หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

ข้อเท้าแพลงหรือข้อพลิก

ข้อเท้าของคนเราประกอบด้วยกระดูหลายชิ้น โดยมีเอ็นที่ข้อเท้าเป็นตัวยึดกระดูกเอ็นที่ยึดมีความแข็งแรงพอควร เอ็นที่ยึดข้อเท้าที่สำคัญ และพบปัญหามากคือด้านข้างตาตุ่มด้านนอก ส่วนเอ็นตาตุ่มด้านในพบไม่บ่อย ข้อเท้าพลิก หรือ ข้อเท้าแพลงเป็นปัญหาที่พบบ่อยในนักกีฬาประเภทต่างๆ เช่นนักวิ่ง ฟุตบอล ยิมนัสติก เป็นต้น คนที่ไม่ได้เป็นนักกีฬาก็สามารถพบได้บ่อย ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่นใส่ส้นสูงเกิดเท้าพลิก ตกบันได อุบัติเหตุรถยนต์

เท้าแพลงเกิดจากเอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้าได้รับการฉีกขาด อาจจะเป็นเพียงบางส่วนแต่ในรายที่รุนแรงเอ็นอาจจะฉีกทั้งเส้น ทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคงซึ่งในระยะยาวกระดูกอ่อนและกระดูกข้อเท้าจะได้รับความเสียหาย ข้อเท้าพลิกส่วนใหญ่ไม่รุนแรงสามารถให้การดูแลที่บ้านโดยการประคบน้ำแข็งและการพัก หากมีอาการบวมมาก หรือปวดเวลาลงน้ำหนักให้ปรึกษาแพทย์

อาการและอาการแสดงของข้อเท้าพลิก

อาการของข้อเท้าพลิก ส่วนมากมักบวมแดง อาจมีอาการปวดร่วมด้วย แต่ถ้าหากถึงขั้นที่ผู้ป่วยไม่สามารถลงน้ำหนักตัวได้ อาจเป็นไปได้ว่าระยะอาการอยู่ในขั้นที่สามคือเส้นเอ็นฉีกขาดทั้งหมด หรืออาจกระดูกหักร่วมด้วย ไม่แนะนำให้เดิน แต่ควรอยู่นิ่งๆ จะดีที่สุด

อาการและอาการแสดงขึ้นกับความรุนแรงของอุบัติเหตุ

หากมีอาการรุนแรงให้ปรึกษาแพทย์ เช่น


ความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บ

วิธีการรักษา ระยะเวลาการหายบาดเจ็บขึ้นกับความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บ

แบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับได้แก่


สาเหตุของข้อเท้าพลิก

ในปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ  เป็นต้น อุบัติเหตุจากการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะกับขนาดเท้า โดยสำหรับคุณผู้หญิงที่ใช้รองเท้าส้นสูง จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ข้อเท้าพลิกขณะสวมใส่ทำกิจกรรมได้


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดข้อเท้าแพลง


การดูแลรักษาที่บ้าน

สำหรับในรายที่เป็นไม่มากให้ดูแลตัวเองดังนี้โดยอาศัยหลัก The RICE protocol โดยทำทันทีที่ได้รับอุบัติเหตุ

การรับประทานยากลุ่ม NSAIDs เช่นยา ibuprofen หรือ naproxen ซึ่งจะลดอาการปวดและอาการบวม

เมื่อเราได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ โดยแนวทางการรักษาทางการแพทย์มีดังนี้
1. ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณที่มีอาการปวด
2. พิจารณาตรวจทางรังสีเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกหัก
3. โดยทั่วไปจะใช้เวลารักษา 6-8 สัปดาห์ แต่ภาวะข้อเท้าบวมจะหายก่อน
4. พักเท้าให้มากที่สุด อาจจะใส่เผือก หรือใช้ผ้าพัน และอาจจะใช้ไม้เท้าช่วยพยุงน้ำหนัก
5. การประคบน้ำแข็งให้กระทำทันที่ที่ได้รับอุบัติเหตุซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบได้มาก
6. ใช้ผ้าพันหรือใส่เผือกเพื่อลดอาการบวม
7. ให้ยกเท้าสูงเพื่อลดอาการบวม


การวินิจฉัยและการรักษา