หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน
เป็นวันที่คำนวณวันคลอด ซึ่งอาจจะคลอดก่อนหรือหลังกำหนดก็ได้หากคุณแม่ทราบวันกำหนดคลอด และมีอาการปวดท้องเตือนคุณแม่อาจจะเตรียมตัวไปคลอดเสียแต่เนินๆ คุณแม่ต้องติดต่อกับแพทย์ที่ดูแลท่านว่าจะติดต่อกันอย่างไร จะโทรศัพท์แจ้งแพทย์หรือจะไปโรงพยาบาลเลย การคำนวณวันคลอด
ในสภาพการจราจรของเมืองไทยคุณแม่ต้องเตรียมตัวเดินทางเสียแต่เนินๆสิ่งที่ต้องพิจารณาในการวางแผนคือ
มีอาการเตือนหลายอย่างที่เตือนว่าการคลอดเริ่มใกล้เข้ามาคุณแม่ควรที่จะเรียนรู้ไว้บ้าง
เมื่อเวลาใกล้คลอดอาจจะมีอาการปวดท้องหลอกทำให้สับสนว่าเมื่อไรจะคลอดจริงมีข้อแนะนำดังนี้
อาการปวดท้อง | ปวดท้องคลอดหลอก | ปวดท้องคลอดจริง |
ลักษณะการปวด | ปวดไม่สม่ำเสมอ ปวดแต่ละครั้งน้อยกว่า 50-80วินาที | ปวดสม่ำเสมอ ปวดถี่ขึ้นและปวดมากขึ้น |
การเคลื่อนไหว | เมื่อเดินหรือเปลี่ยนท่าจะหายปวด | ปวดตลอดไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว |
ตำแหน่งที่ปวด | ปวดที่ท้อง | ปวดทั้งหลังและท้อง |
แม้ว่าการคลอดของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันแต่ขั้นตอนในการคลอดไม่ต่างกัน สำหรับคุณแม่ที่ท้องแรกจะใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 15 ชั่วโมงมักจะไม่เกิน 20 ชั่วโมงสำหรับคุณแม่ที่เคยคลอดทางช่องคลอดส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 8 ชั่วโมง ในกระบวนการคลอดแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้
เริ่มตั้งแต่ปวดท้องคลอด ปากมดลูกเริ่มเปิดจนกระทั่งเปิดเต็มที่
ขบวนการคลอดเป็นขบวนการธรรมชาติ ที่ร่างพร้อมที่จะคลอดเด็กออกมา เริ่มต้นด้วยการที่มดลูกบีบตัว ไล่เด็กลงมาช่องคลอดปากมดลูกจะบาง (effaces) และเปิด (dilation)
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการบอกความก้าวหน้าของการคลอดในระยะที่ 1 คือ การเปิดขยายของปากมดลูก ซึ่งเป็นการตรวจร่างกายพื้นฐานของการประเมินผู้ป่วยที่อยู่ในระยะรอคลอด แต่เนื่องจากปากมดลูกไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ดังนั้นการประเมินการเปิดขยาย คือการประเมินเส้นผ่านศูนย์กลางของปากมดลูก จึงต้องใช้ข้อมูลจากการตรวจภายในเท่านั้น เมื่อสตรีตั้งครรภ์เริ่มเข้าสู่ระยะคลอดปากมดลูกจะมีการเปิดขยายจนกระทั่งเปิดเต็มที่ (fully dilatation) เมื่อถือว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของปากมดลูกมีค่าเท่ากับ 10 เซ็นติเมตร ซึ่งสามารถทำให้ส่วนที่กว้างที่สุดของส่วนนำของทารกในท่าหัวนำซึ่งมีส่วนที่กว้างที่สุดคือ biparietal diameter (BPD) มีค่าประมาณ 9-10 เซ็นติเมตร ทำให้ทารกอายุครรภ์ครบกำหนดผ่านปากมดลูกออกมาได้
ภาวะปกติของปากมดลูกในสตรีที่ไม่ได้อยู่ในระยะคลอดนั้น จะมีลักษณะที่เรียกว่า Cervical canal หรือส่วนที่เป็นระยะห่างระหว่างปากมดลูกด้านใน (internal cervical os) และปากมดลูกด้านนอก (external cervical os) ซึ่งถือว่าในระยะปกติระยะห่างนี้จะมีค่าประมาณ 2 เซ็นติเมตร แต่เมื่อสตรีตั้งครรภ์เข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์คลอดจะเกิดการบางตัวของปากมดลูก โดยระยะห่างระหว่าง internal และ external cervical os จะสั้นลง ซึ่งเรียกว่าเกิด cervical effacement หรือ เรียกว่าเกิดการบางตัวของปากมดลูก ซึ่งก่อนที่ทารกจะคลอดได้ ปากมดลูกจะต้องเกิดการบางตัวเต็มที่ คือ Effacement 100% หมายความว่าไม่มีส่วนของ cervical canal อีกต่อไป จุดที่เป็น external และ internal os กลายเป็นจุดเดียวกัน ซึ่งโดยปกติการรายงานผล cervical effacement จะบอกเป็นหน่วย % คือ ถ้าไม่มีการบางตัวเลย เรียกว่า no effacement หรือ 0% effacement แต่ถ้าปากมดลูกบางตัวเต็มที่ 100% (complete effacement) คือไม่มีส่วนของ cervical canal อีกต่อไป ทั้ง internal และ external os มาเป็นจุดเดียวกัน นอกเหนือไปจากนั้นมักรายงานผล effacement เป็น 25%, 50%, 75% หรือ 80 และ 90% ตามลำดับ
เมื่อได้ทำการวินิจฉัยว่าสตรีตั้งครรภ์รายดังกล่าวเข้าสู่ระยะคลอดอย่างแท้จริงจากการที่มบีบตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ และการขยายตัวของปากมดลูก และการบางของปากมดลูกอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่ต้องทราบเพิ่มเติมคือ สภาวะของทารกในขณะนั้น ว่าอยู่ในท่าอย่างไร
เริ่มตั้งแต่เบ่งจนกระทั่งเด็กคลอดออกมาระยะนี้ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงขึ้นกับตำแหน่งตัวเด็ก ขนาดตัวเด็ก และขนาดของทางคลอด
เริ่มตั้งแต่เด็กคลอดออกมาจนกระทั่งรกคลอดออกมาหมดระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที
เรื่องที่เกี่ยวข้อง