การป้องกันการติดเชื้อโควิดในที่ทำงาน

การป้องกันการติดเชื้อโควิดในที่ทำงาน หน่วยงานจะต้องมีนโยบายและแนวทางปฏิบัติสำหรับพนักงานเพื่อลดการติดเชื้อโควิดในหน่วยงาน ดังนั้นแต่ละบริษัทจะต้องเตรียมตัวเปิดกันทำงานที่บริษัทโดยจะต้องมีมาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด19

การสื่อสาร | การจัดการสถานที่ทำงาน | อาหารและเครื่องเดิม | การประชุม | การใช้ลิฟท์ | การเดินทางและท่องเที่ยว | การประเมินงานที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ | ลดการติดเชื้อในพนักงาน | นโยบายการตรวจสุขภาพประจำวัน | แนวปฏิบัติเมื่อพนักงานติดเชื้อ | การจัดการสถานที่ทำงาน | การล้างมือ | การดูแลกลุ่มเสี่ยง | การจัดการเรื่องเว้นระยะห่าง | การสวมหน้ากากอนามัย | การจัดการเครื่องใช้ร่วมกัน | การเตรียมบุคคลากรเพื่อกลับเข้าทำงาน | การเตรียมการสำหรับลูกค้า

การป้องกันโควิดในที่ทำงาน

การสื่อสาร

  • บริษัทจะต้องสื่อสารถึงคนทำงานว่าจะเปิดบริษัทเมื่อไหร่ นโยบายของบริษัทเกี่ยวกับการป้องกันโรคมีอะไรบ้าง การสื่อสารนี้อาจจะผ่านทางโซเชียลมีเดียเช่น Facebook LINE

  • นอกจากนั้นจะต้องให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการติดเชื้อ

  • บริษัทจะต้องจัดสื่อติดไว้ตามที่ต่างๆเช่น ทางเดิน ลิฟท์ ประตูทางเข้า ทั้งข่าวซึ่งจะมีเนื้อหากระตุ้นให้พนักงานมีการเว้นระยะห่าง การล้างมือสม่ำเสมอ การสังเกตุตัวเอง การสวมหน้ากากอนามัย

  • บริษัทจะต้องมีนโยบายเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโรคหลังจากที่ได้เปิดทำงานใหม่ นโยบายที่ควรจะแจ้งให้พนักงานได้ทราบมีดังต่อไปนี้

    • หากมีอาการรู้สึกไม่สบายเป็นหวัดมีน้ำมูกให้ทำงานที่บ้านต่อ
    • พนักงานทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัยในขณะทำงาน
    • บริษัทจะมีการทำความสะอาดสถานที่ทำงานตามตาราง และจัดหาแอลกอฮอล์เหลวหน้ากากทิชชูและถังขยะอย่างเพียงพอ
    • นโยบายของบริษัทจะลดการติดต่อพูดคุยการประชุมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • บริษัทจะใช้การศึกษาการสื่อสารผ่านทางอีเมล ทางโทรศัพท์ การประชุมทางไกล

การจัดการสถานที่ทำงาน

  • จัดสถานที่ให้พนักงานนั่ง และให้พนักงานนั่งอยู่ที่ทำงานทั้งวัน การจัดพื้นที่ควรจะหนึ่งคนต่อหนึ่งตารางเมตร ในกรณีที่มีข้อจำกัดของพื้นที่ให้แก้ไขโดยให้พนักงานสวมหน้ากากอนามัย หรือมีฉากกั้น
  • ให้ปิดห้องอาหารและห้องเกม หรือห้องพักผ่อน แนะนำให้พนักงานรับประทานเบรค และอาหารกลางวันที่โต๊ะทำงาน
  • ในการเบรคต้องเหลื่อมเวลาแต่ละแผนก เพื่อเกลี่ยคนไม่ให้เกิดความแออัด
  • เก้าอี้ในห้องเบรคควรจะลดจำนวนลงครึ่งหนึ่งเพื่อให้เกิดการเว้นระยะห่าง
  • ห้องที่แคบและติดเครื่องปรับอากาศไม่ควรเปิดพัดลมเพราะจะทำให้มีการฟุ้งกระจายของเชื้อโรค ควรเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี

อาหารและเครื่องเดิม

  • ตู้เย็นและเครื่องทำกาแฟควรจะปิดการใช้งานเพื่อป้องกันการสัมผัสบ่อยๆ
  • ให้ไปนักงานนำอาหารเครื่องดื่มชามช้อนแก้วมาจากบ้าน

การประชุม

  • พนักงานที่รู้สึกว่าไม่สบายจะไม่อนุญาตให้เข้าประชุมหรือรวมกลุ่ม
  • พนักงานทุกคนต้องทำรายงานสถานที่เสี่ยงที่เคยไป รวมทั้งอาการเจ็บป่วยเพื่อรายงานงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
  • บริษัทจะต้องจัดหาหน้ากากกระดาษ แอลกอฮอล์เหลว สำหรับผู้เข้าประชุมทุกคน
  • ระหว่างประชุมให้ทุกคนสวมหน้ากากตลอดเวลา
  • ควรมีระบบระบายอากาศในห้องประชุมให้เปิดประตูและหน้าต่าง
  • เว้นระยะห่างระหว่างผู้เข้าประชุมอย่างน้อย 1 เมตร
  • ไม่ควรมีการเบรครับประทานอาหารระหว่างประชุม
  • ควรจะประชุมในที่โล่งอากาศถ่ายเทได้ดี หรือเปิดประตูและหน้าต่าง มีมีการติดเครื่องฟอกอากาศ

การใช้ลิฟท์

  • พนักงานควรจะใช้บันไดมากกว่าการใช้ลิฟท์
  • จำกัดคนที่อยู่ในลิสต์ให้ได้ครึ่งหนึ่งของความจุ
  • ควรสวมหน้ากากตลอดเวลาระหว่างอยู่ในลิฟ
  • มีตารางทำความสะอาด
  • มีแอลกอฮอล์เหลวที่หน้าประตูลิฟท์

การเดินทางและท่องเที่ยว

  • พนักงานที่เดินทางในพื้นที่เสี่ยงควรจะมีหน้ากากอนามัยถุงมือแอลกอฮอล์ติดตัว
  • พนักงานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไม่ควรเดินทางไปท่องเที่ยวหรือไปทำงานที่อื่น

  • แต่หลังจากกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ พนักงานไม่ควรไปทำงานควรจะกลับตัวดูอาการอย่างน้อย 14 วัน

  • สนับสนุนให้พนักงานใช้การโดยสารชนิดอื่นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยกว่ารถสาธารณะเช่น การขี่จักรยาน การใช้มอร์เตอร์ไซด์ การเดิน การเดินทางดดยรถยนต์ส่วนตัวหรือ car pool
  • ให้พนักงานปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด
  • เลื่อนหรือปรับเวลาทำงานเพื่อให้ความเสี่ยงในการติดเชื้อจากความแออัด
  • เมื่อมาถึงบริษัทให้ล้างมือทันที

บริษัทควรมีการประเมินงานที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

บริษัทควรจะมีการประเมินความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด โดยประเมินงานที่ทำว่าต้องติดต่อผู้คนทั้งในหน่วยงาน และบุคคลข้างนอกที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเช่น ตลาดสด หรือคนที่ติดต่อเป็นบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ เช่นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และการระบาดในพื้นที่ว่ามีมากหรือน้อย เพื่อที่บริษัทจะได้จัดทำนโยบายเพื่อลดการติดต่อในหน่วยงาน เช่น การจัดที่ทำงาน การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันตัว การทำความสะอาด เป็นต้น

  • งานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำได้แก่งานที่ทำงานไม่ต้องสัมผัสเพื่อนร่วมงาน และผู้มาติดต่อตัวอย่างเช่น ผู้รับโทรศัพท์ โปรแกรมเมอร์ พนักงานบัญชี หรือผู้ที่ทำงานที่บ้าน พนักงานซึ่งแยกกันทำงานและไม่ได้ติดต่อกันกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงต่ำ
  • กลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่งานซึ่งจะต้องสัมผัสกับคนมาติดต่อ หรือไปในสถานที่คนมากๆเช่นตลาด รถโดยสารขนส่งมวลชน หรืองานที่ต้องใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงาน การจัดการกับกลุ่มงานอย่างเรานี้จะต้องจัดการเว้นระยะห่าง
  • งานที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่งานที่ต้องสัมผัสคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด เช่นการทำงานขับรถที่ไม่ได้มีการแยกระหว่าพนักงานขับ และผู้โดยสาร เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ด่านหน้าในการคัดกรองผู้ป่วย กลุ่มนี้จะต้องใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 การจัดที่นั่งต้องเว้นระยะห่าง การเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ถี่ขึ้น

การป้องกันและลดการติดเชื้อในพนักงาน

นโยบายสนับสนุนให้พนักงานเจ็บป่วยพักที่บ้าน

  • พนักงานที่มีอาการของโควิดควรจะแจ้งหัวหน้างาน และหยุดพักที่บ้าน องค์การควบคุมของอเมริกาแนะนำให้มีการตรวจเอทีเคสำหรับพนักงานซึ่งมีอาการของโควิดและบุคคลที่สัมผัสใกล้ชิด
  • พนักงานที่ติดเชื้อโควิดควรจะกักตัวเอง ส่วนพนักงานที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการก็ควรจะกักตัว
  • พนักงานซึ่งมีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อโควิดก็ควรแจ้งให้หัวหน้างานและกักตัวเอง 14 วัน

  • บริษัทควรจะไม่มีการลดหรือตัดเงินสำหรับคนที่กักตัวหากป่วยด้วยโควิด

นโยบายการตรวจสุขภาพประจำวัน

การประเมินสุขภาพตนเองทำได้สองวิธีคือ

  1. การประเมินโดยให้พนักงานกรอกแบบฟอร์มเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการสัมผัสผู้ที่เป็นโรคประวัติเกี่ยวกับการไปในสถานที่เสี่ยง รวมทั้งมาตรการในการป้องกันตัวเองและประวัติหรืออาการเจ็บป่วยมีหรือไม่
  2. การประเมินสุขภาพในที่ทำงานซึ่งจะประเมินเกี่ยวกับอาการของโรคประวัติการมีไข้ ประวัติการตรวจโควิดในรอบ 10 วันที่ผ่านมา ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโควิดในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
  3. ดำเนินการตรวจหาโควิดตามความเสี่ยงโดยเริ่มต้นอาจจะตรวจเจ้าหน้าที่ทุกคนก่อนเข้าทำงาน หลังจากนั้นจึงตรวจเป็นระยะระยะตามความเสี่ยงแต่ละคน
  4. มีการประเมินความเสี่ยงของการติดโควิดในแต่ละหน่วยงาน และจัดการป้องกันตามความเหมาะสม
  5. แผนแยกพนักงานที่มีอาการหากมาถึงที่ทำงานและมีอาการป่วยก็ให้กลับไปนอนพักที่บ้าน และไปตรวจหาเชื้อสำหรับผู้ที่ป่วยระหว่างการทำงานก็ต้องมีการแยกเข้าไปห้องเฉพาะ และมีการพาผู้ป่วยไปตรวจเลยกลับบ้านอย่างปลอดภัยและป้องกันการติดเชื้อ
  6. การจัดการกับสถานที่ที่พนักงานป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วย
  • ให้ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อยด้วยน้ำและสบู่ก่อนทำการฆ่าเชื้อ
  • การฆ่าเชื้อที่ผิวสัมผัสจะต้องเลือกชนิดของสารให้เหมาะสมกับพื้นผิวที่สัมผัสเช่นโลหะผ้ากระดาษพื้น
  • ในการเข้าทำความสะอาดจะต้องสวมถุงมือใส่ชุดกล่าวและอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี
  • ต้องให้แน่ใจว่าห้องที่เข้าไปทำความสะอาดจะต้องมีการระบายอากาศที่ดีในขณะที่เราอาจทำการฆ่าเชื้อ

เมื่อมีพนักงานติดเชื้อโควิดจะต้องปฏิบัติอะไรบ้าง

  • หัวหน้าจะต้องประเมินพนักงานที่สัมผัส และเสี่ยงต่อการเกิดโรคการประเมินจะประเมินพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดขึ้นระยะเวลาที่สัมผัสปกติหากเกิน 15 นาที ระยะห่าง1ฟุตก็ถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรค<
  • กลุ่มที่สัมผัสใกล้ชิดกับกลุ่มที่อาจสัมผัสในระยะ 6 ฟุตเกิน 15 นาทีจะต้องมีการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน บางแห่งให้กับตัวเจ็ดถึง 10 วันขึ้นกับว่าจำนวนพนักงานมีมากเพียงพอหรือไม่ แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงกับโอกาสที่จะเชื้อเพลิงกระจายในหน่วยงานหากกักตัวสั้น
  • หน่วยงานจะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการติดต่อ การติดตามอาการของโควิด และที่สำคัญจะต้องมีสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง การล้างมือ การทำความสะอาดพื้นผิว และระบบระบายอากาศที่ดี
  • หน่วยงานจะต้องดำเนินการตรวจหาตัวเชื้อสำหรับบุคคลที่สัมผัสกับผู้ป่วยและมีการตรวจซ้ำเมื่อเวลาเหมาะสม

หน้าที่ของหน่วยงานเมื่อมีการระบาดของโควิด19

หน่วยงานจะต้องแจ้งให้พนักงานทราบถึงนโยบายกระบวนการที่จะป้องกันโรคในหน่วยงาน

  • หากพนักงานป่วยให้กักตัวอยู่ที่บ้านและเฝ้าดูอาการของโรค
  • พนักงานจะต้องแจ้งให้หัวหน้าทราบว่ามีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคโควิดแล้วรอคำแนะนำจากหัวหน้า
  • ให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่ที่แออัดหรือพบประกับคน

การล้างมือ

ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาทีหรือใช้แอลกอฮอล์เหลว พนักงานจะแนะนำให้ล้างมือเมื่อเห็นว่ามือสกปรกหรือล้างมือทุกครั้งที่

  • ก่อนก่อนและหลังจากทำงาน
  • ก่อนและหลังรับประทานอาหาร
  • หลังจากสั่งน้ำมูกจามและไอ
  • หลังจากเข้าห้องน้ำ
  • ล้างมือก่อนอาหารหรือก่อนไปปรุงอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสตาจมูกปากโดยที่ไม่ได้ล้างมือ
  • ปิดปากจมูกด้วยทิชชูเหมือนจะไอหรือจาม
  • ให้ทำความสะอาดพื้นสัมผัสบ่อยบ่อยเช่นโทรศัพท์ขี่บอยลูกบิดประตูสายชำระ
  • ให้ความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆเช่นคีย์บอร์ดโทรศัพท์เอาเก้าอี้อุปกรณ์ดังกล่าวควรจะใช้เป็นส่วนตัว
  • หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มกันให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 6 ฟุต

การดูลแพนักงานที่โดยสารรถสาธารณะ

การดูแลพนักงานที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงในหน่วยงาน

พนักงานที่มีอายุมากกว่า 60 ปีและมีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรที่รับการดูแลดังนี้

  • พนักงานกลุ่มนี้ให้ทำงานที่บ้านหรือมอบหมายงานที่ไม่ต้องติดต่อผู้คนที่ หรือจัดสถานที่ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ
  • จัดสิ่งแวดล้อมที่ดีมีการเว้นระยะห่างที่ดีมีการระบายอากาศที่ดีและมีระบบที่จะลดการสัมผัสผู้คน

ระบบการทำงาน

จะต้องปรับระบบการทำงานเพื่อให้พนักงานมีการติดต่อกับคนในหน่วยงาน และคนนอกหน่วยงานให้น้อยที่สุด

  • จัดระบบการสั่งสินค้าออนไลน์แล้วมารับสินค้า ณ สถานที่นัดหมาย
  • จัดระบบการรับสินค้า
  • ระบบสุขอนามัย การทำความสะอาด การทิ้งขยะ และการเว้นระยะห่าง

การจัดการเรื่องเว้นระยะห่าง

  • มีการจัดการพื้นที่สำหรับลูกค้าหรือคนนอกที่มาติดต่อ
  • มีการจัดการสถานที่ทำงานให้มีพื้นที่ทำงานอย่างน้อย 1 ตารางเมตร
  • มีจัดการทำงานเหลื่อมเวลา หรือสลับวันกันทำงาน
  • มีการจัดระบบงานเป็นทีมและไม่มีการเปลี่ยนสมาชิกในทีม เพื่อลดโอกาสแพร่กระจาย
  • มีการจัดสถานที่ห้องประชุม ห้องทานอาหาร และจัดเวลารับประทานอาหารมิให้เกิดการแออัด
  • มีการใช้ฉากกั้น

การสวมหน้ากากอนามัย

  • มีการประกาศเป็นนโยบายของบริษัทให้สวมหน้ากากอนามัยทั้งพนักงานและผู้มาติดต่อ
  • จัดหน้ากากอนามัยให้เพียงพอ และมีการอบรมการสวมหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง
  • จัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับผู้ที่มาติดต่อและไม่มีหน้ากากอนามัย
  • สำหรับพื้นที่มีความเสี่ยงสูงให้จัดหาหน้ากากอนามัย N95

นโยบายทำความสะอาด

เชื้อไวรัสโควิด19สามารถมีชีวิตบนพื้นผิวได้หลายวัน ดังนั้นอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีคนใช้หลายคนจะต้องมีมาตรการลดจำนวนคนใช้ และจะต้องมีการทำความสะอาดผิวสัมผัสและฆ่าเชื้อไวรัส

  • มีตารางการทำความสะอาดประจำวัน
  • พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น ลูกบิดประตู โทรสัพท์ ก๊อกน้ำ จะต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อให้บ่อย

การจัดการเครื่องใช้ร่วมกัน

บริษัทจะต้องสำรวจ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ที่พนักงานจะต้องใช้ร่วมกัน เช่น เคาร์เตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมทั้งอุปกรณื โทรศัพท์ ปากกา ดินสอ ห้องรับประทานอาหาร ห้องน้ำ โดยต้องจัดการ

  • จำกัดการใช้อุปกรณ์บางอย่าง กำหนดคนที่จะใช้อุปกรณ์นั้น เช่นคอมพิวเตอร์ ของใช้บางอย่างเช่นแก้วน้ำ ดินสอก็ใช้ส่วนตัว และจะต้องจัดตารางทำความสะอาด
  • จัดหาอุปกรณืป้องกันตนเองอย่างเพียงพอ เช่นหน้ากากอนามัย ถุงมือ แอลกอฮอลล์
  • จัดหาอุปกรณ์เพื่อเว้นระยะห่างเช่นฉาก ฉากกั้น อะคริลิคใส

การเตรียมบุคคลากรเพื่อกลับเข้าทำงาน

การเตรียมคนเพื่อกลับเข้าทำงานเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโควิดซึ่งต้องพิจารณาดังต่อไปนี้

  • แจ้งนโยบายและวิธีการปฏิบัติเพื่อลดการติดต่อของโรค
  • ฝึกอบรมการป้องกันตัวเองมิให้ติดเชื้อ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ การสวมชุมป้องกันการติดเชื้อ การเว้นระยะห่าง อาการของโรค การเฝ้าระวังอาการของโรคของเพื่อนร่วมงานและคนในครอบครัว
  • บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคลในการป้องกันการติดเชื้อ
  • นโยบายของบริษัทเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ

การเตรียมการสำหรับลูกค้าและผู้มาติดต่อ

จะต้องเตรียมการสำหรับลูกค้าและผู้มาติดต่อโดยจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  • การลดจำนวนคนที่มาติดต่อทั้งลูกค้าและผู้มาติดต่อโดยผ่านทางอินเตอร์เนต หรือโทรศัพท์
  • มีประกาศมาตรการป้องกันติดไว้ที่ทางเข้า และแจ้งในสื่ออื่นๆ
  • จะต้องจัดสถานที่เว้นระยะห่างให้กับลูกค้าและผู้มาติดต่อ เช่น การจัดสถานที่ให้ห่างกัน1.5 เมตร หรือมีฉากกั้น
  • ต้องมีการคัดกรองก่อนเข้า
  • การจ่ายเงินแบไม่ต้องสัมผัสโดยใช้การโอนเงิน
  • การรับและส่งของผ่านทางระบบขนส่ง

การกำกับและการติดตาม

การกำกับให้ทุกคนปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางแผนไว้ แต่ติดตามงานรวมทั้งประเมินแผนงานเป็นระยะเพื่อปรับแผนการดำเนินงาน