ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนแห่งความเป็นหญิง


ฮอร์โมนสำคัญที่มีบทบาทต่อความเป็นผู้หญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเอสโตรเจน 

เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ ตั้งแต่ผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยมีประจำเดือน เอสโตรเจนจะทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบอวัยวะเพศ หรือระบบสืบพันธุ์ให้เจริญเติบโตเต็มที่ เช่น ทำให้เต้านมขยายตัวขึ้น ทำให้มีการสะสมของไขมันตามลำตัวในลักษณะที่แตกต่างจากผู้ชาย (ในผู้หญิงไขมันจะสะสมตามแขน ขา และสะโพกค่อนข้างมากกว่าผู้ชาย)

หน้าที่ของเอสโตรเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทำให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้น และ รับการเปลี่ยนแปลง เตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างขึ้นจากรังไข่หลังไข่ตก เมื่อได้รับการ ปฏิสนธิจากสเปิร์มของเพศชาย ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสม ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง ทำ ให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่ถูกสร้างไว้หลุด ลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือนทุกๆ เดือน เป็นวงจรไปเรื่อยๆ ในชีวิตผู้หญิง ๑ คน จะมีประจำเดือน เกิดขึ้นรวมแล้วประมาณ ๔๐๐ รอบ ซึ่งหากกลไกดังกล่าวทำงานผิดพลาด หรือระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนไม่อยู่ในภาวะสมดุล ก็จะมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมีประจำเดือนเกิดขึ้น

นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงยังทำให้ร่างกาย และเนื้อเยื่อต่างๆ มีความแข็งแรง แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์ เช่น มีการขยายของหน้าอก มากขึ้น มีการสร้างมูกในช่องคลอดมากขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีฮอร์โมน ผู้หญิงก็จะดูเต่งตึง สดใส มีน้ำมี นวล เซลล์ต่างๆ จะเสื่อมสภาพช้าลง กระดูกก็ยังคงสภาพที่ค่อนข้างแข็งแรง ปัจจุบันเด็กผู้หญิงทั่วโลกมีแนวโน้มจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น (รวมทั้งเด็กไทย) นั่นคือ ประมาณ ๙ ปีขึ้นไป ทั้งนี้อาจมีเหตุปัจจัยความเจริญในด้านต่างๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และสภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันผู้หญิงก็จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนช้าลง

ภาวะหมดประจำเดือน

การหมดประจำเดือนเกิดขึ้นได้ ๒ กรณี คือ หนึ่ง หมดไปเองตามธรรมชาติ สอง เกิดจากการผ่าตัด เอารังไข่ออกเพื่อรักษาโรค ซึ่งจะทำ ให้เกิดอาการผิดปกติเร็วกว่าผู้หญิงที่หมดประจำเดือนตามธรรมชาติ อาการที่บ่งบอกว่าได้ย่างเข้าสู่ วัยทองแล้ว ในผู้หญิงอาจจะแสดงอาการล่วงหน้าประมาณ ๓-๔ ปี (ก่อนที่รังไข่จะหยุดทำงาน หยุดผลิต ฮอร์โมน) นั่นคือ ประจำเดือนจะเริ่ม มาผิดปกติ เช่น จะมาเดือนละ ๒ ถึง ๓ ครั้ง หรือประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่ารังไข่ทำงานน้อยลง ถ้าประจำเดือน ไม่มา ๖ เดือน บางครั้งอาจจะกลับ มาใหม่ได้ แต่ถ้าประจำเดือนหยุดไปนานถึง ๑ ปี ก็แสดงว่ารังไข่หยุด ทำงานแล้ว ซึ่งโดยเฉลี่ยผู้หญิงไทยจะหมดประจำเดือน เมื่ออายุประมาณ ๔๘-๕๐ ปี

เมื่อเข้าสู่วัยทอง

เมื่อเข้าสู่วัยทองการผลิตฮอร์โมนทั้งสองจะมีปริมาณลดลง ในช่วงแรกที่เรียกว่า premenopusal ระดับฮอร์โมนยังไม่หยุดผลิตแต่อาจจะผลิตมากไป หรือน้อยเกินไป หรือมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้เราเกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ แต่เมื่อเข้าสู่วัยทองการผลิตฮอร์โมนจะลดลงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะดังนี้



  • ระบบสืบพันธ์ซึ่งรวมอวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ เนื้อเยื่อจะฝ่อทำให้เกิดอาการช่องคลอดแห้ง คันช่องคลอด เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  • ผิวหนัง เลือดที่ไปเลี้ยงผิวหนังมีปริมาณมากขึ้นทำให้เกิดอาการร้อนตามตัว
  • สมอง การที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงทำให้เกิดอาการซึมเสร้า อารมณ์แปรปรวน รู้สึกไม่สบายตามตัว
  • กระดูก การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เนื้อกระดูกโปร่งบาง กระดูกหักง่าย ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักน้อยลง เตี้ยเนื่องจากหลังค่อม ปวดกระดูกส่วนที่โปร่งบาง
  • หัวใจ การฮอร์โมนจะทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง

ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม

Phytoestrogen

พืชหลายชนิด เช่น ธัญพืช ผัก ถั่วต่าง ถั่วเหลือง จะมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้รักษาเนื่องจากยังไม่มีรายงานเรื่องประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง

ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองแบ่งตามลักษณะการใช้

ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ที่ผ่าตัดมดลูกออกไปแล้ว จะเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยบรรเทาอาการของวัยทอง มีทั้งชนิดรับประทาน ชนิดทาบริเวณผิวหนัง ชนิดแผ่นแปะ ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้หญิงที่ยังมีมดลูกอยู่ เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนธรรมชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถแบ่งเป็น

  • ชนิดที่ใช้เป็นรอบๆ เป็นการให้เอสโตรเจน 21 วันและใน 12 วันหลังจะมีโปรเจสเตอโรนร่วมด้วย จะมีช่วงที่ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน 7 วัน ทำให้มีประจำเดือนสม่ำเสมอ ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้กับผู้ที่อยู่ในวัยเปลี่ยนหรือวัยหมดประจำเดือนช่วงต้น
  • ชนิดที่ต้องใช้ต่อเนื่อง (Continuous combined regimen): เป็นการให้เอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรนในปริมาณที่เท่ากันทุกวันเพื่อให้ไม่ต้องมีประจำเดือน
  • ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่หมดประจำเดือนมานานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป

ผลของการได้ฮอร์โมนทดแทน

  • ลดการซึมเศร้า เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ
  • ทำให้ผิวหนังเต่งตึงและชุ่มชื้น ลดอาการผิวหนังอักเสบ ผมจะหนาและดกดำขึ้น
  • ช่วยเพิ่มระดับของความจำ มีสมาธิมากขึ้น
  • เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกเมื่อได้รับร่วมกับแคลเซียมและมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมร่วมกัน ผลของการได้ฮอร์โมนทดแทนจะแตกต่างกันไปในสตรีวัยทองแต่ละคนซึ่งมีปัจจัยทางด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน

อาการข้างเคียงของฮอร์โมนทดแทน

  • เลือดออกทางช่องคลอด พบได้บ่อย และทำให้ไม่อยากใช้ฮอร์โมนทดแทน ส่วนใหญ่พบได้ในช่วง 3-6 เดือนแรกที่เริ่มใช้ฮอร์โมนทดแทน และเมื่อใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างสม่ำเสมอ เลือดที่ออกทางช่องคลอดจะหายไปเอง
  • อาการเจ็บเต้านม อาการนี้จะเป็นเฉพาะช่วงแรกที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเท่านั้น หลังจากนั้นจะลดลงและหายไป
  • อาการปวดศีรษะไมเกรน
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สตรีวัยทองส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่ายอยู่แล้ว ฮอร์โมนทดแทนไม่ได้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก สาเหตุของการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะความไม่สมดุลระหว่างอาหาร การออกกำลังกาย และอัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกายที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การให้ฮอร์โมนทดแทนจะให้ในปริมาณต่ำเท่ากับระดับปกติเท่านั้น ไม่มีการให้เกินขนาด ดังนั้นอาการข้างเคียงจึงมีน้อย

ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน

ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม 

การให้ฮอร์โมนทดแทนมีประโยชน์อย่างไร

การให้ฮอร์โมนทดแทน คือ การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Bio-identical Hormone) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นอาจให้ร่วมกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวหนึ่งคือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติ 

Google
 

เพิ่มเพื่อน