jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

สาเหตุโรครูมาตอยด์


สาเหตุและพยาธิกำเนิด

โรคนี้เป็นโรคข้ออักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของโรคนี้ ได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมน เชื้อโรค และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น บุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้นอกจากจะเกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคนี้แล้วยังอาจเกี่ยวข้องกับความรุนแรง (severity) ของโรคด้วย

 พันธุกรรม

มีรายงานความสัมพันธ์ระหว่างยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนบนผิวเซลล์ที่เรียกว่าmajor histocompatibility complex (MHC) class ll กับการเกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยเฉพาะ HLA DR4 allele ในชาว Caucasian และชาวญี่ปุ่น และ HLA DR6 allele ในชาวยิวและชนพื้นเมืองอเมริกา แต่อาจมีความแตกต่างกันใน subtype ของยีนส์ในแต่ละเผ่าพันธุ์

 ฮอร์โมน

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์พบบ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ในอัตราส่วน 2:1 ถึง 3:1 นอกจากนี้ผู้ป่วยรูมาตอยด์หญิงที่ตั้งครรภ์จำนวนมากมักมีอาการทางข้อดีขึ้นในช่วงไตรมาสแรกและสอง และสามารถเข้าสู่ระยะโรคสงบได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ดี ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเหล่านี้จะมีโรคกำเริบหลังคลอด จากลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคนี้ จากการศึกษาพบว่าเอสโตรเจนนั้น

เชื้อโรค

 จากการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิกำเนิดของโรคพบว่ามีเชื้อโรค หรือส่วนประกอบของเชื้อโรค เช่น antigen หลายชนิดอยู่ในเยื่อหุ้มข้อที่มีการอักเสบ ทำให้เชื่อว่าเชื้อโรคหลายชนิดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ด้วยกลไกต่าง ๆ กัน เช่น staphylococcal toxin การติดเชื้อ Epstein-Barr virus หรือ E. coli

บุหรี่

จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดรูมาตอยด์

พยาธิสภาพของข้อผู้ป่วยที่มีโรครูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์ อาการของโรครูมาตอยด์