โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์ การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์  |  โรคเบาหวานกับคุณสุภาพสตรี

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หมายถึงภาวะที่น้ำตาลในเลือดึ้นสูงขณะตั้งครรภ์ มักจะเกิดในขณะตั้งครรภ์ 24-28 สัปดาห์เมื่อคลอดบุตรแล้วน้ำตาลในเลือกจะกลับสู่ปกติ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในรายที่เป็นไม่มากจะให้การรักษาโดยการคุมอาหารและออกกำลังกาย แต่ในรายที่เป็นมากต้องใช้ยารักษาคนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ความดันโลหิตสูง อาจเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอด ซึ่งหญิงที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในอนาคต 8.4% (ใน 8 ปี) เมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เป็นเบาหวาน สาเหตุไม่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าเกิดจากรก [placenta] สร้างฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตของทารก ฮอร์โมนนี้ทำให้ความไวต่ออินซูลินลดลง เกิด ภาวะ insulin resistant ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น เมื่อคลอดแล้วระดับน้ำตาลจะลดลง

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ทำให้เกิดปัญหาอะไรบ้าง

อินซูลินที่มีมากในมารดาไม่สามารถผ่านรกไปสู่ทารกได้ แต่น้ำตาลและสารอาหารจำนวนจากผ่านจากแม่ไปสู่ทารกทำให้ตับอ่อนของทารก ต้องสร้างอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาล ผลคือทารกจะอ้วน [macrosomia] ซึ่งอาจทำให้เด็กคลอดยาก และอาจมีบาดเจ็บต่อไหล่ หลังคลอดอาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำเนื่องจากอินซูลินในเลือดสูง เด็กบางรายอาจมีปัญหาระบบหายใจ เด็กกลุ่มนี้โตขึ้นจะมีแนวโน้มเป็นเบาหวาน สำหรับมารดาก็เกิดความดันโลหิตสูงได้ง่ายโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดได้แก่

เด็กตัวโต

เด็กมีขนาดตัวโต

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงซึ่งจะทำให้เด็กได้รับพลังงานมากเกินไปทำให้เด็กตัวโต ทำให้คุณแม่รู้สึกอึกอัด

นื่องจากเด็กตัวโตอาจจะมีปัญหาในการคลอดทำให้ต้องผ่าทำคลอดและระหว่างคลอดอาจจะมีความเสียหายต่อเส้นประสาท หากสามารถควบคุมน้ำตาลได้ดี ขนาดเด็กก็จะไม่โต

การผ่าตัดทำคลอด

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีจะมีแนวโน้มที่จะผ่าตัดทำคลอด นอกจากนั้นเด็กที่เกิดจากผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักมากทำให้คลอดด้วยวิธีปกติไม่ได้ แม่ที่คลอดด้วยวิธีผ่าตัดจะใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าคนโดยธรรมชาติ

ความดันโลหิตสูง

ผู้ปาวยเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูง หากควบคุมไม่ดีก็จะเกิดปัญหาเรื่องครรภ์เป็นพิษซึ่งเกิดอันตรายต่อแม่และทารก

น้ำตาลในเลือดต่ำ

หญิงคนไหนเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต่ำ

หญิงมีภาวะดังต่อไปนี้ไม่ต้องคัดกรองในขณะตั้งครรภ์

  • อายุน้อยกว่า 25ปี
  • น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ปกติ
  • ไม่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
  • ไม่มีประวัติคลอดบุตรผิดปกติ
  • ไม่เป็น impair fasting glucose

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องตรวจน้ำตาลขณะตั้งครรภ์

 

หญิงคนไหนเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารถเกิดได้กับคนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อคลอดแล้วเบาหวานก็จะหายไป ผู้ที่ตั้งครรภ์และมีลักษณะดังต่อไปนี้ควรจะได้รับการทดสอบน้ำตาล หากการทดสอบให้ผลลบควรจะตรวจซ้ำอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์ 24-48 สัปดาห์

  • อายุมากกว่า 25 ปี
  • มีน้ำหนักเกินก่อนตั้งครรภ์ดัชนีมวลกายมากกว่า 30
  • อายุในขณะตั้งครรภ์มากกว่า25ปี
  • มีประวัติญาติสายตรงป็นโรคเบาหวาน
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
  • ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
  • เคยคลอดเด็กที่มีน้ำหนักมาก 4.5 Kg
  • เคยคลอดเด็กที่เสียชีวิตในครรภ์
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • อยู่ในภาวะน้ำตาลเกิน

หญิงกลุ่มนี้ควรตรวจหาน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ตั้งครรภ์ประมาณ 6 เดือน

หญิงเหล่านี้ควรจะได้ข้อมูล

ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มากได้แก่

ปัจจัยเสี่ยง การตรวจคัดกรอง
  • อ้วนมากดัชนีมวลกายมากกว่า 30
  • ประวัติเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • คลอดเด็กน้ำหนักมากกว่า 4.5 Kg
  • ตรวจปัสสาวะพบน้ำตาล
  • มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน

การคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสตรีที่มารับการฝากครรภ์

  1. การคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีทุกรายที่มาฝากครรภ์สามารถทำได้ โดยแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองที่อายุครรภ์ 24 – 28 สัปดาห์ (universal screening) หรือ
  2. การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในกลุ่มสตรีที่มาฝากครรภ์ ตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ารับการฝากครรภ์

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำได้แก่ :

  • ไม่มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
  • อายุน้อยกว่า 25ปี
  • น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • น้ำหนักแรกคลอด อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ไม่มีประวัติการเผาผลาญกลูโคสผิดปกติ
  • ไม่มีประวัติ Poor Obstetrical outcome

การจัดการ

ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองทุกราย หากมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ครบทุกข้อ

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ :

  • อ้วนมาก
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • มีน้ำตาลในปัสสาวะ
  • ญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
  • ภาวะ Impaired glucose metabolism

การจัดการ

แนะนำให้คัดกรองเร็วที่สุด หากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตั้งแต่1ข้อขึ้นไป และหากไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ให้คัดกรองซ้ำอีกครั้ง ที่อายุครรภ์ 24 – 28 สัปดาห

การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์จะต้องคัดกรองกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานเพื่อทำการเจาะเลือด หรือการทดสอบความทดต่อกลูโคส การตรวจวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์

อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีผลอย่างไรกับทารกและมารดา

กลุ่มเสี่ยงควรตรวจน้ำตาลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์และมีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานควรจะตรวจน้ำตาลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กลุ่มดังกล่าวได้แก่

  • ถ้าคุณอ้วน น้ำหนักเกิน
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีไขมันดี (HDL)ในเลือดต่ำ
  • มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง
  • มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • มีภาวะดื้ออินซูลิน
  • คลอดบุตรตัวโต

กลุ่มดังกล่าวจะต้องเจาะเลือดทันทีเพื่อประเมินว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

การติดตามโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

หลังจากคลอดแล้วจะเป็นเบาหวานจะหายหรือไม่

หลังคลอดบุตรเบาหวานจะหายไป หากตั้งครรภ์อีกโอกาสจะเป็นเบาหวาน 2/3 หลังคลอด 6 สัปดาห์ควรเจาะหาระดับน้ำตาล ถ้าปกติให้เจาะเลือดทุก 3 ปี เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่สอง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต

 

 

 

   

โรคเบาหวานและสุภาพสตรี

โรคเบาหวานกับการตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ | โรคเบาหวานกับคุณสุภาพสตรี | การตรวจวินิจฉัยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การเตรียมตัวตั้งครรภ์ | อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | โรคแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | การป้องกันเบาหวานขณะตั้งครรภ์


หลักการรักษา

การควบคุมอาหาร | การออกกำลังกาย | การรักษาเบาหวานด้วยยา | การใช้อินซูลิน | การประเมินการรักษา | โรคเบาหวานกับสุภาพสตรี | โรคเบาหวานและการท่องเที่ยว | การดูแลเมื่อเวลาป่วย | เบาหวานกับเอสไพริน | การดูแลในช่องปาก | การดูแลผิวหนัง