การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

คำแนะนำ

  1. ให้ตรวจผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงในการถูกตัดขาต่ำ(IWGDF risk 0)ทุกปีโดยตรวจการรู้สึกของผิวหนัง ตรวจหลอดเลือดแดงที่เท้า ตรวจความเสี่ยงอื่นๆที่เสี่ยงต่อการเกิดแผล
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผลระดับ (IWGDF risk 1-3) ได้แก่:ผู้ที่มีประวัติเกิดแผลที่เท้า หรือเคยถูกตัดเท้า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เท้าผิดรูป ข้อมีการเคลื่อนไหวน้อย มีตาปลา กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ต้องนัดตรวจทุก 6-12เดือนสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ง 1 ตรวจทุก3-6เดือนสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง2 ตรวจทุก1-3เดือนสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง3
  3. สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการถูกตัดเท้าระดับ (IWGDF risk 1-3) แนะนำให้อย่าเดินเท้าเปล่า ต้องสวมถุงเท้าทุกครั้งที่ใส่รองเท้า ใส่รองเท้าเดินทั้งในบ้านและนอกบ้าน
  4. สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการถูกตัดเท้าระดับ (IWGDF risk 1-3)แนะนำให้ตรวจผิวหนังที่เท้าสองข้างทุกวัน ก่อนใส่รองเท้าต้องดูว่าไม่มีเศาหินในรองเท้า ล้างเท้าทุกวันและใช้ผ้าซับให้แห้ง สำหรับผู้ที่ผิวแห้งให้ทาครีมให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง ตัดเล็บให้สั้นไม่ตัดมุมเล็บ ไม่แนะนำให้ตัดหรือใช้สารเคมีทาตาปลา
  5. สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการถูกตัดเท้าระดับ (IWGDF risk 1-3)สอนวิธีการดูแลเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า
  6. สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการถูกตัดเท้าระดับ (IWGDF risk 2-3)ให้ผู้ป่วยคลำผิวหนังที่เท้าทั้งสองข้างทุกวันเพื่อค้นหาการอักเสบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น หากมีความแตกต่างของอุณหภูมิให้แจ้งกับแพทย์ประจำตัวของท่าน
  7. สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการถูกตัดเท้าระดับ (IWGDF risk 2)หรือมีแผลกดทับที่ฝ่าเท้าให้ตัดรองเท้าให้เข้ากับเท้าเพื่อที่จะลดแรงกดทับที่เท้า
  8. สำหรับผู้ที่มีตาปลาที่ฝ่าเท้าให้ใช้อุปกรณืเช่นซิลิโคนช่วยลดการกดทับ
  9. สำหรับผู้ที่เคยมีแผลที่ฝ่าเท้าแนะนำให้ตัดรองเท้าเพื่อลดแรงกดทับที่ฝ่าเท้า
  10. ให้รีบรักษาหากผิวหนังมีการติดเชื้อ มีเชื้อรา เป็นเล็บขบเพื่อป้องกันการเกิดแผล

เท้าเป็นอวัยวะที่มีโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้บ่อย เนื่องจากโรคแทรกซ้อนทางเส้นประสาท หลอดเลือดแข็ง และการติดเชื้อ การดูแลเท้าที่ดีจะป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับเท้าได้

หากท่านผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานไม่อยากให้มีแผลหรือถูกตัด นิ้ว รวมทั้งเท้าท่านผู้ป่วยควรจะต้องดูแลเท้าตลอดชีวิต การดูแลเท้าจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการดังต่อไปนี้

  • มีอาการชาเท้า
  • รูปร่าง สี ของเท้าผิดไป
  • มีแผลที่เท้าซึ่งหายยาก
  • ปวดเท้าเวลาเดิน
  • เคยเป็นแผลที่เท้า

วิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่เท้า

  1. ควบคุมเบาหวานให้ใกล้เคียงปกติซึ่งจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเต้นรำ

  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
  • ร่วมมือกับแพทย์ในการวางแผนการรักษา
  • กำหนดเวลาเจาะเลือด
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  • ควบคุมอาหารตามแพทย์สั่ง
  • ออกกำลังกาย
  • ดูแลเท้า และออกกำลังบริหารเท้าโดยเคร่งคัด
  • ไปตรวจตามนัด
  1. ตรวจและดูแลผิวหนังทุกวันเวลาที่ดีคือเวลาเย็น ดูแลเท้า

  • ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดาวันละ2 ครั้งและซับให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว ไม่ควรใช้แปรงหรือขนแข็งขัดเท้า
  • ใช้แป้งโรย
  • ควรตรวจเท้าและบริเวณซอกนิ้วเท้าอย่างละเอียดทุกวัน เพื่อค้นหาความผิดปกติเช่น หนังด้านแข็ง ตุ่มพุพอง ตาปลา รอยแตก หรือการติดเช้ือราหรือไม่ ตรวจผิวหนังที่เท้า ดูว่ามีแผล การอักเสบ รอยแดง หากแผลไม่หายในสองวันควรปรึกษาแพทย์ มีหนังหนาหรือตาปลาหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าใส่รองเท้าไม่เหมาะสม 
  • สำหรับผู้สูงอายุหรือสายตาไม่ดีควรจะให้คนอื่นช่วยดู
  • สภาพผิวว่าแห้งไปหรือไม่ มีรอยแตกย่นหรือไม่ เล็บหนาหรือมีเชื้อราหรือไม่ มีแผลอักเสบซอกเล็บหรือไม่ ผิวซอกนิ้วมีอับชื้นหรือไม่ อาจจะใช้กระจกส่อง หรือให้ญาติช่วยดู ถ้าผิวมีเหงื่อออกให้โรยแป้ง
  1. ระบบประสาท

    เริ่มมีอาการชาหรือปวดแสบบริเวณเท้าหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวแสดงว่าเริ่มมีปลายประสาทอักเสบ peripheral neuropathy
  2. ดูว่ามีกระดูกงอกผิดปกติหรือไม่ ข้อมีรูปร่างผิดปกติหรือไม่ สภาพการเดินการแกว่งเท้าผิดปกติหรือไม่
  3. ตรวจดูว่าเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณขาตีบตันหรือไม่ หากผู้ป่วยมีโรคหลอดเลือดตีบตันที่ขาจะมีอาการดังนี้คือ จะปวดขาเวลาเดินต่อเนื่องพักจะหายปวด คลำชีพขจรบริเวณหลังเท้าได้เบาหรือไม่ได้ ผิวหนังจะเย็นและสีของผิวหนังจะคล้ำกว่าผิวส่วนอื่น
  4. ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่น อาจจะใช้ปรอทวัดอุณหภูมิไม่เกิน 
  1. ให้ผิวหนังนุ่มอยู่เสมอ

    ทาครีม
  • ทาครีมหรือโลชั่นที่หลังเท้า และผ่าเท้า ถ้าผิวแห้งห้ามทาบริเวณซอกนิ้ว
  1. การเลือกรองเท้าที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนได้
  1. ป้องกันไม่ให้เท้าเย็น หรือร้อนไป

  • ห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบหรือแช่ในน้ำร้อน เพราะอาจทำให้ผิวหนังไหม้ ร้อนเท้า
  • สวมรองเท้าเมื่อเดินที่ร้อน
  • ทาครีมกันแสงที่หลังเท้าเมื่อไปเที่ยวทะเล
  • หากเท้าเย็นห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อนให้สวมถุงเท้า
  1. ตัดเล็บให้สั้น

    ตัดเล็บ
  • ตัดเล็บให้ตรงไม่ต้องเล็มจมูกเล็บ
  • ไม่ต้องตัดเล็บที่ซอกเล็บหรือถึงจมูกเล็บ
  • ใช้ตะไบลบรอยคมของเล็บ 
  • ไม่ควรใช้วัสดุแข็งแคะซอกเล็บ
  1. ให้เลือดไปเลี้ยงขาให้พอ

    พักเท้า
  • ยกเท้าเวลานั่งพัก
  • การบริหารเท้า
  • ห้ามนั่งไขว่ห้าง
  • ห้ามใส่ถุงเท้าที่แคบ
  • งดบุหรี่
  • รักษาความดัน และไขมันในเลือด
  1. ออกกำลังกายอยู่เสมอ

    เดิน

ออกกำลังกายอยู่เสมอปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

  • เดิน ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำเป็นการออกกำลังที่ดี
  • หลีกเลี่ยงการวิ่งหรือกระโดดเชือก
  • ก่อนออกกำลังกายให้มีการอบอุ่นร่างกาย
  • สวมร้องเท้าที่เหมาะสม
  1. ให้แพทย์ตรวจเท้า

ชาให้แพทย์ตรวจเท้าอย่างน้อยปีละครั้ง

  • ตรวจชีพขจรที่เท้า และอาการปวดเท้าเวลาเดินซึ่งเป็นอาการของการขาดเลือด
  • ตรวจความรู้สึกโดยใช้ monofilament หรือ vibratory sensation test
  • ตรวจความผิดปกติของเท้าเช่น เท้าผิดรูป กระดูกงอก ตาปลา การเดิน ลักษณะเท้า
  • ตรวจสภาพผิวหนังทั้งเท้าโดยเฉพาะซอกนิ้ว
  • ตรวจเท้าเพื่อหาตำแหน่งของเท้าที่รับแรงกดมาก รอยแดง
  • แจ้งแพทย์ทันทีที่มีปัญหา
  • ให้แพทย์แสดงวิธีดูแลเท้า

สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงให้ตรวจเท้าทุก3-6 เดือน

  1. อย่าตัดตาปลา

    ตาปลา
  • ห้ามตัดตาปลาด้วยสารเคมี เช่นน้ำยากัดตาปลา หรือใช้มีด ให้ใช้หินขัดไปทางเดียว ระวังถูกเนื้อดี

ข้อปฏิบัติ

  • ห้ามแช่เท้าในน้ำร้อนโดยเด็ดขาด
  • ห้ามเอากระเป๋าน้ำร้อนมาวางไว้บนหลังเท้าหรือขา
  • หากเท้าเย็นให้แก้ไขโดยการใส่ถุงเท้า
  • ไม่ควรเดินเท้าเปล่า แม้จะอยู่ในบ้าน
  • ห้ามตัดตาปลา
  • ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
  • หากจำเป็นต้องแช่่เท้าในน้ำร้อน หรือใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนวางที่เท้าจะต้องทำการทดสอบก่อน โดยให้ผูป้่วยใช้ข้อศอกทดสอบระดับความร้อนของน้ำและอุปกรณ์ให้ความร้อนก่อนทุกคร้ัง ผู้ป่วยที่มี ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาทส่วนปลายมากจนไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกร้อนได้ ควรให้ญาติผูใก้ลชิดเป็นผู้ทำการทดสอบอุณหภูมิแทน .
  • การตัดเล็บ ควรตัดหลังทำความสะอาดเท้าหรือหลังอาบน้ำเนื่องจากเล็บจะนิ่มตัดง่ายและควรตัดตามแนวของเล็บ โดยให้ลายเล็บเสมอกับปลายนิ้วหรือห่างจากขอบเล็บประมาณ 2 มิลลิเมตร ห้ามแคะ/แซะมุม เล็บหรือตัดอย่างเช่นที่ร้านทำ เล็บเพราะจะทำให้เล็บม้วน เล็บขบ และเมื่อเล็บงอกมาใหม่จะแทงเข้าไปในเนื้อทำให้อักเสบเป็นหนองได้
  • หากผิวแห้งควรใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ lanolin ทาบางๆ แต่ไม่ควรทาบริเวณซอกนิ้วเท้าเนื่องจากอาจทำให้ซอกนิ้วอับชื้น เกิดเชื้อรา และผิวหนังเปื่อยเป็นแผลได้ง่าย
  • ถ้าผิวหนังชื้นมีเหงื่อออกง่ายควรเช็ดเท้าให้แห้งจะช่วยลดการอับชื้นได้
  • หา้มตดั ตาปลา หรือผิวหนงัแขง็ดว้ยตนเอง รวมท้งัหา้มใชส้ ารเคมีใดๆ ลอกตาปลาดว้ยตนเอง เพราะ อาจท าให้แผลลุกลามได้เนื่องจากขาดความรู้สึก.
  • หา้มเดินเทา้เปล่า โดยเฉพาะบนพ้ืนผวิที่ร้อน เช่น หาดทราย พ้ืนซิเมนต์
  • ควรจดัสภาพแวดลอ้ มให้เหมาะสม เช่น เมื่อมีการเคลื่อนยา้ยสิ่งของตอ้งเก็บกวาดบริเวณพ้ืนบา้นให้ เรียบร้อย รวมท้งัควรเปิดไฟทางเดินใหส้ วา่ งในเวลากลางคืน ห
  • หากมีบาดแผลเกิดข้ึนที่เทา้เพียงเล็กน้อยควรให้ความสนใจเพราะแผลส่วนใหญ่เริ่มจากการได้รับ อุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ และถูกละเลยจนกลายเป็ นแผลลุกลาม ควรลา้งทา ความสะอาดแผลดว้ยน้า ตม้ สุกที่เยน็แลว้ หรือลา้งดว้ยน้า เกลือลา้งแผลแลว้ตามดว้ยยา โพวิดีนหรือเบต้าดีนและหากแผลไม่ดีข้ึนภายในเวลา 3 วัน ควร ปรึกษาแพทย์

15.ทำความสะอาดเท้าทุกวันด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน ๆ วันละ 2 คร้ัง และทำความสะอาดทันทีทุก คร้ังที่เท้าเป้ือนสิ่งสกปรกแล้วเช็ดเท้าใหแห้งด้วยผ้าสะอาดและนุ่มโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า

16.หากมีปัญหาเรื่องสายตาควรให้ญาติหรือผใู้กลช้ิดสา รวจเทา้และรองเทา้ใหท้ ุกวนั หากอว้นมากจนไม่ สามารถกม้ไดค้วรใชก้ระจกช่วยส่องในการส ารวจเท้า


โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน  

โรคแทรกซ้อนที่เท้า

โรคเท้าในเบาหวาน | ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและเท้า | การดูแลเท้าด้วยตัวเอง | การบริหารเท้า | การดูแลสุขภาพเท้า | ปัจจัยเสี่ยงของการถูกตัดเท้า | การใช้รองเท้า | การประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผล | ชนิดของแผลเบาหวาน | การรักษา | เท้าผิดรูป | การเลือกรองเท้า

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

โรคแทรกซ้อน | ภาวะฉุกเฉิน | โรคหัวใจ | โรคความดันโลหิตสูง| โรคไต  |โรคตา  |โรคปลายประสาทอักเสบ |โรคเบาหวานกับเท้า