ความเครียดที่เกิดจากการสูญเสีย
Post
traumatic stress disorder (PTSD)
เมื่อเหตุการณ์ใดที่ทำให้เกิดการสูญเสียหรือการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย
เช่นน้ำท่วมบ้าน ไฟไหม้บ้าน
แผ่นดินไหว อุบัติเหตุ
การสูญเสียคนหรือสิ่งอันเป็นที่รัก
บางคนถูกข่มขืน
ภาวะเครียดหรือภาวะกดดันจะเกิดทันทีอย่างมากมาย
ผู้ที่ได้รับประสบการณ์ดังกล่าวอาจจะปัญหาเรื่องงานและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
สำหรับเด็กก็อาจจะเกิดปัญหาเรื่องการเรียน
การแยกตัวการตอบสนองทางอารมณ์เมื่อเกิดความสูญเสีย
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้การตอบสนองทางอารมณ์เมื่อเกิดการสูญเสีย
สิ่งแรกที่จะเกิดการช็อก และการปฏิเสธความจริงทั้งสองอย่างดังกล่าว เป็นการตอบสนองปกติของร่างกายเพื่อป้องกันตัวเอง
ภาวะช็อกเป็นภาวะที่ผู้ป่วยมักจะเล่าให้แพทย์ฟังผู้ป่วยจะมีอาการเป็นลม
มึนงงไม่รับสภาพ
หรือร้องไหม้อย่างมาก
ส่วนการปฏิเสธคือการไม่ยอมรับความจริงว่าเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้วและไม่ยอมรับผลที่จะเกิดตามมาหลังจากภาวะช็อก และปฏิเสธผ่านไปผู้ป่วยก็อาจจะมีอาการอื่นตามมาซึ่งไม่เหมือนกันในแต่ละคน
- มักจะเกิดความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ
- มักจะฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
- มักจะเกิดอาการกลังหรือตกใจเหมือนเหตุการณ์เพิ่งจะเกิดขึ้น
- ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการหวาดกลัวเกิดขึ้นเหมือนตอนเกิดเหตุการณ์หากมีสิ่งที่คล้ายเคียงกันกระตุ้น
เช่นเสียงรถพยาบาล
เห็นรถตำรวจ ฯลฯ
- ผู้ป่วยอาจจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
โกรธง่าย หงุดหงิด
- ผู้ป่วยบางคนจะจำเหตุการณ์นั้นฝังใจทำให้ใจสั่นเหงื่อออก
ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารหรือนอนหลับ
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอาการของโรคอาจจะแย่ลงเมื่อมีภาวะเครียดกระตุ้น
ผู้ป่วยมักจะหลีกเลี่ยงความทรงจำที่ทำร้ายจิตใจผู้ป่วย
โดยมีพฤติกรรมที่แสดงออกดังนี้
- พยายามหลีกเลี่ยงความคิดหรือความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
- พยายามหลีกเลี่ยงของหรือสถานที่เกิดเหตุ
- จำเหตุการณ์ที่สำคัญในขณะเกิดเหตุไม่ได้
- มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
เช่นคนในครอบครัว
เพื่อร่วมงาน
ผู้ป่วยอาจจะชอบเก็บตัว
หากปล่อยไว้นานๆก็จะเกิดอาการนอนไม่หลับ ตื่นง่าย โกรธง่าย
หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ
การตอบสนองทางอารมณ์ต่อความสูญเสียของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร
บางคนอาจจะตอบสนองอย่างทันทีและรุนแรงหลังจากนั้นก็เป็นปกติ
แต่บางคนอาการอาจจะเกิดหลังจากเหตุการณ์ผ่านไปเป็นเดือนหรือเป็นปี
นอกจากนั้นอาการที่เกิดก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเครียดได้แก่
- ความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิด
หากเหตุการณ์รุนแรงมากก็ต้องใช้เวลามาก
- ความสามารถของแต่ละคนที่จะแก้ไขปัญหา
- สภาพจิตใจและสุขภาพก่อนเกิดเหตุการณ์หากเช่นมีปัญหาเรื่องจิตใจหรือโรคทำให้ต้องใช้เวลานานในการฟื้นคืน
การช่วยตัวเองและครอบครัว
หลังเหตุการณ์ผ่านไปท่านมีหลายวิธีที่จะทำให้ความเครียดลดน้อยลงดังนี้
- ให้เวลากับตัวเองในการปรับตัวและลืมเหตุการณ์ดังกล่าว
- ท่านต้องหาคนที่เข้าใจและสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับท่านได้ แต่ต้องไม่ใช่คนที่สูญเสียเหมือนกับท่านเพราะอาจจะทำให้เหตุการณ์แย่ลงอีก
ท่านอาจจะจดลงในสมุดบันทึกประจำวันหรือพูดกับเพื่อน
- หากลุ่มที่มีประสบการณ์ช่วยเหลือ
เช่นกลุ่มที่ช่วยผู้ประสบภัย
กลุ่มช่วยหญิงที่ถูกข่มขืน
กลุ่มเหล่าจะให้คำปรึกษาถึงการดำรงชีพ
- ให้ผักผ่อนให้พอเพียงหากนอนไม่หลับควรปรึกษาแพทย์
รับประทานอาหารที่มีคุณภาพหลีกเลี่ยงสุรา
บุหรี่
- รับประทานอาหารให้เป็นเวลา
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
หางานอดิเรกที่ชอบทำ
- หลีกเลี่ยงการตัดสินใจสำคัญหรือกิจการที่ทำให้เกิดความเครียดมาก
หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์
- ฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
หรือเบื่ออาหาร
- มีความวิตกหรือกลัวโดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์ชวนให้นึกถึงอดีต
- หงุดหงิดและตื่นเต้นง่าย
โกรธง่าย
- ซึมเศร้าหรืออ่อนเพลียท้อถอย
- ความจำเสื่อมลง
- ความคิดสับสน
ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจไม่ดี
- แยกตัวไม่สังคมกับคนอื่น
- ร้องไห้ไม่มีเหตุผล
รู้สึกชีวิตสิ้นหวัง
- ไม่กล้าเผชิญหน้ากับคนหรือสถานที่เกิดเหตุการณ์
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเองแต่ถ้าหากไม่สามารถทำได้มีความวิตกกังวลสูง
รบกวนคุณภาพชีวิตของตัวเอง
ต้องปรึกษาแพทย์หรือนักจิตเพื่อแก้ปัญหา
กลับหน้าเดิม