jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

สาเหตุโรคกลัวอ้วน

ยังไม่มีใครทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่าจะเป็นอาการหนึ่งของโรคซึมเศร้า และคนที่มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมเช่น ความวิตกกังวล ความโกรธ ความเหงา และที่สำคัญคือการอยู่ในหมู่คนที่นิยมหุ่นนางแบบ

สาเหตุการเกิดโรค

ปัจจัยเรื่องชีวเคมีของร่างกาย

ปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์

เนื่องจากผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักขาดความเป็นตัวของตัวเอง (autonomy) และส่วนมากจะยอมให้ พ่อแม่เข้ามามีอิทธิพลในทุกๆ เรื่อง ทั้งความคิดเห็น การตัดสินใจ การที่ผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองในการอดอาหาร จึงถือเป็นการทําให้ตนเองเป็นคนสําคัญ ไม่พึ่งพาใคร และมีบทบาทในสังคมและ ทางเพศมากขึ้น ควบคุมตนเองได้ในบางด้าน

Social Factors

ผู้ป่วย Anorexia nervosa มักอยู่ในสังคมที่เน้นเรื่องความผอมหรือการออกกําลังกาย

ลักษณะทางคลินิก (Clinical features)

ความรู้สึกกลัวอ้วนหรือกลัวน้ำหนักขึ้นในผู้ป่วย Anorexia nervosa ให้ผู้ป่วยปฏิเสธอาหาร แม้ จะยังมีความหิวหรือความอยากอาหารเหมือนปกติ ผู้ป่วยมักปฏิเสธที่จะ รับประทานอาหารกับคนในครอบครัวหรือในที่สาธารณะเนื่องจากไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ ผู้ป่วยพยายามลดปริมาณอาหารที่รับประทาน แต่บางครั้งอดใจไม่ได้ทานอาหารมากผู้ป่วยมักจะทำให้อาเจียน มีการใช้ยาระบาย หรือยาขับปัสสาวะ มีการออกกําลังหักโหมเพื่อลดน้ำหนัก หลังจากที่ผู้ป่วยทําให้น้ำหนักตัวลดลงเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีอาการทางกายตามมามากมาย เช่น อ่อนเพลีย มีภาวะขาดน้ำ อุณหภูมิร่างกายตํ่า ความดันโลหิตตํ่า หัวใจเต้นช้า ตัวบวม ปวดท้อง บางรายถึงขั้นหมดสติ และตรวจพบความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกายหลายอย่าง ในผู้ป่วยหญิงมักมีปัญหาประจําเดือนขาด และถ้าอาเจียนมาก ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายมาก มักมีเกลือแร่ต่ำ การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นเกิดจาก การสูญเสียดกลือแร่โพแทสเซียมออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทําให้เสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

การวินิจฉัย Anorexia nervosa ในปัจจุบัน ยังใช้เกณฑ์ของ DSM-IV TR โดยมีพฤติกรรมและความ ผิดปกติต่างๆ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เกณฑ์ในการวินิจฉัย

ชนิดของโรคกลัวอ้วน

แบ่งออกเป็นสองชนิด

การวินิจฉัยแยกโรค

เนื่องจากอาการใน Anorexia nervosa คล้ายกับโรคทางกายและโรคทางจิตเวชหลายโรค ดังนั้นการ วินิจฉัยแยกโรคจึงมีความสําคัญ

การดูแลรักษา (Treatment)

การรักษาในโรงพยาบาล เป็นการรักษาหลักสําหรับผู้ป่วยโรคกลัวอ้วนที่มีภาวะขาดอาหารอย่าง รุนแรง ส่วนมากผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตํ่ากว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักที่ควรจะเป็น ต้องได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน การรับเข้ารักษาในโรงพยาบาลนั้นขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ซึ่งมีแนวทางหลัก ดังต่อไปนี้

การดำเนินของโรค

อาการของโรคนี้มักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาจจะเริ่มเป็นตอนวัยรุ่น ไม่ค่อยพบหลังจากอายุเกิน 40 ปีผู้ป่วยบางคนอาจจะเป็นช่วงสั้นๆแล้วหายขาด บางคนเป็นๆหายๆเป็นช่วงๆ แต่บางคนก็เป็นต่อเนื่องและเรื้อรัง อัตราการตายประมาณปีละ.56%สาเหตุการตายที่สำคัญคือ หัวใจหยุดเต้น เกลือแร่ในเลือดผิดปกติและการฆ่าตัวตาย

Bulimia Nervosa

พบว่าจะมีประชากรผู้หญิงประมาณ1.1-4.2% จะเคยมีอาการของโรคนี้ครั้งหนึ่งในชีวิต อาการของโรคนี้ประกอบไปด้วย

ผู้ป่วยมักจะมีน้ำหนักปกติ แค่ผู้ป่วยจะกลัวอ้วนและต้องการลดน้ำหนัก เมื่อเริ่มอ้วนผู้ป่วยจะกังวลเป็นอย่างยิ่ง การล้วงให้อาเจียนมากจะกระทำในที่มิดชิด

Binge-Eating Disorder

พบได้ร้อยละ 2-5 %โดยจะมีอาการดังต่อไปนี้

การรักษา

หลักการรักษาประกอบไปด้วย

การวินิจฉัยได้เร็วและรักษาเร็วจะให้ผลได้ดี ส่วนวิธีการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของโรค หากขาดอาหารมากก็ต้องให้นอนโรงพยาบาลและอาจจะต้องให้สารอาหารเข้าทางหลอดเลือดดำ เมื่อน้ำหนักเริ่มขึ้นค่อยมาให้การรักษาทางจิต อาจจะต้องทำพฤติกรรมบำบัด ยาที่ได้ผลดีคือยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs),

กลับหน้าแรก