อาการแพ้ท้อง morning sickness

 

 

สำหรับท่านสุภาพสตรีที่คิดว่าจะมีบุตรนั้นมักจะมีประวัติขาดประจำเดือนมาก่อน และตามด้วยอาการของคนตั้งครรภ์ อาการของคนตั้งครรภ์แต่ละคนจะไม่เหมือนกันมากบ้างน้อยบ้าง ไม่จำเป็นต้องมีครบ อาการที่พบบ่อยได้แก่

อาการขาดประจำเดือน

ส่วนใหญ่เกือบทั้งร้อยจะสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ต่อเมื่อขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนเลื่อนออกไป บางท่านอาจจะมีเลือกออกกระปริดกระปอยในช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่เลือกออกไม่มากเหมือนประจำเดือน แต่สำหรับท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ท่านอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว คงต้องอาศันอาการอื่นร่วมด้วย

อาการแพ้ท้อง

อาการคลื่นไส้อาเจียนหรือที่เรียกว่าอาการแพ้ท้อง มักเกิดในระยะแรกของการตั้งครรภ ์โดยมากจะเกิดในช่วง2- 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ พอเข้าสู่ไตรมาสสองอาการแพ้ท้องจะหายไป บางท่านอาจจะแพ้กลิ่นหรืออาหารบางประเภท เชื่อว่าอาการแพ้ท้องเกิดจากการที่ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงทำให้กระเพาะอาหารมีการบีบตัวน้อยลง อาการของอาการแพ้ท้องมีอะไรบ้าง

  • คลื่นไส้อาเจียนหลังจากดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • ขาดน้ำ
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • เกลือแร่ในร่างกายอาจผิดปกติ

การดูแลตัวกรณีที่อาการไม่มาก

  • รับประทานอาหารว่างที่มีโปรตีนสูง
  • งดอาหารที่มีไขมันหรือใยอาหารสูงรับประทานอาหารที่มีแป้งสูง
  • ให้รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ
  • ให้รับประทานอาหารบนเตียงตอนตื่นนอนเนื่องจากการเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีรสดี
  • อย่าให้ท้องว่างเพราะท้องว่างจะทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน
  • หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุนๆ
  • งดดื่นน้ำผลไม้ กาแฟ แอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานอาหาร
  • ดื่มน้ำขิงอาจจะบรรเทาอาการ

 

ถ้ามีอาการมากน้ำหนักตัวลดมาก

  • แพทย์จะให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  • ให้น้ำเกลือเพื่อแก้คลื่นไส้อาเจียน

การเปลี่ยนแปลงทางเต้านม คลิกดูภาพการเปลี่ยนแปลงเต้านม

อาการคัดเต้านมจะเหมือนกับอาการแน่แน่นเต้านมช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่อาการจะมากกว่าและไม่ลดลง มักจะเกิดหลังจากที่ไข่ได้ผสมกับตัวเชื้อแล้วประมาณสองสัปดาห์

ไตรมาสแรก

หลังการตั้งครรภ์6-8สัปดาห์จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเต้านม คุณแม่จะรู้สึกว่าเต้านมใหญ่ขึ้น กดจะเจ็บเนื่องจากมีการเจริญเติบโตของไขมันและต่อมน้ำนม เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขยายใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นได้ ควรเลือกขนาดของยกทรงให้เหมาะสม หัวนมและฐานหัวนมจะดำขึ้น

ไตรมาสสอง

ขนาดของเต้านมจะใหญ่ขึ้นและมีการเริ่มสร้าง colustrum ซึ่งไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคนแรกๆจะมีลักษณะเหนียวข้นต่อมาจะมีลักษณะเหลวใส ของเหลวนี้จะหลังเมื่อมีการบีบหรือมีความตื่นเต้นทางเพศ

คุณแม่ต้องสังเกตว่าหัวนมโผล่หรือไม่ถ้าไม่โผล่ต้องปรึกษาแพทย์

อ่านหน้าที่2

การเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์