การวัดอุณภูมิ
ร่างกายเรามีกลไกที่จะรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เมื่ออากาศร้อนร่างกายจะขับความร้อนออกจากร่างกาย โดยการที่เส้นเลือดที่ผิวหนังมีการขยายตัวทำให้เกิดการระบายออก นอกจากนั้นยังมีการขับเหงื่อเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันเมื่อร่างกายเย็น หลอดเลือดที่ผิวหนังจะหดตัว กล้ามเนื้อจะมีการสั่นเพื่อสร้างความร้อนขึ้นมาเราจะวัดอุณหภูมิได้ที่ไหนบ้าง
- วัดอุณหภูมิทางปากซึ่งมีอุณหภูมิปกติ 36.8 °C (98.2 °F)
บวกลบ .6 °C
- วัดอุณหภูมิทางรักแร้ซึ่งมีอุณหภูมิปกติ 36.4 °C (97.6 °F)
- หรือวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก
หรือช่องคลอด 37.6 °C (99.6 °F)
เมื่อไรจึงจะเรียกว่ามีไข้
หากคุณวัดอุณหภูมิได้เกิน 37.5 °C จะถือว่าคุณมีไข้
สาเหตุของไข้
ไข้อาจจะเกิดได้หลายสาเหตุดังนี้
- การติดเชื้อไม่ว่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อรา อาจจะติดเชื้อเฉพาะที่ เช่นฝี หรือ หนอง หรือผิวหนังอักเสบ
- ยาบางชนิดทำให้เกิดไข้ได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาเสพติด ยาแก้แพ้
- ร่างกายได้รับอันตราย เช่น อุบัติเหตุ เส้นเลือดสมองแตกหรือตีบ
- โรคบางชนิดทำให้เกิดไข้ เช่นต่อมไทรอยด์เป็นพิษ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อุปกรณ์สำหรับวัดอุณหภูมิมีกี่ชนิด
- ปรอทสำหรับวัดไข้ชนิดมาตราฐานทำจากแก้วและมีปรอทอยู่ข้างใน
- ปรอทวัดไข้ที่หู ทำจากplastic หลักการใช้แสง infrared ในการวัดไข้ โดยการใส่เข้าไปในรูหู อ่านผลเร็วเป็นตัวเลข
- ปรอทวัดไข้ชนิด electronic สามารถวัดไข้ได้ทั้งทางปาก ทวารหนัก และช่องคลอกบอกลเป้นตัวเลข
- ปรอทวัดไข้โดยการแตะที่หน้าผาก
วิธีการวัดความดันอุณหภูมิ
การวัดอุณหภูมิทางปาก
เป็นตำแหน่งที่นิยมวัดมากที่สุด การวัดตำแหน่งนี้ผู้ป่วยต้องหายใจทางจมูกได้ และไม่ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็น หรือสูบบุหรี่ก่อนวัดประมาณสามสิบนาที
- ใส่ปลายปรอทไว้ใต้ลิ้นข้างใดข้องหนึ่ง
- ปรอทบางชนิดจะส่งเสียงเตือนเมื่ออ่านอุณหภูมิได้ หรือรอจนกระทั่งอุณหภูมิคงที่ นำปรอทมาอ่านค่า
- ทำความสะอาดปรอทด้วน้ำสบู่แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง
การวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก
เป็นตำแหน่งที่วัดอุณหภูมิได้แม่นยำที่สุด เหมาะสำหรับการวัด ทารก เด็กเล็กที่อมปรอทไม่ได้ หรือผู้ใหญ่ที่อมปรอทไม่ได้ วิธีการวัดมีดังนี้
- ทายาหล่อลื่นที่ปลายปรอทอาจจะใช้ KY gelly เพื่อให้สอดปรอทได้ง่ายขึ้น
- ให้เด็กนอนคว่ำที่หน้าขาหรือนอนคว่ำบนเตียง
- แง้มแก้มก้น ใส่ปรอทเข้าไปในรูทวารประมาณครึ่งถึงหนึ่งนิ้ว ใช้สองนิ้วจับปรอทตรงใกล้รูทวาร
- มืออีกข้างปล่อยแก้มก้น
- รอจนสัญญาณเตือนหรืออุณหภูมิไม่ขึ้น
- นำมาอ่านผล
- อุณหภูมิที่วัดได้จะสูงกว่าที่วัดได้ทางปากประมาณ 0.6 °C
- นำไปทำความสะอาด
- ไม่ควรนำปรอทที่วัดทางทวารหนักมาวัดที่ปาก
วิธีการวัดไข้ที่รักแร้
การวัดไข้ที่รักแร้จะให้ผลไม่แม่นยำ หากวัดจากปากหรือก้นไม่ได้ค่อยวัดที่รักแร้ ค่าอุณหภูมิที่วัดจากรักแร้จะต่ำกว่าที่วัดจากปากประมาณ0.6 °C
- ใส่ปรอทไว้บนสุดของซอกรักแร้
- ปล่อยแขนลงแนบลำตัว
- รอสักครู่หรือจนอุณหภูมิไม่ขึ้น
- นำปรอทมาอ่านผล
การวัดความดันที่หู
- ตรวจสอบปรอทว่าสะอาด หากมีสิ่งสกปรกต้องเช็ดออก
- เปิดเครื่องวัด
- หากเป็นเด็กให้ดึงติ่งหูไปข้างล่างและออกหลัง แล้วใส่เครื่องวัดเข้าไปในรูหู
- หากเป็นผู้ใหญ่ให้ดึงขึ้นและไปข้างหลัง
- กดปุ่มวัดอุณหภูมิ
- นำปรอทออกมาและอ่านผล
ข้อผิดพลาดของการตรวจ
การวัดอุณหภูมิอย่างถูกต้องจะทำให้เราติดตามโรคได้อย่างใกล้ชิด ข้อผิดพลาดเหล่านี้จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด
- ขณะวัดไข้ทางปาก ปากหุบไม่สนิท หรือหายใจทางปาก
- ใส่ปรอทไว้ในปากไม่น่นพอ
- ใส่ปรอทไม่ถูกที่
- ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ
- วัดอุณหภูมิหลังสูบบุหรือหรือดื่มน้ำอุ่นใน 20นาที
- วัดไข้หลังอาบน้ำอุ่น
การคลำชีพขจร การวัดอุณหภูมิ การนับการหายใจ การวัดความดันโหิต