การเลือกครีมกันแดด


แสงอาทิตย์จะมีรังสี UVA UVB รังสีทั้งสองสามารถทำให้เกิดผิวสีแทน (Tan) และอันตรายต่อผิวหนัง รังสี UVB จะมีมากในช่วง 10-16.00น.รังสีนี้จะทำให้ผิวหนังเราไหม้การวัดประสิทธิภาพของยากันแดด

ใน ระยะแรกก็จะเน้นที่ความสามารถในการป้องกันผิวไหม้แดงนั่นคือ สามารถดูดซับแสง UVB ได้ดี หรือคือค่า SPF (sun protective factor) ค่า SPF 15 มีความหมายว่าในกรณีที่ท่านทายากันแดดอย่างทั่วถึงในความหนา 2 มิลิกรัมต่อพื้นที่ผิวหนังหนึ่งตารางซม. ท่านจะต้องใช้เวลาตากแดดเพิ่มขึ้นถึง 15 เท่าจึงจะทำให้ผิวไหม้แดง ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์จริงถ้าอยู่กลางแสงแดดจัดเวลาเที่ยงบริเวณชายทะเล ในเวลาประมาณ 15 นาทีจะทำให้ผิวหนังแดงได้ การใช้ยากันแดด SPF 15 อย่างทั่วถึงจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น 15 เท่าจึงจะเกิดผิวไหม้แดง นั่นคือเท่ากับ 15x15 คือ 225 นาที หรือ 3 ชม. 45 นาที

ในขณะที่รังสี UVA จะพบได้ตลอดวันและทำลายผิวหนังชั้นลึกกว่า UVB แต่ปริมาณรังสีในอากาศมีไม่มาก แม้ว่าจะใช้ครีมกันแสงดีอย่างไรก็มีแสงบางส่วนเล็ดรอดไปสู่ผิวหนังได้ ดังนั้นในความเป็นจริงอาจจะเป็นเวลาประมาณ  2 ชม. ดังนั้นอาจจะต้องทาครีมกันแดดทุก 1-2 ชั่วโมง ที่ดีคือหลีกเลี่ยงแสงแดด

ยากันแดดในปัจจุบันจึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันแสง UVA เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจาก UVA ก็สามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้เหมือน UVB แต่การวัดประสิทธิภาพของการป้องกันแสง UVA ยังไม่มีมาตรฐานสากลเหมือนค่า SPF สำหรับยากันแดดที่มีฉลากว่ากันได้ทั้ง UVA, UVB นั้น ในต่างประเทศได้มีผู้นำมาทดสอบพบว่า ความสามารถในการป้องกัน UVA ต่างกันมาก และไม่สัมพันธ์กับค่า SPF ที่สูงขึ้น เช่น ยากันแดดที่มีค่า SPF 45 ไม่สามารถกัน UVA ได้ดีกว่ายากันแดดที่มีค่า SPF 15 เป็นต้น ทำให้มีปัญหากับผู้บริโภคในการเลือกใช้อย่างเหมาะสม

รังสี UVB รังสีUVA
ฤดูร้อนรังสีมีมาก มีรังสีตลอดทั้งปี
พบรังสีมากในช่วง 10-14 น. พบได้ตลอดวัน
กระจกรถยนต์กันรังสีได้ กระจกรถยนต์กันไม่ได้
ครีมที่มี SPF ครีมที่มี SPFกันรังสีไม่ได้
ก่อให้เกิดผิวไหม้ มะเร็งผิวหนัง ผิวแก่ มะเร็งผิวหนัง ผิวแก แพ้ยา
การเลือกครีมกันแดด

ครีมกันแดดออกฤทธิ์โดยการดูดแสง หรือสะท้อนแสงออกไป มีด้วยกันหลายชนิดคือ เป็นโลชัน ครีม เยล สเปรย์ การเลือกต้องเลือก SPF ที่มีตัวเลขมากๆซึ่งจะกันแสงได้ดี นอกจากนั้นยังมีครีมกันแดดที่กันทั้งUVB  และ UVA

สารกันแดดที่กัน UVB จะกันรังสีช่วง 290-320 nanometersจะมีสาร

  • Benzophenones :dioxybenzone, oxybenzone, sulisolxybenzone
  • Cinnamates: cinoxate, octocrylene, octyl methoxycinnamate
  • PABA derivatives: ethyl-4-(hydroxypropyl)aminobenzoate
  • Salicylates: octyl salicylate, trolamine salicylate

สารกันแดดที่มีฤทธิ์ป้องกัน UVA

จะกันรังสีช่วง 320-400 nanometers ครีมที่ป้องกันรังสีได้ดีคือ zinc oxide และ avobenzone  zinc oxide จะกันได้รังสีได้ทั้งสองชนิดสามารถใช้เป็นครีมชนิดเดียวที่กันรังสีได้ 2 ชนิด ส่วนสารอื่นที่กันรังสี UVA ได้บ้างได้แก่ Oxybenzone, Parsol 1789, TiO2, Mexoryl SX, XL เป็นต้น ซึ่งยากันแดดในท้องตลาดที่มีประสิทธิภาพกัน UVA ได้ดีน่าจะมีสารที่กล่าวแล้วข้างต้นผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไปในความเข้มข้น 2-3%

การทาครีมต้องทาก่อนออกแดดครึ่งชั่วโมง และควรทาซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมงแม้ว่าจะเป็นครีมที่กันน้ำ

วิธีป้องกันแสงแดด

  • ใช้ครีมกันแสงที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 ในส่วนที่ต้องสัมผัสแสงแดด รวมทั้งริมฝีปาก และมีสารเคมีที่กัน UVA ได้ดีอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น Oxybenzone + TiQ หรือ Parsol 1789+ ZnO เป็นต้น
  • ใช้ครีมกันแสงที่ทนต่อน้ำหากต้องว่ายน้ำหรือเหงื่ออกมาก
  • ให้ทาครีมทุก 1-2 ชั่วโมงหากต้องอยู่ในแสงตลอดเวลา
  • สวมเสื้อผ้า หมวกปีกว้าง แว่นกันแดด และกางร่มเสมอเมื่อต้องออกแดด
  • หาที่ร่มเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการออกแดดเวลา 10.00-16.00 นาฬิกาแม้ว่าจะมีเมฆก็ตาม
  • เมื่ออยู่ชายหาดควรจะอยู่ในที่ร่ม แต่แสง UV สามารถสะท้อนแสงกับทรายที่ชายหาด
  • สวมแว่นกันแดด
  • เสื้อผ้าที่บางหรือเปียกจะมีการสะท้อนแสงได้ไม่ดี ควรใส่เสื้อที่หนาและหลวมๆจะกันแสงได้ดี ควรใช้ผ้าฝ้ายป้องกันรังสีดีกว่าผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์
  • หากคุณไปเมื่อนอกที่มีหิมะตกก็ต้องทาครีมกันแดดเพราะหิมะจะสะท้อนแสงได้ดี

ควรทายากันแดดให้หนาเพียงพอ 15 นาทีก่อนอยู่กลางแดดและทาซ้ำทุก 1-2 ชม. ถ้าว่ายน้ำหรืออยู่กลางแดดจัดตลอดเวลา สำหรับการใช้ยากันแดดประจำวันในผู้ที่ทำงานในร่ม และใช้เวลานอกอาคารหรือรถยนต์เฉพาะช่างเช้าก่อน 9 นาฬิกาและหลัง 15 นาฬิกา อาจไม่มีความจำเป็นเนื่องจากแสง UVB, UVA สามารถผ่านกระจกรถที่ติดฟิล์มกรองแสงได้น้อยกว่า 5% และแสง UV ในช่วงเวลาเช้าตรู่และเย็นมีปริมาณน้อย โดยสรุป

การป้องกันอันตรายทั้งระยะสั้นและยาวจากแสงแดดควรเริ่มตั้งแต่วัยเด็กด้วยการให้ความรู้ ให้หลีกเลี่ยงการตากแดดจัด ป้องกันร่างกายอย่างมิดชิดด้วยเสื้อผ้า, แว่นตา, หมวก และร่มเลือกยากันแดดที่เหมาะสมกับกิจกรรมแต่ละประเภท แต่สิ่งที่ต้องระลึกไว้เสมอก็คือการได้อยู่กลางแสงแดดจะทำให้ร่างกายและจิตใจสดชื่นเนื่องจากมีการหลั่งของสาร Endorphin และร่างกายยังต้องการวิตามินดีจากแสงแดดเพื่อกระดูกแข็งแรงโดยเฉพาะในวัยเด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากปริมาณวิตามินดีจากอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นควรได้รับแสงแดดอย่างสม่ำเสมอครั้งละ 15-30 นาทีสัปดาห์ละ2-3 ครั้งในเวลาเช้าหรือบ่ายที่แสงแดดปานกลาง การป้องกันแสงแดดหรือการป้องกัน UV ควรจะทำตั้งแต่เป็นเด็กและให้ใช้หลายๆวิธีซึ่งจะป้องกันอันตรายต่อผิวหนัง

กลับหน้าแรก

เพิ่มเพื่อน