หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

Hepatocellular Cardinoma

ผู้ป่วยตับแข็งจากไวรัสตับอักเสบบี หรือจากสุรามีชีวิตยืนยาวจนเกิดเป็นมะเร็งตับ และเสียชีวิตจากมะเร็งตับมากขึ้นแทน ด้วยเหตุผลดังกล่าวการวินิจฉัย มะเร็งตับได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาให้หายขาดและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ดังนั้นการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องกับกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งตับ เช่นโรคตับแข็ง โดย การตรวจ alfa fetoprotein (AFP) และการทำ ultrasound จะทำให้วินิจฉัยได้เร็ว และรักษาที่ทำให้หายขาดได้คือการผ่าตัด, ผ่าตัดเปลี่ยนตับ, การฉีดแอลกอฮอล์หรือยาเคมีบำบัดที่ก้อนมะเร็งตับ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ



การเฝ้าระวังมะเร็งตับ

โดยทั่วไประยะเวลาที่ก้อนมะเร็งจากที่วัดไม่ได้จนถึงขนาด 2 ซมใช้เวลาประมาณ 6 เดือน จึงใช้ระยะเวลา 6 เดือนเป็นช่วงเวลาในการตรวจซ้ำ โดยไม่สนใจว่าจะเสี่ยงมากหรือน้อย
วิธีการที่ใช้เฝ้าระวังมี 2 วิธีคือ ตรวจเลือด serum markers และและการตรวจทางรังสี เช่นการตรวจ Ultrasound MRI

1. serum markers

alfa Fetoproteine (AFP) เป็น tumor marker ที่ใช้ในการเฝ้าระวังมะเร็งตับมาเป็นเวลานาน ค่าปกติอยู่ในช่วง 10-20 ng/ml ระดับ AFP ที่มากกว่า 400 ng/ml มีความไวในการวินิจฉัยมะเร็งตับสูงถึง 64%

ส่วนระดับ AFP ในช่วง 20-250ng/ml พบได้ในผู้ป่วยตับแข็ง ดังนั้นถ้าใช้ระดับ AFP ที่มากกว่า 200 ng/ml จะมีความไวต่ำในการวินิจฉัยมะเร็งตับ (17.7-26.1%)

2.การตรวจทางรังสี

การตรวจ ultrasound ก็ยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสมเพราะมีใช้กันทั่วไป, ราคาค่อนข้างถูกและข้อมูลของ imaging techniques ที่จะมาทดแทน ultrasound ยังค่อนข้างจำกัด

ประสิทธิผลและความคุ้มค่าของการเฝ้าระวัง

การประเมินประสิทธิผลของการเฝ้าระวังโดยมากจะดูจากอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย นอกจากนี้แล้วจำนวน และขนาดของก้อนมะเร็งรวมถึงโอกาสที่จะได้รับการรักษาให้หายขาดก็เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงเสมอ

สรุป
การเฝ้าระวังมะเร็งตับเป็นวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังที่ใช้กันโดยทั่วไป ส่วนมากจะใช้ระยะเวลาที่ 6 เดือน กลุ่มประชากรเป้าหมายที่ควรเฝ้าระวัง