หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

โรคปวดข้อรูมาตอยด์  Rheumatoid Arthritis

โรครูมาตอยด์เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเด่นคือ มีการเจริญงอกงามของเยื่อบุข้ออย่างมาก เยื่อบุข้อนี้จะลุกลามและทำลายกระดูกและข้อในที่สุด โรคนี้มิได้เป็นแต่เฉพาะข้อเท่านั้น ยังอาจมีอาการทางระบบอื่น ๆ อีก เช่น ตา ประสาท กล้ามเนื้อ เป็นต้น

พยาธิสภาพ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อักเสบคืออะไร

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายข้อตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เนื้อเยื่อรอบข้อ อาการที่สำคัญคือปวดข้อและอาการนอกข้ออ่านรายละเอียดที่นี่

จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าโรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 0.5-1.5 ของประชากร สำหรับในประเทศไทยนั้นจากการศึกษาของพรชิตา ชัยอำนวย และคณะพบความชุกของโรคนี้ร้อยละ 0.12 ถึงแม้ว่าโรคนี้จะมีความชุกค่อนข้างต่ำ แต่โรคนี้ก็เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดากลุ่มโรคข้ออักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ อุบัติการณ์ของโรคนี้สูงขึ้นตามอายุ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 75 ปี แต่อุบัติการณ์ในเพศชายจะใกล้เคียงกับเพศหญิงในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นเมื่ออายุมากกว่า 75 ปี



สาเหตุ

สาเหตุยังไม่ทราบแต่เชื่อว่าเป็นโรค Autoimmune หมายถึงมีความผิดปรกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายข้อตัวเอง นอกจากนั้นยังพบว่า กรรมพันธ์ ฮอร์โมน บุหรี่ การติดเชื้อเป็นตัวกระตุ้นทำให้โรคกำเริบ

อ่านรายละเอียดที่นี่


อาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นอย่างไร

อาการที่พบบ่อยได้แก่

อาการอื่นๆที่พบได้

อ่านรายละเอียดที่นี่


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะเป็นการตรวจเลือด และการตรวจทางรังสี การตรวจเลือดแบ่งเป็น

การตรวจทางรังสี

อ่านรายละเอียดที่นี่


การวินิจฉัย

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้แบ่งออกเป็น 4 หมวดประกอบด้วย

รวบรวมคะแนนหากมากกว่า 6 คะแนนจะช่วยวินิจฉัย

อ่านรายละเอียดที่นี่


การรักษา

การรักษา

การรักษาทั่วไป

การรักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาแบ่งงอกเป็น

การใช้ยา ในปัจจุบันมียามากมายที่ใช้ในการควบคุมและรักษาโรครูมาตอยด์ให้ได้ผลดี ยาเหล่านี้ได้แก่ยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ผู้ป่วยแต่ละรายจะตอบสนองต่อยาเหล่านี้แตกต่างกันออกไป ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงทางด้านระบบทางเดินอาหารและระบบไตได้ ในรายที่เป็นรุนแรง มีอาการมากและข้อถูกทำลายมาก แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ายาระดับที่ 2 ซึ่งได้แก่ ยาต้านมาลาเรีย ยาทองคำ ยาเมทโธเทรกเซท ยาซัลฟาซาลาซีน เป็นต้น ยาเหล่านี้ไม่มีฤทธิ์ในการระงับการเจ็บปวด แต่จะช่วยระงับการลุกลามของโรคได้ แต่เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่รุนแรงจึงควรใช้ในรายที่มีอาการรุนแรงและใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น อนึ่ง ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นยาที่มีผู้นำเอามาใช้ในการรักษาโรครูมาตอยด์เป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากยานี้มีคุณสมบัติในการระงับการอักเสบของข้อได้ แต่จากการศึกษาในระยะหลัง ๆ พบว่ายาชนิดนี้ไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงการดำเนินของโรคเลย แต่เมื่อใช้ยานี้ไปนาน ๆ ผู้ป่วยจะติดยาและไม่สามารถเลิกยาได้ พร้อมทั้งเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาชนิดนี้มากมาย เช่น อ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตาเป็นต้อกระจก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกระดูกผุ เป็นต้น จึงไม่ควรเป็นอย่างยิ่งในการนำยานี้มาใช้รักษาผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ยกเว้นในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถรักษาด้วยยาชนิดอื่นแล้ว และควรดูแลควบคุมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

การผ่าตัด

การผ่าตัด จะมีบทบาทในการรักษาโรครูมาตอยด์ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว หรือกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เอ็นขาด เป็นต้น การผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนข้อจะช่วยให้ข้อทำงานได้ดีขึ้น

รายละเอียดอ่านที่นี่


ผลของโรครูมาตอยด์

เมื่อเป็นโรครูมาตอยด์จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
เมื่อเป็นโรครูมาตอยด์ เยื่อบุข้อจะมีการเจริญงอกงามและมีการหนาตัว จากนั้นจะลุกลามทำลายกระดูกและข้อในที่สุด ในระยะแรกผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้อ มีอาการฝืดขัดข้อเป็นเวลานานในตอนเช้า เมื่อมีอาการชัดเจนข้อจะมีการบวม ร้อน และปวด โรคนี้สามารถเป็นได้กับทุกข้อของร่างกาย แต่ที่พบได้บ่อยคือข้อของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า อาการของข้ออักเสบจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงแบบเฉียบพลันได้ บางรายอาจมีไข้ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการทางระบบตา ปอด และมีปุ่มขึ้นตามตัวได

ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ในระยะยาวจะเป็นเช่นไร

รายละเอียดอ่านที่นี่