การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า
แพทย์ทั่วไปจะตรวจร่างกายเพื่อจะหาสาเหตุทางกาย เช่นโรคติดเชื้อไวรัส
หรือยาที่ผู้ป่วยรับประทาน ประวัติการดื่มสุรา ยาเสพติด ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
หากสงสัยว่าจะเป็นโรคซึมเศร้าจิตแพทย์ก็จะประเมินสภาวะจิตใจของผู้ป่วย
การรักษาโรคซึมเศร้า
- การช้อคไฟฟ้า Electroconvulsive therapy (ECT) เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นรุนแรง หรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยา๖นโทมนัส หรือใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
- การใช้ยาต้านโทมนัส ยาที่ใช้รักษามีด้วยกันหลายกลุ่มได้แก่
- selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
- tricyclics
- monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) ผู้ที่รับประทานยากลุ่มนี้จะต้องระวังอาหารที่มีส่วนผสมของ tyramine ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง อาหารดังกล่าวได้แก่ cheeses,
wines, pickles, ยาลดน้ำมูก
แพทย์อาจจะเลือกใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือใช้ยาหลายชนิดรวมกัน โดยมากจะเริ่มเห็นผลใน 2-3 สัปดาห์และให้รับประทานต่อไปประมาณ 1 เดือนยาจะออกฤทธิ์เต็มที่เมื่อรับยาไปแล้ว 8 สัปดาห์
ช่วงแรกของการรับประทานยาอาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาก่อนจะเห็นผลดีให้รับประทานต่อ เมื่ออาการดีขึ้นอย่าเพิ่งหยุดยาจนกระทั่งไปทำงานได้โดยจะต้องรับประทาน 4-9 เดือน
โดยแพทย์จะค่อยๆหยุดยาเพื่อให้ร่างกายปรับตัว
ผลข้างเคียงของยา
ผลข้างเคียงพบได้ไม่รุนแรงหายเองได้
แต่หากเกิดผลข้างเคียงที่รบกวนคุณภาพชีวิตให้ปรึกษาแพทย์
ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ
- ปากแห้ง แก้โดยการเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดื่มน้ำมากๆ
- ท้องผูก แก้โดยการรับประทานผลไม้ให้มาก
- ปัสสาวะไม่พุ่งหรือปัสสาวะลำบาก
- ตามัว
- เวียนศีรษะ
- ง่วงนอน
ผลข้างเคียงของยากลุ่มใหม่
- ปวดศีรษะ อาการนี้จะหายไปเอง
- คลื่นไส้อาเจียนซึ่งเป็นชั่วคราว
- นอนไม่หลับและหงุดหงิด
- ปัญหาทางเพศสัมพันธ์
- กระวนกระวาย
การดูแลตัวเอง
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะท้อถอย สิ้นหวัง ไม่มีค่า ทำให้ผู้ป่วยยอมแพ้
โปรดจำไว้ว่าความรู้สึกและความจริงไม่เหมือนกัน
- ให้ดำเนินชีวิตตามตารางงาน
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
- ให้ค่อยๆเพิ่มรับผิดชอบงานที่ได้รับ
- ตั้งเป้าหมายให้สามารถทำได้ อย่าให้เกินความสามารถของตัวเอง
- อย่าทำงานใหญ่เกินตัว แบ่งงานเป็นโครงการเล็กๆ
ให้จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของงาน
- ให้มีสังคมกับผู้อื่นเพราะการอยู่คนเดียวจะทำให้อาการเป็นมากขึ้น
- ให้มีกิจกรรมที่ชอบเช่น การเล่นกีฬา ดูหนัง ฟังเพลง
- อารมณ์จะค่อยๆดีขึ้นอย่างช้าๆหลังการรักษา
- หากจะต้องมีการตัดสินใจสำคัญ เช่น การแต่งงาน การเปลี่ยนงาน
ให้เลื่อนไปก่อนจนกระทั่งอาการซึมเศร้าดีขึ้น
- นอนพักอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ก่อนรับประทานยาใหญ่ให้ปรึกษากับแพทย์ถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
ลองตรวจสอบตัวท่านหรือคนใกล้เคียงว่ามีใครเป็นโรคซึมเศร้าบ้าง
ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ท่าน
- รู้สึกกลุ้มใจซึมเศร้าทุกๆวันหรือทั้งวัน หรือไม่
- รู้สึก เบื่อทุกๆสิ่ง หรือไม่
- เบื่ออาหาร หรือไม่
- มีปัญหาในการ นอนหลับ หรือไม่
- รู้สึกกระวน กระวาย (หรือ ซึมๆ เนือยๆ) หรือไม่
- รู้สึกเพลีย เหนื่อยง่าย หรือไม่
- รู้สึกผิดหวังไร้ค่าไร้ความสามารถ หรือไม่
- รู้สึกใจลอยไม่มีสมาธิหรือไม่
- รู้สึกเบื่อชีวิตคิดอยากฆ่าตัวตายหรือไม่
ถ้า ท่าน มีอารมณ์เศร้าเบื่อทุกๆอย่านานกว่า 2 สัปดาห์ และมีอาการต่อไป นี้อีกอย่าง น้อย 4 ข้อ ท่านอาจเป็นโรคซึมเศร้า
- เบื่ออาหาร ผอมลง
- นอนไม่หลับ
- กระวน กระวาย หรือซึมๆ เนือยๆ
- อ่อนเพลียง่าย
- รู้สึกผิด ไร้ค่า
- ขาดสมาธิ
- คิดอยากตาย
โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยของจิตใจ ผู้ป่วยร้อยละ 70-80 รักษาได้ด้วยยาแก้ซึมเศร้า หากท่านหรือญาติพี่น้องหรือเพื่อนร่วมงานของท่านมีอาการซึมเศร้าโปรดติดต่อแพทย์ของท่านหรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช
สาเหตุของโรคซึมเศร้า การวินิจฉัยและการรักษา | โรคซึมเศร้า | แบบประเมินโรคซึมเศร้า