ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการอะไรบ้าง
หลังที่มีการระบาดของไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากทุกทวีป และประเทศที่มีการระบาดมาประชุม เพื่อจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และได้ปรับปรุงแนวทางการรักษาไว้ดังนี้
ข้อมูลทั่วๆไป
- จากการระบาดที่ผ่านมาพบว่าเด็กและวัยรุ่นจะมีการติดเชื้อสูงสุด
- ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยจนกระทั่งเสียชีวิต
- อาการที่พบได้บ่อยได้แก่ ไอ มีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว
- ผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งอาจจะมีอาการทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องร่วง
- ประมาณร้อยละ10-30 ที่รับตัวไว้ในโรงพยาบาลต้องรับตัวไว้ในไอซียูเนื่องจากมีอาการหนัก
- โรคที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยทรุดลงได้แก่
- ปวดบวมจากการติดเชื้อไวรัสและเกิดภาวะหายใจวายเนื่องจากภาวะ acute respiratory distress syndrome (ARDS)
- ผู้ป่วยอาจจะมีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตต่ำจนกระทั่งช็อค ไตวาย ตับวาย หรืออาจจะมีอวัยวะทำงานน้อยหลายๆระบบ เนื้อสมองอักเสบ หัวใจอักเสบ
- อาจจะทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยกำเริบ เช่น โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้โรคไข้หวัดใหญ่มีอาการรุนแรง
- เด็กเล็กโดยเฉพาะอายุต่ำกว่าสองขวบ
- หญิงตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยที่มีโรคปอด เช่น โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
- ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่นโรคไต โรคตับ โรคระบบประสาท โรคเลือด โรคมะเร็ง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- เด็กที่ได้รับยา aspirin
- ผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี
- คนอ้วน
ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รับไว้จะมีความเสี่ยงอย่างน้อยหนึ่งข้อ แต่ก็มีประมาณหนึ่งในสามเป็นคนแข็งแรงปกติที่มีอาการรุนแรง
ผู้ป่วยไข้หวัดสายพันธ์ใหม่แบ่งออกเป็น
- ผู้ป่วยสายพันธ์ใหม่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน กลุ่มนี้มีอาการ
- เหมือนไข้หวัดใหญ่ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว แสบคอ น้ำมูกไหล ครั่นเนื้อครั่นตัว แต่จะไม่มีอาการเหนื่อยหรือหายใจไม่พอ
- บางคนอาจจะมีอาการทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือถ่ายเหลวโดยเฉพาะในเด็ก
- ผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อน หรือมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ
- ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการของโรคที่รุ่นแรง เช่น ระบบหายใจ จะมีอาการแน่หน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อหรือแม้กระทั่งริมฝีปากเขียว ตรวจรังสีทรวงอกพบปอดบวม อาการทางระบบประสาทจะซึมลง อาการของอวัยวะล้มเหลว เช่นไตวาย ช็อค หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
- โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ทำให้โรคประจำตัวกำเริบ เช่น หอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคตับ โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน กำเริบได้เป็นต้น
- มีอาการของโรคหลายระบบว่าโรคทรุดลง
อาการและอาการของโรคที่แสดงว่าโรคมีการเปลี่ยนแปลงที่แย่ลง
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนอาจจะมีการดำเนินของโรคเร็วจนตั้งตัวไม่ติด อาการอาจจะเปลี่ยนเป็นหนักภายในหนึ่งวัน อาการดังต่อไปนี้จะเป็นอาการที่บ่งว่าผู้ป่วยจะมีอาการหนัก ซึ่งผู้ที่ดูแลจะต้องเฝ้ามองอย่างใกล้ชิด(หากมีอาการเหล่านี้ต้องส่งโรงพยาบาลอย่างรีบด่วน)
- อาการของการที่ร่างกายขาดออกซิเจน หรือหัวใจทำงานล้มเหลว
- หายใจเร็ว เหนื่อ หายใจไม่ทัน ไอเสมหะปนเลือด แน่นหน้าอก ริมฝีปากเขียว ความดันโลหิตต่ำ
- สำหรับเด็กจะมีอาการหายใจเร็ว และหายใจลำบาก
- ตรวจเลือดพบว่าออกซิเจนต่ำ
- อาการและอาการแสดงของโรคแทรกซ้อนที่เกิดในระบบประสาท
- ซึมลง ปลุกไม่ตื่น ไม่รู้สึกตัว มีอาการชัก สับสน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีหลักฐานว่าเชื้อยังแบ่งตัวหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไข้เป็นมากกว่า 3 วันและยังคงมีอาการอื่นๆ หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
- มีอาการขาดน้ำ เช่น ซึม มึนงง ปัสสาวะออกน้อย
การป้องกันการติดเชื้อ
จากการระบาดที่ผ่านทำให้ทราบว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์นี้เหมือนกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ การควบคุมการแพ่ระบาดจะต้องระวังช่วงที่มีไข้โดยการปฏิบัติตามนี้ สำหรับการพ่นยาขยายหลอดลม หรือการส่องกล้องจะต้องทำในห้องที่มีการควคุมการติดเชื้อ และสวมหน้ากากชนิด N95
จะต้องแยกผู้ป่วยนานเท่าไร
โดยทั่วไปประมาณ7วันนับจากมีอาการ หรือหนึ่งวันหลังไข้ลง
การตรวจวินิจฉัยโรค
การเจาะเลือดตรวจวินิจฉัยโรคจะทำได้สองกรณีคือ
- เมื่อเริ่มต้นของการระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่
- เพื่อวินิจฉัยในกรณีที่อาการของโรคไม่ชัดเจน
ทั้งนี้เพื่อการวินิจฉัยว่าเกิดการระบาดได้เร็วขึ้น และให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว เมื่อทราบว่ามีการระบาดแล้ว ผู้ป่วยที่มีอาการเหมือนไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนให้อยู่ที่บ้านและเฝ้าดูว่ามีอาการแทรกซ้อน หรือถายใน 72 ชมหลังเกิดอาการ เมื่อเกิดการระบาดจะเจาะเลือดเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน
การรักษา
- โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ส่วนใหญ่เป็นแล้วหายเอง การรักษาเพียงให้ยาลดไข้ ให้สารน้ำอย่างเพียงพอ ไม่ควรให้ยาลดไข้กลุ่ม aspirin ในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี
- เมื่อมีผู้ป่วยจะต้องประเมินว่าผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวหรือไม่
- จะต้องเฝ้าติดตามดูว่าโรคลุกลามหรือไม่ โดยติดตามอาการดังกล่าวข้างต้น
แนวทางการให้ยารักษา
- ให้ยาต้านไวรัส oseltamivir แก่ผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว โดยให้ยาอย่างเร็วที่สุด
- ให้ยากับผู้ป่วยทุกท่าน และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ที่มีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง
- สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา oseltamivir หากอาการไม่ดีขึ้นควรจะไดรับยา oseltamivir เป็นขนาด 150 มิลิกรัม และให้ยานานขึ้น
- ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่เป็นไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ก็ควรจะได้รับยาต้านไวรัสให้เร็วที่สุด แม้ว่าจะมีอาการไม่มาก
- ผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และมีอาการไม่มากไม่จำเป็นต้องได้รับตาต้านไวรัส
การให้ยาควรจะให้ให้เร็วที่สุดเพราะผลการรักษาจะดีกว่าการให้ยาช้า สำหรับแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ยังสามารถให้นมลูกต่อได้ สำหรับผู้ป่วยที่ได้ยาไปแล้วห้าวัน และอาการยังไม่ดีขึ้นก็สงสัยว่าเชื้อจะมีการดื้อยา