ความปลอดภัยในสนามเด็กเล่น
ปีหนึ่งๆจะพบว่า เด็กได้รับอุบัติเหตุจากสนามเด็กเล่นมากกว่าอุบัติเหตุที่เกิดจากการขี่จักรยานเสียอีก โดยพบว่าเด็กได้รับอุบัติเหตุจากสนามเด็กเล่นร้อยละ 36 ได้รับอุบัติเหตุจากจักรยานร้อยละ 19 และได้รับอุบัติเหติจากจราจรร้อยละ 11 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอุบัติเหตุมีดังนี้
- ตำแหน่งที่ได้รับอุบัติเหตุเรียงจากมากไปหาน้อยคือ แขนขา มือ นิ้วมือ นิ้วเท้า ศีรษะ คอ หน้าอก ท้อง
- โดยมากเป็นกระดูกหักและข้อเคลื่อน
- อายุที่พบบ่อยคือ 5-9 ปี
- เวลาที่เกิดคือเวลากลางวัน
อุปกรณ์ที่พบว่าเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยคือ บาร์ห้อยโหนโดยที่ผู้ดูแลก็อยู่ที่เกิดเหตุและมักจะคิดว่าสนามเด็กเล่นนั้นปลอดภัยและอยู่ห่างจากเด็กมากเกินไป ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุคือ
- ความสูงของอุปกรณ์หากพบว่าสูงกว่า 1.5 เมตรจะเกิดอุบัติที่รุนแรงได้
- พื้น หากพื้นเป็นของแข็งจะเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรง พื้นควรจะปูด้วยฟาง หินกรวด ทราย หนา 12 นิ้วสำหรับอุปกรณ์ที่สูงกว่า 8 ฟุต
วิธีป้องกันอุบัติเหตุระหว่างที่เด็กเล่นในสนามเด็กเล่น
- ให้ดูแลเด็กโดยใกล้ชิดร้อยละ 40 ของอุบัติเหตุเกิดจากผู้ดูแลไม่ได้ดูแลโดยใกล้ชิดผู้ดูแลควรจะตรวจอุปกรณ์ว่ามีความสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่มีสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อเด็กหรือไม่ และดูแลเด็กโดยใกล้ชิด
- เลือกของเล่นให้เหมาะกับอายุของเด็กอุปกรณ์แต่ละชนิดเหมาะสำหรับเด็กแต่ละวัย สถานที่เล่นแต่ละแห่งก็เหมาะสำหรับเด็กแต่ละวัยเพราะฉะนั้นต้องเลือกให้เหมาะสม
- สำรวจของเล่นและบริเวณโดยรอบว่าปลอดภัยเริ่มด้วยการสำรวจรอบๆเช่นเศษแก้วเหล็กแหลม ขวด กระป๋องพื้นผิวว่าแข็งไปหรือไม่ สถานที่เล่นใกล้ถนนหรือไม่ มีรั้วกั้นหรือไม่ ตรวจอุปกรณ์ว่ามีการเสียหายหรือไม่สถานที่ควรจะอยู่ในร่มเพื่อป้องกันผิวไหม้จากแดด
ตรวจอุปกรณ์ของเล่นและพื้น
การตกจากที่สูงเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในสนามเด็กเล่นดังนั้นต้องตรวจพื้น พื้นที่ปลอดภัยควรทำจาก ทรายกรวด ฟาง ไม่ควรทำจากปูน ยางมะตอย โดยพื้นควรจะมีความหนา 12 นิ้วถ้าอุปกรณ์มีความสูง 8ฟุตนอกจากนั้นบริเวณที่คาดว่าเด็กจะตกต้องมีเบาะกันกระแทก
- บันไดปีนหรือบันไดโค้ง
- เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับอุบัติเหตุได้บ่อยสุด
- ให้ตรวจบันไดทุกขั้นว่าแข็งแรงดีหรือไม่
- ราวที่จับควรจะมีขนาดพอเหมาะกับมือของเด็ก
- ชิงช้า
- ชิงช้าควรจะแยกออกจากเครื่องเล่นอื่น
ที่รองนั่งไม่ควรเป็นโลหะหรือไม้
ควรที่นั่งที่นุ่ม
- ควรจะเป็น 2
สายต่อหนึ่งที่นั่ง
- ที่นั่งควรห่างกันอย่างน้อย
24
นิ้วและห่างจากเสาอย่างน้อย
30 นิ้ว
- พื้นที่ที่จะรองรับเวลาเด็กตกควรจะยาวเป็น
2 เท่าของความสูง เช่นสูง 5
ฟุตพื้นที่รองรับควรจะ 10
ฟุตหน้าและหลังและควรจะต่อไปอีก
6 ฟุต
- กระดานลื่น
- พื้นกระดานควรจะลื่นและมีที่จับ
และบันไดขึ้น
- บันไดขึ้นควรจะมีรูระบายน้ำเพื่อกันลื่น
- ไม่ควรจะมีรอยต่อระหว่างบันไดลื่นกับพื้นที่รอลื่นข้างบน
เพราะอาจจะเกี่ยวเสื้อผ้า
- ควรอยู่ในที่ร่มเพราะผิวอาจจะไหม้จากความร้อน
- ม้าโยก
- มือจับควรจะแข็งแรง ขนาดพอกับมือเด็ก
- ใต้ม้าโยกควรจะมีเบาะกันกระแทก
- ม้าหมุน
- ม้าหมุนควรจะมีแกนยึดกับพื้นอย่างแข็งแรงและมีมือจับสำหรับเด็ก
- ไม่ควรให้เด็กเข้าไปใต้ม้าหมุน
- ควรจะมีอุปกรณ์ที่จะไม่ให้หมุนเร็วเกินไป
ผู้ที่เข้าไปเล่นต้องรักษาของเล่นให้ดีเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม
ปิดประตูทุกครั้งที่เข้าหรือออกจากสนามเด็กเล่น
หากพบสิ่งทีบกพร่องต้องบอกผู้ดูและและแก้ไขทันที