การวางแผนการรักษามะเร็งเต้านม
การตรวจพิเศษหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งเต้านม
หลังจากทราบผลชิ้นเนื้อแล้วว่าเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์อาจจะสั่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปหรือยัง การพิจารณาส่งตรวจขึ้นกับดุลยพินิจขงแพทย์ว่าจะตรวจมากน้อยแค่ไหน
- X-RAY ปอดผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง จะต้องฉายรังสีที่ปอดเพื่อดูว่ามะเร็งได้มีการแพร่กระจายมาหรือยัง
- Bone Scan การตรวจนี้จะตรวจว่ามะเร็งเต้ารมแพร่ไปกระดูกหรือยัง จะตรวจในผู้ป่วยที่คิดว่ามะเร็งแพร่กระจายแล้ว
- CT การตรวจcomputer scan จะไม่ทำในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นมักจะตรวจในผู้ป่วยที่เป็นมากและสงสัยว่ามีการแพร่กระจาย หากมีอาการที่อวัยวะใดก็จะสั่งตรวจอวัยวะนั้น
- MRI เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กจะมีประโยชน์มากในการตรวจสมองและ
- PET(positron emission tomography) การตรวจนี้ใช้น้ำตาลที่อาบรังสี เมื่อฉีดเข้าร่างกาย เซลล์มะเร็งจะนำน้ำตาลนั้นไปใช้เมื่อเราถ่ายภาพด้วยกล้องพิเศษทำให้เราทราบว่ามะเร็งแพร่ไปที่ไหนบ้าง
- การตรวจเลือดเพื่อประเมินความแข็งแรงหรือตรวจหาว่ามะเร็งแพร่กระจายไปหรือยัง
- CBC คือการตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และเป็นค่ามาตรฐานเพื่อจำเป็นต้องให้เคมีบำบัด
- การตรวจสารเคมีในเลือดเช่น การทำงานของตับ เพื่อตรวจว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่
- Tumor test ปกติเซลล์เต้านมจะตอบสนองต่อฮอร์โมน 2 ชนิดคือ estrogen,และ progesteron การตรวจหาreceptor บนเซลล์มะเร็งเต้านมจะช่วยเราในการวางแผนการรักษา หากเซลล์มะเร็งมี receptor ต่อฮอร์โมน การให้ยาซึ่งกั้นการทำงานของฮอร์โมนจะยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง
มะเร็งเต้านม เนื้องอกเต้านม ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม การคัดกรองมะเร็งเต้านม อาการของมะเร็งเต้านม การประเมินก่อนการรักษา ระยะของมะเร็งเต้านม การรักษามะเร็งเต้านม