ภาวะไม่มีประจำเดือน Amenorrhea


หมายถึงภาวะซึ่งไม่ประจำเดือน3เดือนติดต่อกันจะแบ่งออได้ดังนี้

  1. Primary amenorrhea หมายถึงเด็กหญิงเมื่ออายุถึง 16 ปีแล้วยังไม่มีประจำเดือน ประจำเดือนของเด็ดแรกๆอาจจะมีไม่มากและระยะเวลาไม่สม่ำเสมอ
  2. Secondary amenorrhea หมายถึงภาวะที่ประจำเดือนไม่มาติดต่อกัน 3 รอบเดือน รอบเดือนของคนปกติอาจจะมาไม่สม่ำเสมอ บางคน3 สัปดาห์มาหนึ่งครั้ง บางคน 5 สัปดาห์มาหนึ่งครั้ง ปริมาณประจำเดือนบางเดือนมากบางเดือนน้อย บางเดือนอาจจะไม่มีประจำเดือนแต่มามากอีกเดือนเนื่องจากไข่ไม่ตกไปหนึ่งเดือน ผู้ควรต้องให้ความสนใจหากรอบเดือนน้อยกว่า 21 วัน และมามากกว่า 8-10 วัน

สาเหตุการไม่มีประจำเดือน

สาเหตุของการไม่มีประจำเดือนมีหลายสาเหตุ บางสาเหตุเป็นจากธรรมชาติ เช่นการตั้งครรภ์ หรือบางสาเหตุก็เกิดจากกระทำเช่นการได้ยาคุมกำเนิด วัยรุ่นบางคนมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้วางแผนครอบครัว โดยความหมายคือไม่ได้คุมกำเนิดเกิดกลัวท้องทำให้เครียดประจำเดือน นอกจากนั้นประจำเดือนอาจจะมาผิดปกติในผู้ป่วยสูงอายุ

  • การตั้งครรภ์เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
  • ยาคุมบางชนิดทำให้ประจำเดือนไม่มา เมื่อหยุดยาคุมกำเนิดไป 3-6 เดือนประจำเดือนจะมาตามปกติ
  • การให้นมบุตร
  • ความเครียด
  • ยาบางชนิดอาจจะทำให้ประจำเดือนไม่มาได้แก่ corticosteroids, ยาแก้โรคซึมเศร้า antidepressants, antipsychotics, ยารักษาโรคไทรอยด์ และเคมีบำบัดบางชนิด
  • เจ็บป่วยเรื้อรัง
  • การขาดอาหาร
  • การออกกำลังกายและน้ำหนัก ผู้หญิงที่มีกลุ่มอาการ 3กลุ่มได้แก่ (1)การออกกำลังมากเกินไปโดยทั่วไปมากกว่า20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การออกกำลังการมากจะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้เกิด (2)การไม่มีประจำเดือน (3)การมีโรคกระดุกพรุน ภาวะนี้ควรที่จะวินิจฉัยให้เร็ว นอกจากนั้นคนอ้วนก็มีความผิดปกติของประจำเดือนได้เนื่องจากเซลล์ไขมันจะสร้าง estrogenทำให้รอบเดือนถูกรบกวน
  • Polycystic ovarian syndrome (PCO) การที่รังไข่มีถุงน้ำ [cyst]ถุงน้ำนี้มีการสร้างฮอร์โมนเพศชาย(androgen,testosterone ) ออกมามากทำให้ผู้หญิงมีลักษณะของผู้ชาย เช่นมีหนวดเครา ขนดก มีสิวเสียงแหบ เนื่องจากมีฮอร์โมนเพศชายมากทำให้ไม่มีไข่ตกผลคือไม่มีประจำเดือน
  • โรคของไทรอยด์
  • มีเนื้องอกในสมองที่สร้างฮอร์โมน Prolactin ทำให้ไม่มีประจำเดือน เป็นหมัน มีน้ำนมหลั่งโดยที่ไม่มีบุตร


การป้องกันการไม่มีประจำเดือน

  • ควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ปรับพฤติกรรมการทำงาน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนอย่างเหมาะสม
  • จัดการกับความเครียด
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการใช้สุรา และยาเสพติด
  • งดสูบบุหรี่
การมีประจำเดือน  

 

Google