โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังAtopic dermatitis
เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังผู้ป่วยมักจะมีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย เช่น โรคหอบหืด แพ้อากาศ สาเหตของโรคไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรมเข้าไปเกี่ยวข้องโดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น มักจะพบในเด็กโดยพบได้ประมาณร้อยละ 9-17 โรคนี้จะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้โรคกำเริบได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ การถูกสารระคายผิว มีการติดเชื้อของร่างกาย อาการของโรค
อาการที่สำคัญคือ คัน มีผื่นแดงแห้งเป็นขุย มักจะไม่มีตุ่มน้ำ ผื่นเหล่านี้จะติดเชื้อได้ง่ายกลายเป็นตุ่มหนอง และมีน้ำเหลืองไหล
ตำแหน่งที่เกิดโรค
มักจะเป็นบริเวณ แก้ม คอ ข้อพับ ผื่นของเด็กมักจะเกิดที่ศีรษะ หน้า ผื่นของผู้ใหญ่มักจะเกิดที่ ข้อศอก ข้อเข่า คอมือ และเท้าตำแหน่งของผื่นที่พบได้บ่อยได้แก่ คอ ข้อพับ ข้อมือ เข่า ข้อเท้า ลักษณะสำคัญของโรคนี้อ่านที่นี่
ลักษณะที่สำคัญของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic dermatitis
ตำแหน่งผื่นที่พบบ่อยได้แก่ ศรีษะ แก้ม ข้อพับ ตอ ข้อมือ ข้อเท้า
|
ลักษณะที่สำคัญที่พบบ่อย
- อาการคันที่ผิวหนัง pruritus
- อาการผื่นเป็นๆหายๆ
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้
- มีการกระจายของผื่นเข้าได้กับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ลักษณะที่พบร่วมกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- ทางตา
- ต้อกระจก
- keratoconus
- ขอบตาดำ
- หน้าซีด Facial pallor
- ผิวแห้ง Xerosis
- กลากน้ำนม pityriasis alba
- ตุ่มคันที่ผิวหนัง
- ผิวหนังเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- แพ้อาหาร
- ผิวแดง
การรักษา
- คำแนะนำทั่วไปสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวเพราะการดูแดที่ดีจะป้องกันการกำเริบของโรค
- ให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคือง เช่น อาบน้ำวันละครั้ง ไม่ควรใช้น้ำร้อนและใช้น้ำให้น้อยที่สุด ใช้สบู่อ่อนฟอกเฉพาะรักแร้ คอ และขาหนีบ
- หลังอาบน้ำปล่อยให้แห้ง หรือใช้ผ้าแห้งซับ ห้ามขัดหรือถู
- ควรจะตัดเล็บให้สั้น
- ไม่ควรใช้ผ้าขนสัตว์ หรือผ้าเนื้อหยาบ
- อุณหภูมิรอบตัวให้พอเหมาะ ไม่ควรร้อนหรือหนาวไป
- เวลานอนควรจะเปิดแอร์ เพราะเหงื่อจะระเคืองต่อผิวหนัง
- ลดการกระทบกระเทือนทางอารมณ์
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น นม ขนมปัง อาหารทะเล
- หลีกเลี่ยงยากลุ่ม penicillin,sulfonamides
- ไม่ควรปลุกฝีขณะมีผื่น และไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคสุกใส
- บริเวณที่ผิวแห้งให้ทาครีมหลังอาบน้ำ
- การใช้สารให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง เนื่องผู้ป่วยผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีผิวแห้งการใช้ยาทาที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง จะช่วยลดการกำเริบของโรค ครีมหรือยาทาจะต้องไม่มีส่วนประกอบของสารกันเสียและน้ำหอมเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ การเลือกใช้ครีมบำรุงผิวชนิดใดขึ้นกับความชอบ แต่ไม่ควรใช้หนาเกิดไปเพราะอาจจะเกิดความเหนอะหนะ และอาจจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย วิธีการทาให้ทาหลังอาบน้ำภายใน 3 นาทีและสามารถทาร่วมกับยาชนิดอื่นได้
- ยาทา steroidช่วยลดการอักเสบได้เร็ว และป้องกันการกำเริบของผื่น แต่ข้อเสียคือหากใช้ไปนานๆจะทำให้ผิวบาง เส้นเลือดฝอยแตกและติดเชื้อได้ง่าย โดยใช้ steroid อ่อนๆ เช่น betamethasone 0.02%ทาวันละ 3 ครั้งห้ามใช้ยา steroid ที่แรงๆ
- ควรใช้ยาที่เป็น ointment โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่แห้ง
- แม้ว่าจะใช้ยา steroid ก็อาจจะเกิดอาการแพ้ได้
- การเลือกยาครั้งแรกอาจจะใช้ hydrocortisone 1% powder in an ointment ทาผื่นที่หน้าวันละ 3 ครั้ง
- สำหรับยาที่มีความเข้มเพิ่มขึ้นเช่น desonideหรือ triamcinolone หรือ betamethasone valerate ทาบริเวณลำตัววันละครั้งจนผื่นดีขึ้น
- Immunomodulators เป็นยากลุ่มใหม่ที่ใช้รักษาโรคผื่นภูมิแพ้ซึ่งมีประสืทธิภาพเหมือนยาทา steroid แต่ผลข้างเคียงในระยะยาวน้อยกว่ายาทา steroid ยาในกลุ่มนี้มีสองชนิด คือ Tacrolimus และ Pimecrolimus แต่มีคำเตือนว่าอาจจะเกิดมะเร็งได้ดังนั้นการใช้ยาควารจะมีการใช้ตามข้อบ่งชี้
- การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และตัวกระตุ้น เป็นหลักการสำคัญหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยเพราะทำให้ผื่นดีขึ้นและสามารถควบคุมอาการ สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยคือ นมวัว ไข่ขาว ถั่ว ไรฝุ่น ขนสัตว์ ความเครียด
โรคผื่นแพ้ nummer ผื่นแพ้ที่มือ สะเก็ดเงิน ผื่นแพ้ atopic ผื่นแพ้จากการสัมผัส ผื่นแพ้ lichen seborrheic dermatitis