เมื่อไตเสื่อมมากขึ้น
เมื่อแพทย์บอกว่าไตเสื่อมลงท่านผู้อ่านต้องทำอย่างไร
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังจะต้องมีการตรวจการทำงานของไตเป็นระยะเพื่อ
- ประเมินระยะเวลาว่าเมื่อไรจะเป็นโรคไตวาย
- เพื่อติดตามว่าเมื่อให้การรักษาแล้วการทำงานของไตดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไรบ้าง
โดยปกติการรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมหรือป้องกันโรคไตจะมีหลักการดูแลดังนี้
ผู้ป่วยรายใดที่ต้องติดตามการทำงานของไตถี่ขึ้น
ผู้ที่มีโรคไตเรื้อรังโดยมากอาจจะตรวจการทำงานของไตปีละครั้ง แต่ในรายดังต่อไปนี้อาจจะต้องตรวจการทำงานของไตถี่ขึ้นได้แก่
- ผู้ที่มีอัตราการกรองของไตต่ำกว่า (GFR) <60 mL/min/1.73 m2;
- ประวัติไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว (> 4 mL/min/1.73 m2ต่อปี
- มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไตเสื่อม
- อยู่ระหว่างการรักษา
- อยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อไตเสื่อม
ไตจะเสื่อมเร็วหรือช้าขึ้นกับอะไรบ้าง
- ชนิดของโรคไต ผู้ป่วยไตเสื่อมจากโรคเบาหวาน glomerular diseases, polycystic kidney , และโรคไตวายสำหรับคนที่เปลี่ยนไต จะมีอัตราการเสื่อมของไตเร็วกว่าไตเสื่อมจากโรคตวามดันโลหิตสูง
- ไตจะเสื่อมเร็วในบางเชื้อชาติ เช่น African-American
- ผู้ชาย และสูงอายุ ไตจะเสื่อมเร็วกว่าเพสหญิง และอายุน้อย
- ผู้ที่ไตเสื่อมมากจะมีอัตราการเสื่อมเร็วกว่าผู้ที่ไตเสื่อมน้อยกว่า
- อัตราการเสื่อมของไตยังขึ้นกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- ปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะหากมีมากไตจะเสื่อมมาก
- ปริมาณไข่ขาวในเลือดหากต่ำไตจะเสื่อมมากขึ้น
- ระดับความดันโลหิตหากควบคุมไม่อยู่ไตจะเสื่อมเร็วขึ้น
- ระดับน้ำตาลหากสูงไตจะเสื่อมเร็วขึ้น
- การสูบบุหรี่จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น
เมื่อท่านไปพบแพทย์และได้เจาะเลือดพบว่าการทำงานของไตเสื่อมลงเร็วกว่าปกติ (>4ml/min) แสดงว่าไตท่านน่าจะมีปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อมเร็วท่านจะต้องหาปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อมเร็ว ปัจจัยดังกล่าวได้แก่
- ภาวะขาดน้ำซึ่งอาจจะเกิดจากที่รับประทานหรือดื่มน้ำน้อย หรือมี อาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือเกิดจากการได้รับยาขับปัสสาวะมากเกินไป ซึ่งหากมีภาวะดังกล่าวจะทำให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
- การไปตรวจรังสีที่ต้องฉีดสีซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยบางรายไตเสื่อมมากขึ้น
- การได้รับยาบางชนิดซึ่งจะทำให้ไตเสื่อมมากขึ้น เช่น aminoglycosides and amphotericin B)
- การได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID, (COX 2) inhibitors เช่น ibuprofen,diclefenac,celecoxic ยาในกลุ่มดังกล่าวอาจจะทำให้ไตเสื่อมมากขึ้น
- ยาลดความดันกลุ่ม Angiotensin-converting enzyme inhibitors และ angiotensin-receptor blockers ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้รักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคไต เพราะยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการลดไข่ขาวและป้องกันภาวะไตเสื่อมได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมจะต้องติดตามการทำงานของไตเป็นระยะ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจจะมีไตเสื่อมมากขึ้นโดยเแพาะเมื่อได้รับยาลดความดันกลุ่นนี้กับยาแก้ปวดกลุ่ม (NSAIDs),
- มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่ว ต่อมลูกหมากโตอุดกลั้นทางเดินปัสสาวะ
- การได้รับยาบางชนิดเช่น Cyclosporine
ท่านต้องสำรวจว่าท่านมีภาวะที่เสี่ยงต่อการเสื่อมของไตอะไรบ้างและรีบแก้ไขสาเหตุที่พบบ่อย
โรคไตวายเรื้อรัง สาเหตุโรคไต การรักษาโรคไต การรักษาความดัน การรักษาเบาหวานและไขมัน การรักษาภาวะแคลเซี่ยมต่ำ การรักษาภาวะโลหิตจาง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด การรักษาโปรตีนในปัสสาวะ ความเสี่ยงการเกิดโรคไต การตรวจวินิจฉัยโรคไต ความรุนแรงโรคไต สาเหตุโรคไต อาการโรคไต โรคไต