เล็บขบ
เล็บขบหมายถึงภาวะที่มีปลายเล็บทิ่มเข้าบริเวณผิวหนังที่ปลายเล็บ เล็บขบจะเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อข้างเล็บทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เล็บขบมักจะเกิดที่ด้านนอกของนิ้วเท้า หรือที่เรียกว่า onychocryptosis และหากไม่รักษาเล็บขบจะเกิดการงอกของเนื้อเยื่อขึ้นมา มีหนองไหล
สาเหตุของเล็บขบ
สาเหตุของเล็บขบส่วนใหญ่เกิดจากการที่ตัดเล็บไม่ถูกต้อง และหรือการสวมรองเท้าที่คับเกินไป ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดเล็บขบได้แก่่
- การสวมรองเท้าไม่เหมาะสม ได้แก่รองเท้าส้นสูงเกินไป ปลายเท้าแหลมไป รองเท้าคับไป ทำให้เท้าถูกบีบและเล็บไปสามารถงอกได้ตามปกติ
- การตัดเล็บที่ไม่ถูกต้องโดยตัดมุมเล็บชิดเนื้อทำให้เล็บที่งอกทิ่มแทงเข้าที่ซอกเล็บ
- การได้รับอุบัติเหตุที่เล็บมีการฉีกขาดทำให้เล็บที่งอกใหม่แทงเข้าซอกเล็บ เช่นการเล่นฟุตบอลล์
- การติดเชื้อราที่เล็บ
- การได้รับยาบางชนิดเช่น วิตามินเอที่ใช้รักษาสิว
อาการและอาการแสดงของเล็บขบ
อาการแสดงของเล็บขบแบ่งออกเป็นสามระยะได้แก่
- ระยะที่ 1 จะมีอาการและอาการแสดงดังนี้
ระยะที่1 |
- บริเวณซอกเล็บจะมีอาการบวมแดงเล็กน้อย
- คลำดูจะอุ่นเล็กน้อยและกดเจ็บ
- ไม่มีหนอง
การดูแลเล็บขบในระยะนี้
- แช่น้ำอุ่นวันละสี่ครั้ง
- ล้างเท้าและบริเวณเล็บด้วยสบู่วันละสองครั้งแล้วเช็ดให้แห้ง
- ใช้conton bud ที่สะอาดแทรกระหว่างเนื้อซอกเล็บและเล็บและสอดผ้า gauze แทรกระว่างเล็บและเนื้อเยื่อ อาจจะเจ็บเล็กน้อย
- ระยะที่ 2
ระยะที่2 |
- นิ้วหัวแม่เท้าจะบวมมากขึ้น แดงมาก และเจ็บมากขึ้น
- อาจจะมีหนองไหลตรงเล็บขบ
- จะมีการติดเชื้อที่ซอกเล็บ
การดูแลเล็บขบในระยะที่ 2
- ทำเหมือนระยะที่1
- จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ
- หากไม่ดีขึ้นจะต้องตัดเอาเล็บออก
- ระยะที่ 3
ระยะที่3 |
- จะปวดมากขึ้น แดงมากขึ้น และบวมมากขึ้น
- มีเนื้อเยื่องอกที่ติดเชื้อ และมีหนองไหล
- เล็บบริเวณดังกล่าวจะหนาตัวขึ้นมา
- จะมีการติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น อาจจะมีไข้
การดูแลเล็บขบในระยะนี้
- ระยะนี้จะต้องผ่าตัดเอาเล็บและเนื้อเยื่อทีงอกออกไป
- ทำความสะอาดเอาหนองออกให้มากที่สุด
- ทายาปฏิชีวนะ และรับประทานยาปฏิชีวนะ
การดูแลแผลหลังผ่าตัด
- หลังผ่าตัดหนึ่งวันให้เอาผ้าพันแผลออก และทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสบู่
- เช็ดแผลให้แห้ง และทายาปฏิชีวนะ ใหทำความสะอาดแผลวันละสองครั้งเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
- รักษานิ้วเท้าให้สะอาดและแห้ง อย่าไหว้น้ำหรือทำให้แผลเปียกเป็นเวลาสองสัปดาห์
- งดการกระโดด วิ่งหรือการออกกำลังที่มากเกินไปเป็นเวลาสองสัปดาห์
การดูแลด้วยตัวเองที่บ้าน
- แช่เท้าที่เป็นเล็บขบด้วยน้ำอุ่นวันละสี่ครั้ง
- ล้างบริเวณแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำวันละสองครั้ง
- รักษาเท้าให้แห้งและสะอาด
- งดสวมรองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าที่คับเกินไป
- หลังจากทำความสะอาดเท้า ให้เอา conton bud เล็กๆสอดเข้าไปเพื่อยกเล็บใส่ไว้15 วันเล็บก็จะงอกออกมาไม่แทงผิวหนัง
เมื่อไรจึงจะพบแพทย์
ท่านควรจะพบแพทย์เมื่อเล็บขบมีการติดเชื้อ มีหนองไหล หรือมีภาวะดังต่อไปนี้
- ภายในห้าปีท่านยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นป้องกันบาดทะยัก
- รักษาด้วยตัวเองแล้วเป็นเวลาสามวันอาการยังไม่ดีขึ้น
- หากท่านเป็นโรคเบาหวาน เส้นเลือดไปเลี้ยงที่เท้าตีบ เอดส์
การป้องกันเล็บขบ
- ใส่รองเท้าที่พอดีและส้นไม่สูงไป
- ตัดเล็บให้ถูกต้องโดยตัดเล็บให้เป็นแนวตรงและไม่ตัดติดเนื้อและไม่ตัดมุมเล็บ
- รักษาเท้าให้สะอาดและแห้ง
กลับหน้าผิวหนัง | ผิวหนังอักเสบ | ฝีที่ผิวหนัง | ผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย