หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

วัณโรคนอกปอด

การวินิจฉัยวัณโรคนอกปอดจะยากกว่าวัณโรคที่เกิดในปอดเนื่องจากอาการไม่ชัดเจน ตำแหน่งที่เกิดก็ตรวจหาเชื้อลำบาก เชื้อที่เกิดก็มีปริมาณน้อยทำให้ตรวจพบลำบาก และแพทย์ก็ไม่คุ้นเคย การวินิจฉัยอาศัยหลักการเช่นเดียวกับวัณโรคปอด ต้องตรวจพบเชื้อวัณโรคจึงจะเป็นการวินิจฉัยโรคที่ แน่นอน เนื่องจากวัณโรคของอวัยวะนอกปอดมี จำนวนเชื้อวัณโรคน้อย โอกาสที่จะตรวจพบเชื้อจึงมี น้อยกว่า การวินิจฉัยโรคส่วนใหญ่อาศัยการตรวจชิ้น เนื้อทางพยาธิวิทยา การตรวจน้ำที่เจาะได้จาก อวัยวะต่างๆ ร่วมกับอาการและอาการแสดงที่เข้าได้ กับวัณโรคเป็นเครื่องช่วยในการวินิจฉัย



เกณฑ์การวินิจฉัยวัณโรคนอกปอด

1.วัณโรคแพร่กระจาย Disseminated tuberculosis

หมายถึงภาวะที่ภูมิของร่างการไม่สามารถจำกัดเชื้อไว่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง เชื้อวัณโรคจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ดังนั้นอาการของโรคจึงไม่เฉพาะ อาการส่วนใหญ่ได้แก่ ไข้ น้ำหนักลด เหงื่อออก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย อาจจะมีอาการไอเป็นบางราย ตรวจร่างกายอาจจะปกติ ตับอาจจะโต ต่อมน้ำเหลืองอาจจะโต ลักษณะของรังสีทรวงอกจะมีลักษณะเฉพาะซึ่งพบไดร้อยละ ้50-98 ของผู้ป่วย ดูภาพที่นี่

2.วัณโรคต่อมน้ำเหลือง

มักจะเป็นต่อมน้ำเหลืองที่คอโดยมากมักจะเป็นข้างเดียว แรกๆจะไม่เจ็บและไม่มีการอักเสบ แต่เมื่อไม่รักษาก็จะแตกเป็นหนอง แผลจะหายช้า ต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอดอาจจะมีการอักเสบและโตซึ่งกดหลอดลมทำให้ปอดแฟบได้ หากมีไข้อาจจะมีวัณโรคที่อื่น ผู้ป่วยโรคเอดศืที่มีต่อมน้ำเหลืออักเสบอาจจะมีวัณโรคปอดได้ร้อยละ 5-70

3.วัณโรคเยื่อหุ้มปอด

กลไกการเกิดวัณโรคปอดมีได้สองวิธีคือ

4.วัณโรคทางเดินปัสสาวะ

ผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะ ปัสสาวะมีัเลือด อาจจะมีอาการเจ็บเอวร่วมด้วย สำหรับผู้หญิงก็อาจจะมีอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือเป็นหมัน ส่วนผู้ชายก็อาจจะมีก้อนที่อัณฑะ การวินิจฉัยส่วนใหญ่จะได้จากการตรวจปัสสาวะพบมีเม็ดเลือดขาวแต่ไม่มีเชื้อแบคทีเรีย เมื่อนำปัสสาวะมาเพาะเชื้อวัณโรคก็อาจจะพบเชื้อวัณโรค หรือตรวจภาพรังสีทรวงอกก็อาจจะพบความผิดปกติได้ร้อยละ 40-75

5.วัณโรคกล้ามเนื้อและกระดูก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นวัณโรคกระดูกหรือข้อมักจะไปพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดและเคลื่อนไหวลำบาก โดยเฉพาะในเด็กต้องวินิจฉัยให้เร็วเพราะเชื้ออาจจะทำลายการเจริญของกระดูกซึ่งอาจจะทำให้เกิดการพิการ และหากเป็นที่กระดูกสันหลังก็อาจจะทำให้กดไขสันหลังและพิการ



6.วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง

เป็นภาวะที่มีความรุนแรงมากซึ่งอาจจะทำให้เกิดความพิการ เชื้อสามารถเข้าสู่สมองได้โดยสองวิธีคือ เชื้อที่มาตามกระแสเลือดเนื่องมาจากการติดเชื้อครั้งแรกหรือจากการที่เชื้อจากปอด หรือเกิดจากเชื้อที่ในสมองแตกเข้าเยื่อหุ้มสมอง ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศรีษะเวลาเบ่งอุจาระหรือไรจะปวดมากขึ้น หากไม่ได้รักษาผู่ป่วยจะซึมลง การวินิจฉัยนอกจากประวัติแล้วหากตรวจร่างกายจะพบว่ามีอาการคอแข็งร่วมด้วย หากสงสัยต้องมีการเจาะหลังเอาน้ำไขสันหลังออกมาตรวจ ผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มสมองมักจะมีวัณโรคปอดร่วมด้วยร้อยละ 50

7.วัณโรคในช่องท้อง

อวัยวะในช่องท้องเป็นวัณโรคได้ทุกตำแหน่ง ตั้งแต่ปากจรดทวารหนัก แต่ตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือบริเวณลำไส้เล็กต่อกับลำไส่ใหญ่ที่เรียกว่า caecum ผู้ป่วยมักจะพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องหรือคลำได้ก้อนบริเวณท้องน้อยซึ่งอาจจะเหมือนอาการของโรคมะเร็ง การวินิจฉัยทำได้โดยการผ่าเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ

นอกจากนั้นเชื้อวัณโรคยังสามารถเกิดที่เยื่อบุช่องท้องที่เรียกว่า peritoneum ทำให้เกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยเรื่องปวดท้องทั่วไป ท้องบวมขึ้น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องมารมีน้ำในช่องท้อง การวินิจฉัยทำได้โดยการเจาะน้ำในช่องท้องออกมาวินิจฉัย

8.วัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจ

อาการของผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจก็จะมีไข้เบื่ออาหาร น้ำนักลดเหมือนวัณโรคทั่วไปแต่จะมีอาการเจ็บหน้าอก หากมีน้ำในช่องหัวใจมากก็จะมีอาการของหบเหนื่อยและบวมหลังเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจภาพรังสีทรวงอกพบว่าหัวใจโต ตรวจคลื่นเสียงหัวใจ 2D Echocardiography พบว่ามีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ และต้องเจาะเอาน้ำไปตรวจ

การรักษาวัณโรคนอกปอด

ให้การรักษาเหมือนวัณโรคปอด ยกเว้นการ รักษาวัณโรคเยื่อหุ้มสมองให้ใช้เวลารักษา 9-12 เดือน

ความสำคัญของวัณโรค การติดต่อ ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การวินิจฉัยโรค การทดสอบผิวหนัง วัณโรคนอกปอด วัณโรคดื้อยา ยาและการจัดการกับวัณโรค การรักษาวัณโรค การให้ยาแบบ DOT การรักษาวัณโรคในภาวะพิเศษ วัณโรคในเด็ก เอดส์และวัณโรคการป้องกันวัณโรค การฉีดวัคซีน BCG วัณโรค

ทบทวนวันที่

โดย นายแพทย์ ประพันธ์ ปลื้มภาณุภัทร อายุรแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

Google
 

เพิ่มเพื่อน