หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
สำหรับท่านที่เคยไปบริเวณที่เป็นแหล่งระบาดของเชื้อมาลาเรีย และมีอาการไข้สูงหนาวสั่น ท่านต้องนึกถึงมาลาเรียเป็นอันดับต้นๆ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นมาลาเรียแล้วต้องรีบให้การรักษาอย่างรีบด่วน
ในการรักษาจะต้องพิจารณาปัจจัยที่สำคัญได้แก่ มาลาเรียนั้นเป็นชนิดธรรมดาหรือมาลาเรียที่มีโรคแทรกซ้อน ความรุนแรงของโรคจำนวนเม็ดเลือดแดงที่มีการติดเชื้อ เชื้อนั้นเป็นเชื้อชนิดไหน แหล่งที่ติดต่อเป็นทีไหนมีการดื้อยามากน้อยแค่ไหน
การเลือกชนิดของยา วิธีการให้ยาเช่นยาฉีดหรือยารับประทานจะต้องพิจารณาจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น
ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียทพี.ฟาลซิปารัมี่ไม่มีโรคแทรกซ้อน
มาลาเรียที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนหมายถึงมาลาเรียที่มีอาการ แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งจากอาการของโรค และจากผลการตรวจคมีในเลือด มาลาเรียที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนมักจะเกิดจาก
สำหรับองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้ยา
First-line antimalarial treatment
Second-line antimalarial treatment:
การรักษามาลาเรียที่มีโรคแทรกซ้อน
มาลาเรียที่มีโรคแทรกซ้อนเป็นภาวะเร่งด่วนที่จะต้องวินิจฉัยให้เร็วที่สุดและรักาาให้เร็วที่สุดโดยให้ยาเข้าทางเส้นเลือด มาลาเรียที่มีโรคแทรกซ้อนมักจะเกิดจากเชื้อ พี.ฟาลซิปารัมโดยมากมักจะเกิดการติดเชื้อรุนแรง คือมีการติดเชื้อของเม็ดเลือดแดงร้อยละ 1-2% ตารางข้องล่างแสดงภาวะที่มีโรคแทรกซ้อน
อาการ |
Description |
ผู้ป่วยโคม่า cerebral malaria |
ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 30 นาทีหลังชัก |
ชัก |
มีอาการชักมากกว่า 2 ครั้งใน 24 ชม. |
ภาวะซีด |
ความเข้มข้นของเลือดลดลง(Hct) <15%, หรือ hemoglobin <5g/dl, โดยมีการติดเชื้อของเม็ดเลือดแดงมากกว่า 1-2% |
มีเลือดออกผิดปกติ |
เลือดออกจากจมูก เหงือก ทางเดินอาหาร |
หายใจวาย |
ผู้ป่วยหายใจเร็ว อาจจะมีตัวเขียว หายใจเสียงดัง |
ไตวาย |
ปัสสาวะออกน้อยกว่า <400 ซซ/24 ชม (<12 ml/kg per 24 hrs in children); เมื่อให้น้ำเกลือแล้วปัสสาวะออกไม่มากขึ้น serum creatinine >3.0 mg/dl (>265 _mol/l) |
เม็ดเลือดแดงแตกทำให้มีhemoglobin ในปัสสาวะ |
ปัสสาวะจะมีสีดำ หรือน้ำตาล |
น้ำตาลในเลือดต่ำ |
Glucose <40mg/dl |
ความดันโลหิตต่ำหรือช็อค |
ความดันSystolic BP <50 ในเด็กอายุ1-5 or <70 ในผู้ใหญ่ |
มีความเป็นกรดในเลือด |
Arterial pH <7.25 or plasma bicarbonate <15 mmol/l |
มีดีซ่าน |
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการทางเคมีว่าโรคมาลาเรียมีอาการรุนแรง
หากมีผู้ป่วยมาลาเรียและมีอาการหนักดังตารางข้างบน จะมีหลักการรักษาดังต่อไปนี้
ยาที่ใช้รักษามาลาเรียที่มีโรคแทรกซ้อน
Quinine dihydrochloride | เริ่มต้นให้ 20 mg/kg ผสมน้ำเกลือให้ในเวลา 4 ชม, หลังจากนั้นให้ยาขนาด 10 mg/kg ในเวลา 2-4 hrs ทุก 8ชม.(ขนาดสูงสุดไม่เกิน 1800 mg/วัน) จนกระทั่งเริ่มให้ยาทางปากได้ |
ในการให้ยา quinine ขนาดสูงต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ พี.ไวแวกซ์ หรือ โอวาริอี นอกจากให้ chloroquine แล้วต้อง Primaquine เพื่อฆ่าเชื้อที่อยู่ในตับ โดยให้ครั้งละ 2 เม็ดวันละครั้งระหว่างการรักษาแพทย์จะเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรคดังนี้
หลังการรักษาปริมาณเชื้อควรจะลดลงใน 24- 48 ชม.หลังการรักษา
เชื้อ พี.ไวแวกซ์ และ พี.โอวาริอี และมักจะต้องสนองต่อ chloroquin สำหรับพื้นที่ที่ดื้อต่อ chloroquin หรือเกิดจากเชื้อ พี.ฟาลซิปารัมก็ให้เริ่มด้วยยา quinine ร่วมกับยา doxycycline หรือ Fabsidar ขนาดที่ใช้ตามตารางข้างล่าง
พื้นที่เชื้อไม่ดื้อต่อ Chloroquin |
|
Chloroquin | ผู้ใหญ่ 1000 มก.(เม็ดละ 250 มก. 4 เม็ด) อีก 6 ชมให้ 500 มก.หลังจากนั้นให้ 500 มก.ที่ 24 ชม. และ 48 ชม. |
พื้นที่เชื้อดื้อต่อChloroquin |
|
Mefloquine | ผู้ใหญ่ 1250 มก. (ให้ 750 มก. อีก 12 ชม.ให้อีก 500 มก.) เด็กให้ขนาด 25 มก/กก ทันที( |
Halofantrine | ผู้ใหญ่ 500 mg ทุก 6 ชม. x 3 ครั้ง. ให้อีกครั้งในวันที่ 7 เด็ก (<40kg): 8 mg/kg ทุก 6 ชม x 3 ครั้ง ให้อีกครั้งในวันที่ 7 |
Quinine ร่วมกับยา
Doxycycline*หรือ FansidarR |
ผู้ใหญ่ 600 หรือ 650 มก. วันละ 3 ครั้ง 3-7 วัน เด็ก 25 มก/กก/วัน วันละ 3 ครั้ง x 7 วัน Doxy :100mg วันละ 2 ครั้ง x 7
วัน; ห้ามใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี ผู้ใหญ่: 3 เม็ดให้วันละครั้ง |
แนวทางการรักษามาลาเรียตามองค์การอนามัยโลก
วงจรชีวิต >แหล่งระบาด >ลักษณะทางคลินิก >การวินิจฉัย >การรักษา >โรคแทรกซ้อน >การป้องกัน