การป้องกันระดับหน่วยงาน
หน่วยงานที่จะต้องพาคนออกไปฝึกนอกสถานที่และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรีย หรือโรคอื่นที่มากับยุงควรจะได้มีการเตรียมการป้องกันโรคที่มากับยุง ขั้นตอนในการป้องกัน
- เตรียมคนและเตรียมกฎ
- เตรียมอุปกรณ์
- การเลือกสถานที่ฝึก
- การควบคุมยุง
การเตรียมคนและเตรียมกฎ
เมื่อรู้ว่าจะต้องเข้าเขตโรคติดต่อจะต้องเตรียมเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขเพื่อร่วมวางแผนในการป้องกัน การรักษา การอบรบบุคคลากรให้รู้จักวิธีป้องกันทั้งส่วนบุคคลและการใช้ยาป้องกันโรคและอาการของโรค รวมทั้งการออกกฎเพื่อให้ปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย เช่นการนอนในมุ้ง การทายากันยุง
การเลือกใส่เสื้อผ้าเป็นต้น
การเตรียมอุปกรณ์
อุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้
- อุปกรณ์ที่ป้องกันส่วนบุคคล
- ชุดหรือแบบฟอร์ม เต็นท์ต้องมีการทายากันยุงให้เรียบร้อยพร้อมที่จะใช้ ให้ระบุวันที่เตรียมด้วย ชุดชั้นในและหมวกไม่ต้องทายากันยุ
การเลือกพื้นที่ฝึก
ต้องเลือกฟื้นที่ที่มีโอกาสการติดเชื้อต่ำ ข้อที่ควรจะพิจารณาได้แก่
- ไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ยุง ไม่มีแหล่งน้ำที่ยุงชอบวางไข่
- ทิศทางของลม ควรเลือกทิศทางที่ลมพัดจากที่ฝึกไปที่แหล่งเพาะพันธ์ของยุง
- บริเวณดังกล่าวมีการติดต่อของโรคอะไรบ้าง ควรจะตั้งห่างจากที่มีคนป่วย 2-3 กิโลเมตร(ระยะทางที่ยุงจะบินได้)
- ระยะเวลาที่ต้องฝึก หากต้องอยู่นานอาจจะต้องปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณยุง สิ่งปลูกสร้างก็เลือกชนิดที่สามารถกันยุงได้ดี
นอกจากนั้นจะต้องมีการป้องกันเจ้าหน้าที่เพื่อมิให้ถูกยุงกัดได้แก่
- กำหนดเวลาอาบน้ำเช่นตอนเช้ามือหรือตอนค่ำ เนื่องจากยุงจะกัดมากช่วงเวลาดังกล่าว
- เปลี่ยนแปลงเวลาทำงานเพื่อลดการถูกยุงกัด
- เลือกอุปกรณ์ก่อสร้างเพื่อป้องกันยุง
การควบคุมยุง
การควบคุมยุงประกอบไปด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอน คือการสำรวจ และการควบคุม
การสำรวจ
การสำรวจจะต้องสำรวจสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
- สำรวจแหล่งน้ำ ปริมาณลูกน้ำ และชนิดของลูกน้ำ เพื่อให้ทราบมียุงที่เป็นพาหะของโรคมากน้อยแค่ไหน
- สำรวจชนิดของยุง ซึ่งสามารถทำได้ไม่ยากทำให้ทราบปริมาณยุงที่เป็นพาหะของโรค หากไม่มียุงที่เป็นพาหะโอกาสการติดเชื้อก็จะน้อย
- อัตราการกัดของยุง โดยการสำรวจปริมาณชนิดของยุงที่กัดผิวหนังในระยะเวลาหนึ่งเพื่อทราบปริมาณความชุกของยุง
- สำรวจแหล่งที่ยุงพัก ซึ่งยุงก้นปล่องมักจะพักในเวลากลางวัน ที่มือ และชื้น
การกำจักยุงทำได้ 3 วิธี
- โดยการใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis israelensis ฆ่ายุ
- โดยการกำจัดแหล่งน้ำ เช่นการกำจัดขยะ วัชพืช เพิ่มปริมาณไหลเวียนของน้ำ
- การใช้ยาฆ่าแมลง
วงจรชีวิต >แหล่งระบาด >ลักษณะทางคลินิก >การวินิจฉัย >การรักษา >โรคแทรกซ้อน >การป้องกัน