อาการและอาการแสดงโรครูมาตอยด์


เนื่องจากโรครูมาตอยด์เป็นการอักเสบของข้อและเป็นโรคที่มีการอักเสบของร่างกายทั้งระบบ ดังนั้น อาการและอาการแสดงในผุ้ป่วยโรคนี้จึงประกอบด้วยท

  1. อาการทางข้อ (articular manifestation)
  2. และอาการของอวัยวะอื่นนอกข้อ (extra- articular manifestation)
  3. อาการอื่นที่เป็นผลจากภาวะแทรกซ้อน และโรคร่วมอื่น ๆ ได

1. อาการทางข้อรูมาตอยด์ (articular manifestation)

รูมาตอยด์ลักษณะที่สำคัญของข้ออักเสบรูมาตอยด์คือ

  • ข้ออักเสบ คือมีอาการปวด บวม แดง ร้อน และกดเจ็บบริเวณข้อที่ปวดที่ข้อ
  • มักจะปวดข้อและขยับข้อลำบากในตอนเช้าเป็นเวลานาน 30 นาที
  • อาการปวดอาจเป็นได้เป็นเวลาปีๆ
  • อาการผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกันได้
  • มักจะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวร่วมด้วย
  • ลักษณะเด่นทางข้อในผู้ป่วยโรคนี้คือข้ออักเสบเรื้อรังหลายข้อ
  • ข้อที่อักเสบมักจะเป็นสองข้างเหมือนกัน
  • ส่วนมากอาการตอนเริ่มเป็นมักจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
  • ข้อที่พบการอักเสบเป็นได้ทั้งข้อขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่
  • ตำแหน่งที่พบเป็นได้ทั้งข้อกระดูกแกนกลางเช่นกระดูกสันหลัง ข้อมือ ข้อนิ้ว
  • ข้อที่พบมีการอักเสบได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อนิ้วมือส่วนต้น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อระหว่างกระดูกเท้า ข้อโคนนิ้วเท้า
  • ส่วนข้ออื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ ข้อศอก ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ
  • ผู้ป่วยเหล่านี้มีอาการปวดข้อ ร่วมกับข้อฝืดขัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน (morning stiffness) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มโรคข้ออักเสบ โดยทั่วไปผู้ป่วยมักมีข้อฝืดขัดตอนเช้านานกว่า30นาทีถึง 1 ชั่วโมง


 2. อาการของอวัยวะอื่นนอกข้อ (extra-articular manifestation)

รูมาตอยด์โรครูมาตอยด์เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของร่างกายทั้งระบบ ดังนั้น นอกจากอาการทางข้อซึ่งเป็นอาการเด่นแล้ว ผู้ป่วยที่มีการอักเสบรุนแรงก็จะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่

  • ไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีลักษณะทางคลินิก ที่บ่งถึงการอักเสบของอวัยวะอื่น ๆ อาการของอวัยวะอื่นนอกข้อพบได้ร้อยละ 36-40
  • อาการที่พบบ่อยที่สุดคือปุ่มรูมาตอยด์ พบร้อยละ 17-25
  • รองลงมา ได้แก่ ภาวะตา และปากแห้ง (keratoconjunctivitis sicca) และ Sjogren’s syndrome พบร้อยละ 17-18
  • อาการนอกข้อนั้นพบบ่อยในเพศชาย ผู้ที่ป่วยเป็นโรครุมาตอยด์มานาน ผู้ป่วยที่มีข้อผิดรุป หรือพิการ การสูบบุหรี่ ผู้ป่วยที่ตรวจพบ rheumatoid factor หรือ anti-nuclear antibody(ANA) ในเลือด บางการศึกษารายงานความสัมพันธ์ระหว่าง HLA DR4 และ HLA DRB1 กับอาการนอกข้ออีกด้วย

ตรวจร่างกาย

  • รูมาตอยด์มักพบข้อบวม ผิดรูป แดง ร้อน และกดเจ็บ ซึ่งเป็นลักษณะที่แสดงถึงการอักเสบของข้อ ข้อที่บวมนั้นอาจเกิดจากการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ และ/หรือมีน้ำไขข้อเพิ่มขึ้นจากการอักเสบ
  • การอักเสบของข้อทำให้ข้อนั้นมีพิสัยการเคลื่อนไหว ลดลงเนื่องจากความเจ็บปวด และการบวมของเนื้อเยื่อในข้อและรอบ ๆ ข้อ
  • การอักเสบนี้ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้งานข้อได้ตามปกติ ภาวะนี้หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที อาการข้อบวม แดง ร้อนและผิดรูปก็จะหายไปได้ และผุ้ป่วยก็จะสามารถกลับมาใช้งานข้อได้ตามปกติ แต่หากผู้ป่วยมิได้รับการรักษาที่เหมาะสม และทันท่วงที กระดูกและกระดูกอ่อนก็จะถูกทำลายและผุกร่อนร่วมกับเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อนั้นถูกทำลายฉีกขาด จากการอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มเส้นเอ็น ด้วย ทำให้ข้อนั้นเคลื่อนหลุดและผิดรูป ส่งผลให้เกิดภาวะทุพพลภาพอย่างถาวร ตามมา
  • นอกจากนี้การที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้ข้อนั้นเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และลีบเล็กลง ยิ่งทำให้ผู้ป่วยใช้ข้อลำบากยิ่งขึ้น

 ภาวะข้อและเยื่อหุ้มเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดข้อพิการ และผิดรูปแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น

  • อ่อนแรงแขนขาเนื่องจากมีการเคลื่อนตัวของกระดูกต้นคอทำให้เกิดการกดทับไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการมาก หรือน้อยขึ้นอยุ่กับตำแหน่งและความรุนแรงขแงการกดทับ ลักษณะทางคลินิกที่บ่งถึงภาวะกระดูกต้นคอเคลื่อน และการกดทับของไขสันหลัง ได้แก่ ความรู้สึกว่าศีรษะแกว่งมาข้างหน้าโดยเฉพาะเวลาก้มศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืด หมดสติ กลั้นปัสสาวะ และอุจจาระไม่ได้ กลืนเจ็บ ชามือ และแขน อัมพาต หรืออัมพฤกษ์
  • เสียงแหบ และทางเดินหายใจส่วนบนอุดตัน เกิดจากการอักเสบของข้อ cricoarytenoid ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการข้อฝืดขัดในตอยเช้า เสียงจะแหบแต่พอพูดสักพักเสียงจะดีขึ้น ถ้าข้อมีการอักเสบเรื้อรังจนเกิดภาวะข้อเชื่อมติดกัน (ankylosis) และ vocal cord ติดในท่าปิด จะทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจ และตรวจพบ inspiratory stridor ได้
  • หูดับ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของข้อต่อระหว่างกระดูกค้อน ทั่งและโกลนใบหูเรื้อรังจนทำให้ข้อทั้งสามเชื่อมติดกัน (ankylosis) และไม่สามารถส่งสัญญาณเสียงได้ตามปกติ
  • ภาวะเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ Carpal tunnel syndrome เกิดจากการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อมือจนบางครั้งไปกดเบียด median nerve ทำให้ผุ้ป่วยมีอาการชา และอ่อนแรงที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง อ่านที่นี่
  • นิ้วล็อคTrigger finger เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นของนิ้วมือทำให้เกิด นิ้วล็อคได้บ่อยในผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากนี้เส้นเอ็นที่อักเสบมานานอาจจะเปื่อยและขาด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถงอนิ้วนั้นได้ ภาวะนี้พบบ่อยที่เส้นเอ็น flexor pollicis longus ของนิ้วหัวแม่มือ
  • เอ็นหุ้มข้ออักเสบ de Quervain’s disease เกิดจากภาวะปลอกหุ้มเอ็น tenosynovitis ของ abductor pollisis longus และ extensor pollisis brevis อักเสบ ทำให้เส้นเอ็นบวม และเกิดความเจ็บปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือร้าวมายังข้อมือและแขนเมื่อมีการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น การหยิบจับสิ่งของ การปิด หรือเปิดฝาขวดแบบหมุน อ่านที่นี่
  • เส้นเอ็นขาดจากการที่กระดูกบริเวณ ulnar styloid ผุกร่อน  จนเกิดเป็นปลายแหลมคมและบาดเส้นเอ็น extensor digiti minimi และ extensor carpi ulnaris ขาด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเหยียดนิ้วนาง และนิ้วก้อยข้างนั้นได้ โดยอาการมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยมักไม่มีอาการเจ็บปวด
  • Baker cyst หรือ popliteal cyst เกิดจากการที่ข้อเข่าอักเสบเป็นเวลานาน และมีการสร้างน้ำไขข้อจำนวนมากส่งผลให้ความดันในข้อเข่าสูงขึ้นมาก เกิดเป็นแรงดันทำให้ capsule โป่งไปยังส่วนหลังของเข่า บริเวณ popliteal fossa เกิดเป็นถุงน้ำที่เรียกว่า baker cyst หรือ popliteal cyst บางครั้งถุงน้ำอาจจะแตก ถ้ามีความดันในข้อเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว เช่น นั่งยอง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้น้ำในข้อเข่าไหลเซาะมายังน่องทำให้มีอาการปวด และบวมที่น่อง ลักษณะคล้ายกับภาวะ acute thrombophlebitis หรือ deep vein thrombosis บางครั้งพบรอยช้ำ คล้ายห้อเลือดที่บริเวณใต้ตาตุ่มด้านนอก (lateral malleolous) ที่เรียกว่า “crescent sign”

3. โรคร่วมอื่น ๆ

นอกจากอาการทางข้อ และอาการของอวัยวะอื่นนอกข้อแล้วผู้ป่วยโรคนี้ยังมีอัตราการตายสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปที่มีอายุเท่ากัน ผลจากการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

  • เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ และหลอดเลือดร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปที่มีอายุเท่ากัน และเพศเดียวกัน
  • ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ และหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายถึงร้อยละ 23
  • ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันสูงขึ้น ใกล้เคียงกับผู้ป่วยเบาหวาน
  • ภาวะอักเสบเรื้อรังในร่างกายจากโรครูมาตอยด์ทำให้เกิดมีหลอดเลือดแข็ง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนในหัวใจ และหลอดเลือดในผู้ป่วยเหล่านี้