a


Lifestyle เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อทำให้สามารถทำงานได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่

  1. การออกกำลังกายและการผักผ่อน Rest and exercise ต้องมีความสมดุลระหว่างการออกกำลังกายและการผักกล่าวคือเมื่อโรคกำเริบก็ให้ผัก เมื่อโรคสงบไม่มีอาการก็ให้ออกกำลังการ การผักเพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด และควรจะผักให้สั้นที่สุด การออกกำลังจะช่วยให้ข้อแข็งแรงมากขึ้น ลดการอักเสบ หลับได้ดีขึ้น

  2. การดูแลข้อ ช่วงที่ปวดอาจจะใส่ splint เพื่อลดอาการปวดและทำให้ข้อได้ผัก นอกจากนั้นอาจต้องใช้อุปกรณ์อื่นเพื่อช่วยผู้ป่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน แพทย์ทางกายภาพบำบัดจะแนะนำท่านในการจัดหาอุปการณ์ดังกล่าว

  3. การลดความเครียด เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังไม่หายผู้ป่วยมักจะหมดหวังกับชีวิต หมดกำลังใจในการทำกายภาพ แพทย์รวมทั้งญาติต้องให้กำลังใจผู้ป่วย และคอยดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

  4. อาหาร ยังไม่หลักฐานว่าอาหารจะช่วยในการรักษาแต่อย่างไรก็ตามต้องอย่าให้อ้วน อาหารควรมีแคลเซี่ยมเพียงพอ

  5. อากาศ ผู้ป่วยบางรายจะเกิดอาการกำเริบเมื่อพบกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันดังนั้นควรหลีกเลี่ยง



เนื่องจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะเป็นๆหายๆ บางครั้งผู้ป่วยก็ทราบล่วงหน้าว่าโรคจะกำเริบ แต่บางครั้งไม่ทราบทำให้เป็นปัญหาในการวางแผนชีวิต ช่วงที่เป็นปรกติผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทำงานได้อย่างมากเพื่อชดเชยช่วงที่ป่วยซึ่งจะกระตุ้นให้โรคกำเริบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องปรับการทำงานเพื่อมิให้โรคกำเริบ

การป้องกันโรคกำเริบ

หากผู้ป่วยสังเกตว่าโรคกำลังจะกำเริบให้พักผ่อนสักสองสามวัน อ่อนกำลังกายเล็กน้อยเพื่อป้องกันข้อติด และรับประทานยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบ ประคบร้อนหรือเย็นจะทำให้โรคหยุดการกำเริบ หากมีการกำเริบบ่อยก็ต้องปรึกษาแพทย์

การออกกำลังกาย

ความสมดุลของการออกกำลังกายและการพักผ่อนจะลดการกำเริบ การพักผ่อนจะลดการอักเสบของข้อและลดการปวด ในขณะการออกกำลังจะทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังเพิ่มขึ้น และลดการเกิดข้อติด การออกกำลังกาย

อาหารและโรครูมาตอยด์

ยังไม่มีหลักฐานว่ามีอาหารที่จะใช้รักษาโรครูมาตอยด์ แต่มีหลักฐานว่าอาหารบางประเภทอาจจะช่วยรักาาอาการ

  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากจะทำให้เกิดการกำเริบของโรค ดังนั้นควรจะหลีกเลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัว
  • น้ำมันปลาหากรับประทาน 1.5 กรับต่อสัปดาห์จะลดการอักเสบ
  • การรับประทานวิตามินซี

อาหารเสริมจะช่วยลดอาการได้หรือไม่

ยังไม่หลักฐานว่าอาหารเสริมจะรักษาโรคนี้ แต่พอจะมีข้อมูลว่าอาจจะช่วยบรรเทาโรคเช่น

  • น้ำมันปลา
  • evening primrose oil
  • borage seed
  • ฝังเข็ม
  • การนวด

Homeopathy ไม่สามารถลดอาการปวดจากโรครูมาตอยด์

การนอนหลับ

หากนอนไม่พออาจจะให้โรคกำเริบ

  • หากมีอาการปวดก็อาจจะอาบน้ำอุ่น หรือรับประทานยาแก้ปวดก่อนนอน
  • ตรวจสอบเตียงนอนต้องไม่นุ่มหรือแข็งเกินไป มีอาการปวดคอหรือไหล่หลังตื่นนอนหรือมไ่
  • งดดื่มชา กาแฟ สุรา หรือสูบบุหรี่ก่อนนอน
  • การออกกำลังสม่ำเสมอจะช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น

หากตื่นมาตอนเช้ามีอาการข้อยืดหรือเคลื่อนไหวลำบากให้ทำการยืดเส้นดังต่อไปนี้

นอนหงายและดึงเข่าข้างหนึ่งให้ชิดหน้าอกให้นับช้าๆถึงห้ และเปลี่ยนข้างให้ทำข้างละ 5 ครั้ง

นอนหงาย งอที่เข่าและเหยียดขาข้างหนึ่งดังรูป นับหนึ่งถึงห้าทำข้างละ 5 ครั้ง

นอนราบตั้งเข่าขึ้น และบิดเข่าไปด้านซ้ายและขวาให้ค้างไว้ 10 วินาทีต่อข้างทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง