หน้าหลัก | สุขภาพดี
| สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
ตาปลา
ตาปลาคือผิวหนังซึ่งหนาตัวขึ้นมาเนื่องจากการกดทับ
มักจะเกิดตรงนิ้วเท้าเนื่องจากรองเท้าคับเกินไป แต่ก็อาจจะเกิดที่ฝ่าเท้า
อาการ
ตำแหน่งที่เกิดตาปลา |
- ปวด บวม แดงที่ตาปลา
- กดตาปลาจะทำให้ปวด
- เมื่อใส่รองเท้าที่แคบจะปวด
สาเหตุ
- ใส่รองเท้าแคบเกินไป
- นิ้วเท้าผิดรูป
- การยืนนาน
- คนอ้วนทำให้น้ำหนักเกิดการกดทับ
- การเดินที่ผิดท่า
- การผ่าตัด
- นิ้วหัวแม่เท้าผิดรูป
- ตะเข็บรองเท้า
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงถุงเท้าหรือรองเท้าที่แคบ
- ใช้หิดขัดผิวหนังที่หนา
- ทาครีมให้ความชุ่มชื้นที่เท้าวันละ
2 ครั้ง
- ห้ามตัดตาปลาด้วยตัวเอง
- เลือกรองเท้าที่มีแผ่นรองเท้าเพื่อลดแรงกดที่เท้า
- หากเป็นตาปลาที่เท้า ควรเลือกรองเท้าใส่ให้พอดีกับเท้า พื้นรองเท้าต้องนิ่มแต่ยืดหยุ่น ถุงเท้าที่ใส่ต้องมีความพอดี ไม่รัดแน่น หรือหลวมไปเช่นกัน
- ผู้ป่วยที่มีตาปลาอยู่ระหว่างง่ามนิ้วเท้า อาจใช้สำลีหรือฟองน้ำบุระหว่างง่ามนิ้วเท้า
- หากตาปลาอยู่ตรงฝ่าเท้าด้านหน้าใกล้ๆกับนิ้วเท้า อาจเสริมพื้นรองเท้าเหนือส่วนที่เกิดตาปลาเพื่อลดแรงกด
- หากเกิดจากมีเท้าผิดรูป หรือการลงน้ำหนักของเท้ามีความผิดปกติ อาจเลือกใช้รองเท้าที่ออกแบบเป็นพิเศษที่เหมาะสมกับความผิดปกติแต่ละชนิด
- ผู้ที่อ้วน ต้องลดน้ำหนัก
- ผู้ที่เป็นตาปลาที่มือ ควรใส่ถุงมือเวลาทำงาน
โรคข้อเท้าและเอ็น