jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกในระยะไข้สูง


การดูแลในระยะนี้ญาติอาจจะต้องดูแลเอง ถ้าแพทย์ยังไม่ได้รับตัวไว้ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยไข้เลือดออกร้อยละ 70จะมีไข้ 4-5 วัน ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะช็อกในวันที่ 5 ของไข้ แต่ก็มีบางคนร้อยละ 2-10จะมีไข้สูง2-3 วัน ดังนั้นวันที่ช็อกเร็วที่สุดคือ 3 วันนับจากวันที่มีไข้

  1. จะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ตรวจพบ และป้องกันภาวะช็อคได้ทันเวลา ช็อคมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับเวลาที่ไข้ลง ประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรคแพทย์อาจจะนัดตรวจทุกวัน หรืออาจจะนัดตามความเหมาะสมจนกว่าไข้จะลง 24 ชั่วโมง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการปกติ

  1. เมื่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำ toumiquet test ทุกรายที่ไข้สูงน้อยกว่า 7 วัน และทำการตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด และนัดตรวจซ้ำเป็นระยะ เม็ดเลือดขาวต่ำลงพร้อมกับเกล็ดเลือดต่ำลง และมีความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้นแสดงว่ามีการรั่วของน้ำเหลืองออกจากกระแสเลือด และอาจจะช็อคได้
  2. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในระยะแรกของการมีไข้ หากมีอาการดังกล่าวเบื้องต้นจึงรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก

การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพต้องประกอบไปด้วย บุคลากรที่ได้รับการอบรมเป็นอย่างดี การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย มียาและคลังโลหิตที่ทันสมัย การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออัตรารอดชีวิต ในการรักษาจะแบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม

ไข้เลือดออก ชนิดของไข้เลือดออก การดำเนินของโรค การดูแล การทำtourniquet การระบาด ผลการตรวจเลือด การป้องกัน ยุง วิธีการดูแลผู้ป่วย การรับรู้อาการช็อกระยะเริ่มแรก