jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

 

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ปวดปัสสาวะบ่อย

การที่มีฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโปรเจสเตอโรนจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้กล้ามเนื้อเรียบผ่อนคลายมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะก็เป็นกล้ามเนื้อเรียบเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อมีปัสสาวะปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะได้ ซึ่งเป็นเหตุผลให้คุณแม่ต้องปัสสาวะบ่อยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่พบห้องน้ำที่ไหนให้เข้าไว้ก่อน และเมื่อปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นั่งรอ 2 – 3 นาที บางทีคุณแม่ก็จะรู้สึกปวดขึ้นมาอีก

ท้องผูก

หากคุณแม่เป็นคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อน การที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมใดๆและการนอนมากๆในช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่ท้องผูกได้ ดังนั้น คุณแม่อาจเริ่มที่จะออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเป็นเวลา 15 – 20 นาทีในตอนเช้า แล้วกลับมาดื่มน้ำอุ่นหรือนมอุ่นๆ และนั่งพัก คุณแม่อาจเริ่มปวดท้องขึ้นมาได้ หรือพยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ รับประทานพืชผักที่ให้กากอาหารมากขึ้นก็จะช่วยได้ แต่ถ้าคุณแม่เป็นคนที่ท้องผูกเป็นกิจวัตรและใช้ยาระบายมาตลอด ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาระบายทุกชนิด เพราะยาบางชนิดอาจมีผลทำให้แท้งบุตรได้เลยทีเดียว

รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย

อาการอ่อนเพลียและง่วงนอนนี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คุณแม่อาจคิดว่าคุณหมอกล่าวหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้เป็นผู้ร้ายอยู่เสมอ แต่ความเป็นจริงก็คือ เคยมีนักวิจัยทำการทดลองโดยการฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้กับหนูทดลอง ผลการทดลองพบว่าหนูหลับเพราะฮอร์โมนนี้ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัวนั่นเอง ดังนั้น หากรู้สึกเหนื่อยก็นอนพัก นอนหลับให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถนอนได้ เพราะธรรมชาติต้องการให้เป็นเช่นนั้น หากการนอนกลางวันเป็นการฝืนใจคุณแม่ ให้ลองนึกว่ามีอีกคนที่กำลังง่วงและอยากจะนอนแล้ว

 

 ท้องนอกมดลูก

คือ การที่ตัวอ่อนไปฝังตัวในที่อื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ หรือในช่องท้อง จะมีอาการเลือดออกกระปริบกระปรอยอยู่เรื่อยๆ และมีอาการปวดท้องซึ่งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งทนไม่ไหว ซึ่งถ้าเกิดการท้องที่ท่อนำไข่แล้วท่อนำไข่แตก เลือดจะไหลเข้าไปในช่องท้องทำให้เสียเลือดมากจนอาจช็อกหมดสติได้ การท้องนอกมดลูกสามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นได้โดยการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมน hCG และตรวจอัลตร้าซาวด์เปรียบเทียบจะไม่พบถุงน้ำคร่ำในโพรงมดลูก การวินิจฉัยที่แน่ชัดทำได้โดยการส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง Laparoscopy การวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นมาก ท้องนอกมดลูก

โหิตจาง Anemia

หมายความเข้มข้นของเลือดจางกว่าปกติผู้ที่มีโลหิตจางจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ การรักษาจะต้องแก้ที่สาเหตุ เช่นหากมีเลือดออกจากริดสีดวงจะต้องแก้ที่รักษาโรคริดสีดวง สำหรับคนท้องจะต้องให้ธาตุเหล็กและกรดโฟลิกเสริม

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

หมายถึงการที่มีเชื้อโรคเข้าไปในระบบทางเดินปัสสาวะ หากอักเสบเฉพาะกระเพาะปัสสาวะมักจะไม่มีไข้ หากไตอักเสบผู้ป่วยจะมีไข้สูง อาการของทางเดินปัสสาวะอักเสบได้แก่

หากคนท้องสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะควรจะปรึกษาแพทย์

โรคซึมเศร้า

คนท้องบางคนจะมีอาการซึมเศร้าในระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งจะมีอาการดังนี้

หากมีอาการดังกล่าวนานมากกว่า 1 สัปดาห์ ให้ปรึกษาแพทย์

ความดันโลหิตสูง

คนท้องที่มีความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะหากควบคุมความดันไม่ดีจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคครรภ์เป็นพิษ รกลอกจากมดลูก( placental abruption) และเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ ส่วนปัญหาที่เกิดกับทารกได้แก่ คลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย และทารกเสียชีวิตในครรภ์ ดังนั้นผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงหากจะตั้งครรภ์ต้องปรึกษาแพทย์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์

หากเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย

การตั้งครรภ์