ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง ( subdural hematoma )

โครงสร้างของเยื่อหุ้มสมอง

เป็นภาวะที่มีเลือดออกระหว่างเนื้อสมองกับเยื่อหุ้มสมองชั้น Dura ก้อนเลือดเมื่อโตขึ้นก็จะกดสมองและทำให้เกิดอาการความดันในสมองเพิ่ม ผู้ป่วยจะปวดศีรษะ อ่อนแรง อาเจียน ซึมลง หากไม่รักษาก้านสมองจะถูกกดผู้ป่วยจะเสียชีวิตภาวะนี้มักจะพบในผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ

ภาพ CT Scan แสดงเลือดออกชั้น subdura

ชนิดของเลือดออกในชั้น sural hematoma

ห่างแบ่งเลือดออกในสมอง subdural haematoma (SDH)ตามระยะเวลาของการเกิดโรคแบ่งออกเป็น

  • ระยะเฉียบพลัน An acute SDH (acute SDH) ผู้ป่วยมักมีอาการหลังเกิดอุบัติเหตุ 24 ชั่วโมง โดยมากผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการหมดสติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวอย่างชั่วคราว เช่นหลังอุบัติเหตุใหม่ๆจะหมดสติ และตื่นขึ้นมามีสติใหม่ แต่หลังจากนั้นจะหมดสติเรียก lucid interval ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 50-70 ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้อีกก็อาจเป็นอาการปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง รูม่านตาผิดปกติหรืออาการของเนื้อ สมองบวมเหล่านี้เป็นต้นAn acute SDH. อ่านที่นี่
  • ระยะรองเฉียบพลัน (subacute SDH) อาการเกิดขึ้นในช่วง3 วันแรกจนถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการปวดศรีษะ มีระดับความรู้สึกตัวลดลง หรืออาการแขนขาอ่อนแรง
  • ระยะเรื้อรัง (chronic SDH) มักมีอาการภายใน 2 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น พบว่าร้อยละ 45 ของผู้ป่วยมักมาด้วยอาการแขนขาอ่อนแรง และพบได้ถึงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอาจมาด้วยมีการเปลี่ยน แปลงของระดับความรู้สึกตัวหรือสับสน ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการหลงลืม หรือจำไม่ได้ว่าเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นก็ได้ อ่านที่นี่
  • เลือดออกชั้น SDHที่เนื้อสมองปรกติ
  • เลือดออก SDH ที่พบร่วมกันเนื้อสมองที่ถูกทำลาย
  • ระยะเฉียบพลัน acute subdural haematoma (SDH)ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยมากมักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะจนเกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดดำ แต่มีโอกาสที่จะเกิดก้อนเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองจากการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงได้ร้อยละ 20-30 สาเหตุที่พบ
    • เลือดออกจากหลอดเลือดแดง
    • เลือดออกจากเนื้อสมองที่ได้รับอุบัติเหตุ
    • เลือดออกจากหลอดเลือดดำ
  • เลือดออกอาจจะเกิดจากโรคเลือดที่มีปัญหาเลือดออกง่าย
  • เกิดจากการแตกของหลอดเลือดที่มีความผิดปรกติเช่น AVM หรือหลอดเลือดโป่งพอง Aneurysm 

กลุ่มที่เสี่ยงได้แก่

  • กลุ่มทารก
    • ในระหว่างการคลอดอาจจะมีการฉีดขาดของหลอดลือด หรืออาจจะเกิดขึ้นเองโดยที่ไม่ได้รับอุบัติเหตุ
    • กลุ่มโรค'shaken baby syndrome'
  • ผู้สูงอายุ
    • ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีจะมีการฝ่อของเนื้อสมอง ทำให้หลอดเลือดมีการฉีกขาดได้ง่าย
    • ระยะเรื้อรัง (chronic SDH)จะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่ดื่มสุรา
    • เนื่องจากสุราจะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปรกติ ประกอบกับคนเมาสุราจะได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะบ่อย
    • นอกจากนั้นการดื่มสุราเรื้อรังก็ทำให้สมองฝ่อ
  • ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
    • ตัวอย่างยา เช่น coumarin
    • เป็นโรค Hemophilia
  • เลือดออกในชั้น subdural haematoma (SDH)พบได้ประมาณ1/3ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งมักสัมพันธ์กับอุบัติเหตุทางรถยนต์ การตกจากที่สูง และการถูกทำร้ายร่างกาย.
  • สาเหตุอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ได้บ้างแต่ไม่บ่อย เช่น หลอดเลือดโป่งพองในสมอง (aneurysm), arteriovenous malformation (AVM), เนื้องอกของสมองชนิด meningioma, มะเร็งแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มสมอง dura (dura metasta-ses), การทำร้ายร่างกายในเด็ก (child abuse), การให้ยาละลายลิ่มเลือดในโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด, การเสพติดยาโคเคน เป็นต้น.
  • ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของภาวะนี้ ได้แก่ สมองฝ่อ, ติดสุราและมีประวัติได้รับบาดเจ็บหลายครั้ง, ผู้สูงอายุ, เพศชาย
  • ประวัติมีการใช้ยาละลายลิ่มเลือดจนทำให้ระดับ PTT ratio > 2 หรือ INR > 4

เพิ่มเพื่อน