที่รู้ว่าจะต้องตรวจอะไร การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทำอย่างไร จะนำเชื้อโรคใส่ภาชนะอะไร วิธีการนำส่งทำอย่างไร

ก่อนที่จะมีการระบาด ทุกประเทศควรจะมีการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ มาตราฐานขั้นต่ำต้องตรวจหาต้องใช้วิธี immunofluorescence (IF) and reverse
transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR).
ต้องจัดงบประมาณเพื่อให้ดำเนินงานตรวจทางห้องปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
หากไม่สามารถจัดห้องปฏิบัติการได้ ให้จัดซื้อ commercial rapid antigen detection kits.
จัดทำคู่มือในการเก็บสารที่จะส่งตรวจโดยยึดถือคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
จะต้องจัดระบบให้มีความปลอดภัย ระวังการแพร่เชื้อ
แต่ละประเทศต้องจัดสร้างห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยระดับ 3-4 biosafety security levels (BSL)
3 and 4 หากประเทศไหนไม่มี ก็ไปใช้ประเทศที่มีความพร้อม
ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดให้ตรวจหาชนิดของไวรัสทุกรายที่สงสัย และเตรียมความพร้อมในเรื่องงบประมาณ น้ำยาที่ใช้ตรวจ รวมทั้งการฝึกอบรบเจ้าหน้าที่
เมื่อโรคได้ระบาดเรียบร้อยแล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อทุกราย
ต้องมีที่เก็บสารคัดหลั่งที่นำมาตรวจ หรือเลือด น้ำเหลืองผู้ป่วย เพื่อใช้ตรวจวิเคราะห์ภายหลังจากการระบาดได้ยุติ
ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคกับเจ้าหน้าที่ในประเทศและต่างประเทศ และพันธุกรรมของเชื้อที่เป็นสาเหตุ
ต้องมีการให้ข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อ รวมทั้งการแปลผลการตรวจ โดยอาจจะเผยแพร่ทางเวปไซต์
สำหรับประเทศที่ใช้ยาต้านไวรัสในการป้องกันการระบาด จะต้องติดตามว่าเชื้อมีการพัฒนาจนกระทั่งเชื้อดื้อยาหรือยัง

3.1.2 ห้องปฏิบัติการอ้างอิง Reference laboratory availability

หลักการ

แม้ว่าจะได้มีการสร้างห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องส่งตัวอย่างเชื้อหรือสารคัดหลั่งไปยังองค์การอนามัยโลก เพื่อการยืนยันการวินิจฉัยและประเมินความเสี่ยง

คำถาม

ประเทศมีแนวทางที่จะรวบรวมสารคัดหลั่หรือเชื้อโรคจากสัตว์และคน ส่งให้องค์การอนามัยโลกได้อย่างปลอดภัยหรือยัง

ทุกประเทศควรจะส่งตัวอย่างเชื้อหรือสารคัดหลั่งไปยังห้องปฏิบัติการขององค์การอนามัยโลก
ห้องปฏิบัติการในประเทศควรจะคู่มือหรือแนวทางที่จะนำสารคัดหลั่งหรือเชื้อโรคส่งไปยังองค์การอนามัยโลก โดยเน้นความปลอดภัย

3.2 การสอบสวนทางระบาดและการจัดการ Epidemiological investigation and contact management

หลักการ

ในระหว่างที่รอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การสอบสวนทางระบาดจะสอบว่าคนติดเชื้อโรคได้อย่างไร ผลกระทบของโรคต่อคนป่วย ต่อสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงของการติดเชื้อจากคนสู่คน เพื่อเป็นแนวทางป้องกันการระบาด

คำถาม

การติดเชื้อของคนมาจากแหล่งอะไร การติดเชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนหรือไม่ ถ้าสามารถติดต่อจากคนสู่คน จะจัดการอย่างไร การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเปลี่ยนจากเดิมมากน้อยแค่ไหน และต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการหรือไม่

การสอบสวนโรคเมื่อสงสัยว่าจะมีการติดต่อจากคนสู่คน ควรจะสอบสวนลักษณธของโรคด้วย
ต้องมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สอบสวนทางระบาด
มีกลไกการรายงานผู้ป่วยไปยังระดับชาติและองค์การอนามัยโลก
มีการพัฒนาแบบสำรวจการระบาดและนำไปใช้
มีแนวทางในการดูแลผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย และได้อธิบายถึงความจำเป็นและวิธีการปฏิบัติตัว รวมทั้งการศึกษาของประชาชน สุขอนามัย การกักกัน การใช้ยาต้านไวรัส
มีการทบทวนการศึกษาการระบาดว่าได้ผลมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะปรับคำนิยาม และการป้องกันการระบาด

3.3 Clinical management

3.3.1 ด้านการดูแลและรักษา Case management and treatment

หลักการ

เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพจึงต้องจัดทำแนวทางการรักษาและการควบคุมโรคติดต่อไปยังสถานบริการทุกระดับ รวมทั้งได้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในการควบคุมโรคติดต่อ

คำถาม

ผู้ป่วยนี้ได้เชื้อโรคอย่างไร จำเป็นต้องรักษาหรือไม่ จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือไม่ หากจำเป็นจะต้องตรวจอะไร เก็บตัวอย่างอะไร และนำส่งอย่างไร

มีการพัฒนาคู่มือในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ แนวทางต้องครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้
  • จะให้ผู้ป่วยรักษาที่ไหน ที่บ้านหรือโรงพยาบาล
  • เกณฑ์ในการรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล
  • การเก็บสารคัดหลั่งส่งตรวจ การนำส่ง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างเหมาะสม
  • แนวทางการรักษา การใช้ยาต้านไวรัส การใช้ยาปฏิชีวนะ การใช้เครื่องหายใจ การลดไข้
มีคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชน
3.3.2การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล Infection control in health-care settings

หลักการ

การควบคุมโรงติดเชื้อจะต้องรู้ว่าเชื้อสามารถติดต่อทางไหน และมีวิธีการที่จะควบคุมการติดเชื้ออย่างไร การควบคุมการติดต่อเป็นหัวใจของการป้องกันการแพร่ของเชื้อในโรงพยาบาล

คำถาม

ประชาชนโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ พวกเข้ามีความรู้ถึงวิธีการติดเชื้อรวมทั้งวิธีป้องกันหรือไม่

แผนการควบคุมโรคติดต่อได้ถูกนำไปใช้ในทุกระดับหรือไม่
  • ศูนย์การแพทย์
  • ห้องปฏิบัติการ
  • คลินิคชุมชน
  • สถานีอนามัย
  • โรงพยาบาล
  • สถานดูแลผู้ป่วยระยะยาว
  • การเผาหรือฝังศพ
ปรับแผนควบคุมการระบาดเป็นส่วนหนึ่งของแผนในการป้องกันการระบาดใหญ่
ตรวจสอบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
ให้การศึกษาและอบรมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทุกระดับ
ตรวจอุปกรณ์สำหรับป้องกันการติดเชื้อรวมทั้งปริมาณให้มีอย่างเพียงพอ

4. Preventing spread of the disease in the community

4.1 Public health measures

หลักการ

ในช่วงการระบาดใหญ่ยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปริมาณอย่างเพียงพอ รวมทั้งยาต้านไวรัส การป้องกันการกระจายของโรคจึงเป็นวิธีที่จะชลอการแพร่กระจาย แต่การกระทำดังกล่าวอาจจะกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล กระทบต่อความเป็นอยู่ การกระทำดังกล่าวบางครั้งก็ขาดเหตุผลทางวิชาการรองรับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้การศึกษา รวมทั้งการตัดสินใจอย่างโปร่งใส

คำถาม

ประชาชนรู้วิธีป้องกันตัวเองจากโรคหรือไม่ และรู้วิธีลดการแพร่ระบาดของเชื้อหรือไม่ การลดการแพร่ระบาดโดยการกักกัน หรืออย่างกระทำโดยสมัครใจหรือมาตราการทางกฎหมาย มีเกณฑ์ในการให้หยุดเรียนหรือหยุดงานหรือไม่ มีการประชาสัมพันธ์ถึงมาตราการต่างๆหรือไม่

ผู้บริหารทั้งท้องถิ่นและรัฐบาลกลางต้องตรวจสอบว่ามาตราการดังกล่าวขัดกับกฎหมายหรือไม่
ผู้ที่ได้รับผลจากมาตราการดังกล่าวจะต้องได้รับคำชี้แจงถึงความจำเป็นและผลที่คาดว่าจะ ได้รับจากมาตราการดังกล่าว
ตรวจสอบมาตราการดังกล่าวมีความสอดคล้องกับมาตราการที่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำไว้หรือไม่
4.1.1 สุขอนามัยส่วนบุคคล General personal hygiene
สอนประชาชนเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคลในการป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจ
จัดทำแหล่งข้อมูลให้ผู้ป่วยหรือคนทั่วไปสามารถค้นหาข้อมูล
4.1.2 การควบคุมโรคระบาดในชุมชน Community infection-control measures
ให้ปฏิบัติแนวทางควบคุมโรคตามที่กระทรวงเกษตรแนะนำก่อนการระบาดในคน
ป้องกันการติดไข้หวัดนกในกลุ่มเสี่ยง(คนเลี้ยงไก่ คนฆ่าไก่ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์)โดย
  • ให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อป้องกันเชื้อกลายพันธ์
  • ให้ยาต้านไวรัสแก่ประชาชนที่สัมผัสไก่ที่เป็นโรค(ถ้ามียาเพียงพอ)
มีมาตราการควบคุมโรคระบาดในชุมชนที่คนอยู่รวมกันเช่น สถานเลี้ยงเด็ก ที่พักคนชรา คุก ทหาร
4.1.3 การกักกันหรือการควบคุม Social distancing and quarantine
ตั้งเกณฑ์ในการปิดหรือเปิดสถานศึกษา
หาวิธีการลดการรวมกันของคน เช่น ปิดโรงภาพยนตร์ งดจัดเลี้ยง งดการประชุม
มีเกณฑ์ในการตรวจสอบผู้สัมผัสโรค และเกณฑ์ในการควบคุมผู้สัมผัสโรค
  • มีสถานที่สำหรับควบคุมหรือกักตัวผู้สัมผัสโรค
  • สถานที่ดังกล่าวต้องให้มีบริการทางการแพทย์ อาหาร และการให้คำปรึกษา
  • มีระบบขนส่งที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ส่งผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลศูนย์ หรือไปฝัง
4.1.4 การจำกัดการท่องเที่ยวTravel and trade restrictions
ได้ประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ และการท่องเที่ยวถึงความจำเป็นในการจำกัดการท่องเที่ยวและการค้า
สายการบินรู้แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดการระบาดในระยะต่างๆ

4.2 การให้วัคซีนVaccine programmes

4.2.1 การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ Routine vaccine programmes

หลักการ

การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะสามารถลดอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิต แต่การให้วัคซีนก็มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณการผลิตและโครงสร้างของระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศ

คำถาม

ประเทศมีทรัพยากรเพียงพอที่จะฉีดวัคซีนให้กับคนในประเทศ

สำหรับประเทศที่ไม่มีโครงการฉีดวัคซีนประจำปี

ให้สำรวจคนป่วยเป็นดรคไข้หวัดใหญ่ อัตราการเสียชีวิต การต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อพิจารณาความคุ้มค่าของการฉีดวัคซีนโดยดูจากความสูญเสียที่เกิดจาก
  • อัตราการป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่แยกตามอายุ
  • อัตราการนอนโรงพยาบาลแยกตามอายุ
  • อัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่

สำหรับประเทศที่ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการให้วัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
จัดหาวัคซีนอย่างเพียงพอ
กระจายวัคซีนไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง
ขยายกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
ติดตามผลข้างเคียงของวัคซีน และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
4.2.2 การฉีดวัคซีนสำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาด Pandemic strain influenza vaccine programme

หลักการ

หลังจากการระบาดแล้วประมาณ 5-6 เดือนจึงจะมีการผลิตวัคซีน ซึ่งช่วงแรกยังไม่เพียงพอ เมื่อเกิดการระบาดทุกประเทศต้องรีบเร่งผลิตให้มากที่สุด สำหรับประเทศที่ผลิตวัคซีนไม่ได้ต้องเตรียมโปรแกรมสำหรับการฉีด เมื่อวัคซีนมาถึงจะได้ฉีดทันที

สำหรับประเทศที่สามารถผลิตวัคซีนได้ ต้องกำหนดระยะเวลาการผลิตวัคซีนให้เพียงพอ
สำหรับประเทศที่ไม่ได้ผลิต ต้องหาแหล่งจัดซื้อวัคซีน หรือต้องใช้วิธีอื่นป้องกันการระบาดก่อน
ให้จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในการให้วัคซีน เช่น คนทำลายไก่ ผู้เลี้ยงสัตว์ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่บริการที่สำคัญ
จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังสำหรับผู้ที่ชำระเงินเพื่อซื้อวัคซีน
ให้วัคซีนแก้ไข้หวัดนกแก่บุคคลที่มีความจำเป็นก่อนได้แก่ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่บริการที่จำเป็น
จัดทำแผนฉุกเฉินการเก็บ การกระจาย และการฉีดวัคซีน
  • วางแผนการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มประชากร
  • กลวิธีในการกระจายวัคซีนให้แก่กลุ่มเสี่ยงก่อน
  • ความปลอดภัยในการนำส่ง การเก็บวัคซีน
มีการบันทึกผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน
ร่วมมือกับท้องถิ่นในการกระจายวัคซีน
มีการเฝ้าระวังผลข้างเคียงของวัคซีน
มีการประเมินว่าการฉีดวัคซีนได้ผลหรือไม่

4.3 Antiviral use as a prevention method

หลักการ

การใช้ยาต้านไวรัสสามารถใช้ได้ทั้งการรักษาและการป้องกันการติดเชื้อ ยาต้านไวรัสจะลดการแพร่เชื้อโรคในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

คำถาม

ประเทศมียาต้านไวรัสเพียงพอหรือไม่ และจะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

ให้เขียนนโยบายการใช้ยาต้านไวรัสในภาวะที่ยังไม่มีการระบาดใหญ่และในภาวะที่มีการระบาด ซึ่งครอบคลุมทั้การรักษาและการป้องกัน
มีกลไกจัดหายาต้านไวรัสให้มีใช้อย่างเพียงพอ
มีวิธีการกระจายยาอย่างทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย
ติดตามผลข้างเคียงของยา และการดื้อยา

5. การดำรงการให้การบริการที่จำเป็น Maintaining essential services

5.1การบริการทางการแพทย์ Health services

หลักการ

การที่ระบบสาธารณสุขยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดความสูญเสียเมื่อเกิดการระบาด ดังนั้นจะต้องเตรียมแผนฉุกเฉินเตรียมไว้

คำถาม

เมื่อเกิดการระบาดมีผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขอย่างไร มีการเตรียมแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดภาวะขาดคนหรือไม่ หากเตียงไม่พอจะทำอย่างไร การควบคุมการติดเชื้อทำได้อย่างไร

การตรวจสอบ

จะต้องเตรียมคนหากเกิดการขาดแคลนเจ้าหน้าที่เนื่องป่วย คนอาจจะมาจากอาษาสมัครหรือองกรการกุศล

5.1.1 ความพร้อมของสถานบริการ Health service facilities
ได้มีการแบ่งโรงพยาบาลออกเป็นระดับ เช่นบางโรงใช้สำหรับกักกันผู้ที่สัมผัส บางโรงรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเบา บางโรงรักษาผู้ที่มีอาการหนัก รวมทั้งห้องicu
ร่างรายละเอียดว่าโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะมีบทบาทหน้าที่อย่างไร รักษาผู้ป่วยประเภทไหน
จะต้องมีศูนย์ลงทะเบียนผู้ป่วย รวมทั้งการบริหารเตียง การขนส่งและรายละเอียดว่าผู้ป่วยประเภทไหนจะนอนโรงพยาบาลไหน
หากเตียงเต็มต้องเตรียมแหล่งอื่น เช่นโรงเรียน โรงยิม
มีความร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่นและส่วนกลางเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายคนจากส่วนท้องถิ่นมายังส่วนกลาง
5.1.2 การเตรียมความพร้อมเรื่องคน Health service personnel
จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในแต่ระดับให้เพียงพอ
เตรียมเสริมบุคลากร เช่นคนที่เกษียร
มอบหมายหน้าทพิเศษี่ให้กับอาสาสมัคร หน้าที่ดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากองคกรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อองค์กรการกุศลที่สามารถหาอาสาสมัครเพื่อปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
จัดการฝึกอบรมคนเหล้านั้น พร้อมทั้งการขอใบอนุญาต
ให้คำปรึกษาทางจิตแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานเนื่องจากต้องสัมผัสเชื้อโรคชนิดใหม่
5.1.3การสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์ Health service supplies
สำรวจอุปกรณ์ทางการแพทย์ น้ำเกลือ ยา และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้มีอย่างเพียงพอ และสามารถจัดหาแหล่งสำรองจากแหล่งอื่นเมื่อยามขาดแคลน
ให้จัดหายาปฏิชีวนะที่คาดว่าจะใช้ให้มีอย่างเพียงพอ และหาแหล่งสำรองเมื่อยาขาด
จัดหาอุปกรณ์สำหรับสถาพยาบาลสำรอง
วางแผนการกระจายยาและเวชภัณฑ์
5.1.4 เมื่อมีผู้เสียชีวิตมาก Excess mortality
พิจารณาถึงความสามารถของวัดในการเผาศพ
เตรียมที่เก็บศพก่อนนำไปฝัง
เตรียมวิธีการจัดการเกี่ยวกับศพโดยที่ไม่ขัดกับศาสนาและวัฒนธรรม

5.2 การบริการสาธารณที่จำเป็น Other essential services

หลักการ

การบริการสาธารณที่จำเป็นเช่น ไฟฟ้า ประปา ขนส่ง การสื่อสาร เพราะหากขาดการบริการเหล่านี้ คนจะไม่สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุข

ให้แจ้งข้อดีและข้อเสียของการประกาศแผนฉุกเฉิน
กำหนดให้หน่วยงานเช่นสำนักนายกมีหน้าที่ทำให้บริการสาธารณสามารถดำเนินงานอย่งต่อเนื่อง
ให้เรียงลำดับความสำคัญของหน่วยงานบริการ เพื่อจัดลำดับการให้วัคซีนหรือการให้ยาป้องกันไข้หวัดนก
จัดหากำลังสำรอง หากคนในหน่วยบริการเกิดการเจ็บป่วย ซึ่งอาจจะเป็นทหาร หรือพวกเกษียร
ให้แต่ละหน่วยบริการจัดทำแผนฉุกเฉินหากเกิดการระบาดของไข้หวัดนก
จัดการอบรมเจ้หน้าที่เพื่อจะไปปฏิบัติงาน

5.3 Recovery

หลักการ

หลังจากการระบาดจะต้องมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องฟื้ฟูด้านจิตใจ และทางเศรษฐกิจ

คำถาม

มีแผนฟื้นฟูทางเศรษฐกิจหรือยัง การบริการสาธารณะมีแผนฉุกเฉินและแผนฟื้นฟูหรือยัง ใครเป็นผู้มีหน้าที่ฟื้นฟูทางด้านจิตใจ และสังคม มีกลไกที่จะช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจ

ให้หน่วยงานบริการสาธารณะที่จำเป็น เช่นไฟฟ้า ประปา ทำแผนฟื้นฟู
กำหนดหน่วยงานที่จะฟื้นฟูด้านจิตใจ ทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
รัฐกำหนดเกณฑ์การช่วยเหลือ

6. Research and evaluation

หลักการ

การวิจัยจะทำให้เราและโลกรู้จักโรคดีขึ้น และสามารถดำเนินมาตราการป้องกันการแพร่ระบาด

ต้องศึกษาตัวเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการระบาด
หากมีการใช้ยาต้านไวรัส ต้องมีการติดตามตัวเชื้อว่ามีการดื้อยาหรือไม่
หากมีการใช้วัคซีนต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพของวัคซีน
เมื่อเชื้อยังระบาดในสัตว์ ต้องศึกว่าวิธีการติดต่อจากสัตว์สู่คนและจากคนสู่คน เพื่อวางแผนป้องกันการระบาด
เมื่อเกิดการระบาดต้องวิจัยถึงผลกระทบต่อสังคม ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ
  • ผลกระทบของการระบาดต่อการเสียชีวิต และคนต้องเข้าโรงพยาบาล
  • ประสิทธิภายของมาตราการทางการแพทย์ในการยับยั้งการระบาด
  • ประสิมธิภาพของวัคซีน
  • ประสิทธิภาพของยาป้องกันไวรัส
  • ผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ