การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
เมื่อประชาชนเจ็บป่วยย่อมเป็นหน้าที่ของแพทย์ พยาบาลและโรงพยาบาลในการดูแล และรักษา ในระยะเริ่มต้นของการระบาด แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยทุกรายที่สงสัยว่าจะเป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุ และติดตามผู้สัมผัสโรคมากักกัน และให้ยาเพื่อป้องกันโรค ในการดูแลผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ แต่เมื่อโรคระบาดมากจนกระทั่งควบคุมไม่อยู่ จะมีผู้ป่วยจำนวนมากมาตรวจที่ผู้ป่วยนอก และมีจำนวนเตียงไม่พอที่จะรับผู้ป่วยไว้ดูแล ซึ่งจะก่อปัญหาให้กับผู้ป่วย และญาติซึ่งมีส2-3ประเด็นคือ
- ไม่รู้ว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างไร ต้องติดตามอะไร เมื่อไรจึงจะต้องพามาโรงพยาบาล หากมาเร็วแพทย์ก็ต่อว่า หากมาช้าก็ว่าสายไป
- เรื่องการป้องกันโรคติดต่อว่าจะมีวิธีการอย่างไรที่จะป้องกันสมาชิกในครอบครัวมิให้ติดโรครวมทั้งชุมชนด้วย ซึ่งประเด็นนี้คลิกอ่านที่นี่
- เรื่องคนที่จะมาดูแลผู้ป่วย ซึ่งปัญหานี้จะต้องแก้ไขกันเอาเอง
สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่อท่านจะต้องเตรียมสถานที่และอุปกรดังนี้
- ห้องสำหรับผู้ป่วยนอน หากให้ดีควรจะมีห้องน้ำในตัว และควรจะเป็นห้องที่ไม่ค่อยมีคนเดินผ่าน ควรเป็นห้องที่โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
- หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ป่วยสวมเมื่อเวลาออกนอกห้อง
- สบู่หรือแอลกอฮอล์เหลวสำหรับล้างมือเมื่อไอ จาม หรือกำลังจะออกนอกห้อง
- ปรอทวัดไข้
- ผ้าสำหรับเช็ดตัวลดไข้
- สมุดสำหรับจดบันทึกอุณหภูมิ ชีพขจร การหายใจ
- น้ำยาเช็ดพื้น
- กระดาษทิสชู่
- ที่ทิ้งขยะและมีถุงสำหรับมัด
ขั้นตอนการดูแล
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคเบาหวาน
- คนท้อง
- คนที่มีอายุมากกว่า 65ปี
- เด็กเล็กหรือทารก
- ผู้ป่วยโรคเอดส์
- ผู้ที่พักในสถาพเลี้ยงคนชรา
- เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
- เจ้าหน้าที่ที่ดูลแลผู้สูงอายุหรือดูแลคนป่วย
|
สำหรับท่านที่มีไข้และอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ ต้องแน่ใจว่าไม่ใช่ไข้จากสาเหตุอื่นที่รักษาได้ เช่นลำไส้อักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ไข้เลือดออก มาลาเรีย หรือปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย หรือการติดเชื้ออื่นๆ ทั้งนี้จะอาศัยประวัติละการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ โดยประวัติต้องเข้าได้กับอาการของไข้หวัดใหญ่ และไม่มีอาการอื่นๆ
เมื่ออาการบ่งชี้ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ ่ท่านจะต้องประเมินว่าท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนหรือไม่ หากท่านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน ท่านควรจะไปพบแพทย์เพื่อดูแลรักษา
หากท่านไม่ใช้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และอาการของท่านไม่มาก ท่านสามารถดูแลตัวเองที่บ้านโดย
- วัดความดันโลหิตวันละ4 ครั้ง
- วัดอุณหภูมิวันละ 4 ครั้ง
- จับชีพขจรวันละสี่ครั้ง
- นับการหายใจวันละสี่ครั้ง
- ดูสภาพทั่วๆไป ทุกครั้งที่เข้าไปดูแลต้องสังเกตสิ่งต่างๆข้างล่าง และหากพบว่าผิดปกติก็แจ้งแพทย์
- ดูว่ายังมีสติพูดคุยรู้เรื่องหรือไม่ หากสับสน หรือซึม หรือชักท่านต้องรีบพาไปโรงพยาบาล
- การหายใจว่าเหนื่อยหรือจมูกบานหรือไม่ หากมีอาการเหนื่อยหรือหายใจไม่พอ แสดงว่าอาจจะเกิดปอดบวม
- ดูสีผิวว่ายังแดงหรือไม่ หากริมฝีมากมีสีม่วงๆร่วมกับการที่หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ท่านจะต้องรีบพาไปโรงพยาบาล
- เดินไปมาหรือขึ้นบันไดโดยไม่หอบ หากเดินเล็กน้อยก็เหนื่อย หรือเดินไม่ค่อยไหว ท่านต้องรีบไปโรงพยาบาล
- รับประทานอาหารได้มากน้อยแค่ไหน หากรับประทานอาหารแข็งไม่ได้อาจจะรับเป็นโจ๊กหรือน้ำซุป
- ปัสสาวะวันละกี่ครั้ง หากปัสสาวะน้อยแสดงว่าร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชย
- อาเจียนหรือถ่ายเหลวจะรับประทานอาหารได้หรือไม่
- หากพบว่าไข้เกิน 38.5 ก็ให้น้ำผ้าชุมน้ำธรรมดามาเช็ดบริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และหลัง และให้รับประทานยาลดไข้ตามแพทย์สั่ง หากไข้เกิน40 แม้ว่าจะได้ยาลดไข้ไปแล้วก็ควรไปพบแพทย์
- ไข้จะเริ่มลดประมาณวันที่สามของโรค
- อาการปวดศีรษะ หรืปวดกล้ามเนื้อน่าจะดีขึ้นในวันที่สองของไข้
- ส่วนอาการไอและน้ำมูกไหลจะดีขึ้นหลังมีไข้สามสี่วัน
หากท่านที่วัดสัญญาณชีพเป็นและพบว่าชีพขจรเร็วขึ้น การหายใจเร็วขึ้นและหายใจลำบาก หรือความดันโลหิตลดลง ท่านต้องรีบติดต่อแพทย์ที่ดูแลท่าน
ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดมรณะ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่009