jrprint

หน้าหลัก | สุขภาพดี | สุภาพสตรี | การแปลผลเลือด | โรคต่างๆ | วัคซีน

adv

ก้อนที่เต้านม

เมื่อคุณคลำได้ก้อนในเต้านม

เต้านมเป็นอวัยวะ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามอายุ นอกจากนั้น ยังเปลี่ยนแปลง ตามรอบเดือน ดังนั้นคุณผู้หญิงต้อง หมั่นสังเกต และคลำเต้านมตัวเอ งเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ทราบ ว่ าเต้านมปกติเป็นอย่างไร ก่อนมีประจำเดือนเป็นอย่างไร หลังประจำเดือนเป็นอย่างไร การคลำอาจจำคลำขณะอาบน้ำ หรือคลำในห้องนอนแล้วแต่สะดวก หากคุณไม่แน่ใจว่าปกติหรือไม่ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่าน

เต้านมปกติเป็นอย่างไร

เต้านมของคุณผู้หญิงจะเปลี่ยนแปลงตามอายุ และรอบเดือน ดังนั้นเมื่อเราคลำเต้านมแต่ละครั้งอาจจะมีความรู้สึกไม่เหมือนกัน

จากรูปเราจะพบว่าส่วนประกอบของเต้านมมีทั้ง หัวนม (nipple) ท่อน้ำนม(milk duct) ต่อมน้ำนม (lobes) เนื้อเบื่อไขมัน (fatty tissue) กล้ามเนื้อ (muscle) กระดูก(ribs) ส่วนต่อมน้ำเหลือง(lymph nodes)เราจะคลำไม่พบ ดังนั้นเมื่อเราคลำจะพบอวัยวะหรือเนื้อเยื่อดังกล่าว หากมีเนื้องอกก็จะคลำพบก้อน ซึ่งลักษณะไม่เหมือนกับเนื้อเยื่อรอบข้าง หากท่านสงสัยควรจะปรึกษาแพทย์

การวินิจฉัยก้อนที่เต้านม

แพทย์จะวินิจฉัยก้อนที่เต้านม แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยครั้งนี้ ระยะเวลาที่เป็น คลำได้ก้อนนานหรือยัง มีก้อนที่อื่นอีกหรือไม่ เคยมีโรคประจำตัวหรือการรับประทานยา โดยเฉพาะฮอร์โมน ประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว โรคประจำครอบครัว หลังจากนั้นจะเริ่มกระบวนการตรวจ

เริ่มต้นจะตรวจร่างกายทั่วไป อาจจะมีการคลำต่อน้ำเหลืองที่คอและรักแร้ คลำตับ

ลักษณะก้อนที่มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็ง ซึ่งอาจจะมีเพียงหนึ่งหรือหลายอาการ คลิกดูภาพ

ลักษณะก้อนที่ไม่เหมือนมะเร็ง

หลังจากนั้นแพทย์จะวางแผนต่อเพื่อให้ทราบสาเหตุของโรค

การตรวจ mamogram

การตัดชิ้นเนื้อตรวจ Biopsy

หมายถึงการตัดเอาชิ้นเนื้อ เพื่อส่งตรวจทางพยาธิ(โดยการส่องกล้องจุลทัศน์) มีได้หลายวิธีดังนี้

ในบางแห่งสามารถตรวจชิ้นเนื้อขณะที่ผ่าตัดก็สามารถจะผ่าตัดครั้งเดียวแต่ทั่วไปต้องนัดมาฟังผลชิ้นเนื้อ หลังจากทราบว่าผลชิ้นเนื้อเป็นอย่างไรแพทย์จะวางแผนการรักษา

การตรวจหา receptor บนชิ้นเนื้อ

ทำการตรวจหา estrogen หรือ progesterone receptor บนเนื้องอก

การตรวจทางรังสี

อาจจะตรวจ computer หรือ MRI เพื่อดูว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่

มะเร็งเต้านมพบมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ หากคลำได้ก้อนที่เต้านมจะทำอย่างไร http://t.co/7KXtD7GGZu

— Boonsri pleumpanupat (@healthforsiam) August 18, 2013
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม การประเมินก่อนการรักษา

มะเร็งเต้านม เนื้องอกเต้านม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม การคัดกรองมะเร็งเต้านม อาการของมะเร็งเต้านม การประเมินก่อนการรักษา ระยะของมะเร็งเต้านม การรักษามะเร็งเต้านม