การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์
โรคเอดส์ยังเป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย การติดเชื้อเปลี่ยนจากคนที่ติดยาเสพติดมาเป็นคนวัยรุ่น ซึ่งเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และไม่รู้จักป้องกันตัวเอง การป้องกันการติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์จึงมีความสำคัญ บทความนี้จะเน้นเรื่องการป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์
หลักฐานว่าการใช้ยาสามารถป้องกันโรคเอดส์
- จากการทดลองในสัตว์พบว่าหากให้ยาต้านไวรัส หลังจากการฉีดเชื้อเอดส์เข้าไป 4 ชั่วโมงและให้ยานาน 28 วัน ผลไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ แต่ลดปริมาณเชื้อต้องเน้นว่าเป็นการฉีดเชื้อเข้าไป
- เมื่อทดลองใหม่โดยการนำเชื้อไปป้ายที่เยื่อบุช่องคลอด และเริ่มให้ยาที่ 12 ,36, ผลพบว่า 3/4รายที่ให้ยาหลังจากสัมผัสเชื้อ 72 ชม.ไม่ติดเชื้อ ส่วนอีกรายหนึ่งพบว่าติดเชื้อแต่ได้รับเชื้อไปน้อย (การที่ป้ายเชื้อที่เยื่อบุช่องคลอด เปรียบเสมือนการมีเพศสัมพันธ์ ตามปกติโดยที่ไม่เกิดแผล จากการทดลองพบว่าจะพบเชื้อในกระแสน้ำเหลือง 2 วันหลังจากได้รับเชื้อ พบเชื้อในกระแสเลือดหลังจากได้รับเชื้อ 5 วัน ซึ่งจากการทดลองทำให้ทราบว่า การให้ยาป้องกันในช่วงเวลาที่เหมาะสม สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
- จากผลการให้ยาต้านไวรัสสำหรับเด็กที่มีแม่เป็นโรคเอดส์ พบว่าเมื่อให้ยาแก่เด็กที่เกิดมาใน 72 ชั่วโมงจะลดอัตราการเกิดโรคได้ร้อยละ 50 หากให้เกิน 72 ชั่วโมงผลจะไม่ดี
- จากการศึกษาในประเทศบราซิลโดยจะให้ยา 2 ชนิดหากตรวจช่องคลอดแล้วไม่พบแผล ให้ยา 3 ชนิดหากช่องคลอดมีแผล จะให้ยาเมื่อมาใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัสโรค ผลพบว่าผู้ที่ได้รับยา 180 คนสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด ผู้ป่วย 145 คนที่ไม่ได้รับยา(มาเกิน 72 ชั่วโมง)มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 2.7
- ยังมีการศึกษาอีกหลายอันที่บ่งว่าการให้ยาป้องกันสามารถลดอัตราการติดเชื้อโรคเอดส์
ผลเสียของการให้ยาป้องโรคเอดส์หลังสัมผัสโรค
- เมื่อประชาชนรู้ว่ามียาที่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ได้ ประชาชนจะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงมากขึ้น พบว่ามีประชาชนร้อยละ 14 จะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น และร้อยละ 17 ต้องมารับยาป้องกันเป็นครั้งที่2
- ผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสเช่น คลื่นไส้อาเจียน(57%) อ่อนเพลีย(38%) ผลเลือดผิดปกติ(8%) ผลข้างเคียงมากจนต้องหยุดยา(1.3%)
- เกิดการดื้อยาของเชื้อโรค เนื่องจากยาไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด เชื้อที่เร็ดรอดไปก็อาจจะดื้อยาได้
การป้องกันคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนหรือไม่
ความคุ่มค่าหมายเงินที่ลงทุนไปว่จะให้ผลดีคุ้มค่ากับเงินที่ลงไปหรือไม่ มีการศึกษาที่แสดงว่าคุ้มค่าดังนี้
- การมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นโรคเอดส์
- การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก(ฝ่ายถูกกระทำ)จากผู้ที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเอดส์หรือไม่
เมื่อคุณมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน คุณจะทำอย่างไร
เมื่อท่านมีเพศสัมพันธ์กันคนที่เป็นโรคเอดส์ หรือกับคนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ หรือท่านไม่ทราบว่าเขาเป็นโรคหรือไม่ ให้ท่านทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เจาะเลือดตรวจ เนื่องจากคนที่เป็นโรคส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ ดังนั้นจะต้องเจาะเลือดว่าติดเชื้อหรือไม่ หากท่านไม่ติดก็อาจจะต้องให้ยาป้องกันการติดเชื้อ เมื่อเงื่อนไขครบ
- เมื่อไรจึงให้ยา เนื่องจากการให้ยาจะได้ผลเมื่อให้ใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัส และการให้ยาจะมีผลข้างเคียง ดังนั้นจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่สงสัยว่าจะได้รับเชื้อนั้นนานๆครั้ง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้แก้เรื่องพฤติกรรมและได้รับเชื้อนั้นเป็นประจำ เช่นผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือผู้ที่มีสามีหรือภรรยาเป็นโรคและไม่ได้มีการป้องกัน กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะได้รับยาเพื่อป้องกัน
- เจาะเลือดคนที่ให้เชื้อ การสัมผัสกับสารคัดหลั่งเชื่อน้ำเชื้อ เลือดของผู้ที่เป็นโรคเอดส์จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค การให้ยาป้องกันภายใน 72 ชั่วโมงสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ระดับหนึ่ง ดังนั้ควรจะนำคนที่ท่านสัมผัสมาเจาะเลือดตรวจและซักประวัติ หากเพิ่งจะติดเชื้อโรคเอดส์ในร่างกายเขาจะมีเชื่อจำนวนมากเพราะแนั้นโอกาสที่จะติดเชื้อก็มาก แต่หากไม่สามารถนำมาเจาะเลือด และพิจารณาว่าเขาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น พวกติดยา พวกรักร่วมเพศ พวกสำส่อนทางเพศ ก็อาจจะให้ยาเพื่อป้องกันไปก่อนและนำผู้ต้องสงสัยมาเจาะเลือด หากไม่เป็นก็หยุดยาได้ทันที
- วิธีการได้รับเชื้อ จากตารางข้างล่างจะแสดงอัตราการติดเชื้อ พบว่าการได้รับเลือดจากคนที่เป็นโรคจะมีอัตราการติดเชื้อสูงสุด รองลงมาได้แก่การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การถูกเข็มตำ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ส่วนที่มีความเสี่ยงต่ำได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก(ฝ่ายกระทำ) การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
นอกจากโรคเอดส์แล้วยังต้องตรวจโรคอย่างอื่นหรือไม่
- การป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี
- การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- การป้องกันการตั้งครรภ์
คำแนะนำสำหรับการให้ยาป้องกัน
- เมื่อท่านสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น เลือด น้ำเชื้อ หรือสารคัดหลั่งอื่นของผู้ที่เป็นโรคเอดส์ และให้พบแพทย์ให้เร็วที่สุดก่อน 72 ชั่วโมงควรจะได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแนวทางแนะนำ และควรจะให้ยานาน 28 วัน
- ยังไม่มีหลักฐานว่าการใช้ยาตัวไหนดีที่สุด แต่จากประสบการณ์สูตรเหล่านี้ให้ผลดี เช่น
efavirenz และ lamivudine หรือ emtricitabine และ zidovudine หรือ tenofovir (as a nonnucleoside-based regimen) และ lopinavir/ritonavir (coformulated in one tablet as Kaletra ? ) และ zidovudine ร่วมกับ lamivudine หรือ emtricitabine
- ยังไม่มีหลักฐานว่าการใช้ยา 3 ชนิดจะดีกว่า 2 ชนิด แพทย์และผู้ป่วยต้องปรึกษาว่าถึงผลดีผลเสียของการใช้ยา 3 ชนิด
- หากได้ประวัติจากผู้ให้เชื้อ ต้องซักประวัติว่าเคยได้ยาต้านไวรัสมาก่อนหรือไม่ เจาะดูปริมาณเชื้อเมื่อใด ดื้อต่อยาชนิดไหนเพื่อที่จะได้ปรับการให้ยาป้องกัน
- สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่นมีเพศสัมพันธ์ หรือสัมผัสสารคัดหลังเช่นเลือด และพบแพทย์ภายใน 72 ชั่วโมงแต่ไม่ทราบว่าคนที่ให้เป็นโรคหรือไม่ แพทย์จะไม่แนะนำหรือต่อต้านการให้ยาป้องกัน แต่จะพิจารณาถึงผลดีผลเสียของการให้และไม่ให้ยาป้องกัน
- ถ้าไม่ทราบว่าผู้ที่เราสัมผัสติดเชื้อหรือไม่ การสัมผัสไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การให้ยาป้องกันอาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- หากวิธีการได้รับเชื้อ เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ หรือพบแพทย์เกิน 72 ชั่วโมงหลังการสัมผัสไม่แนะนำให้รับยาป้องกันเพราะไม่ได้ผล
ผู้ที่ได้รับยาป้องกันต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
- ยาที่ได้ช่วงแรกไม่เกิน 3-5 วันเพื่อดูว่ามีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง ผลเลือดที่ตรวจเป็นอย่างไร และได้รับคำปรึกษาเกี่ยวการใช้ยาหรือโรค
- หากแพทย์ไม่คุ้นกับการใช้ยา ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สำหรับรายที่คิดว่าเชื้อจะดื้อยา เด็ก คนท้องต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ผู้ที่ได้รับยาไม่ควรจะหยุดยาเอง หากมีอาการจากยาให้ปรึกษาแพทย์
- ผู้ที่สัมผัสโรคควรจะได้รับการตรวจหาภูมิต่อเชื้อไวรัส HIV ที่ 4-6 สัปดาห์ 3และ6 เดือนหลังจากสัมผัสเพื่อดูว่าได้รับเชื้อไปหรือเปล่า นอกจากนั้นยังต้องตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซี การตั้งครรภ์
- ผู้ที่สัมผัสโรคควรจะรู้เกี่ยวกับอาการแสดงของการติดเชื้อ HIV
- ผู้ที่สัมผัสโรคต้องป้องกันการติดเชื้อไปสู่คนอื่นโดยการงดหรือสวมถุงยางหากมีเพศสัมพันธ์ จนกระทั่งพิสูจญ์ว่าไม่ได้รับเชื้อจากคนป่วย
- สำหรับผู้ที่นำเชื้อมาแพร่ก็ควรที่จะได้รับการรักษาและคำแนะนำเพื่อป้องกันมิให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
ตารางแสดงแนวทางการให้ยาป้องกันการติดเชื้อ
ตารางแสดงอัตราการติดเชื้อโรคเอดส์
|
อัตราการติดเชื้อต่อ 10000 สัมผัส |
การได้รับเลือดจากคนที่ติดเชื้อโรคเอดส์ |
9000 |
การใช้เข็มร่วมกันของผู้ที่ติดยาเสพติด |
67 |
การมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร(ผู้ถูกกระทำ) |
50 |
ถูกเข็มตำ |
30 |
การร่วมเพศทางช่องคลอด(ผู้ถูกกระทำ) |
10 |
การมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร(ผู้กระทำ) |
6.5 |
การร่วมเพศทางช่องคลอด(ผู้กระทำ) |
5 |
การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก(ผู้ถูกกระทำ) |
1 |
การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก(ผู้กระทำ) |
.5 |
อาการของผู้ได้รับเชื้อ
อาการและอาการแสดง |
ร้อยละ |
ไข้ |
96 |
ต่อมน้ำเหลืองโต |
74 |
เจ็บคอ |
70 |
ผื่น ตามลำตัว หน้า ปากเป็นแผล หลอดอาหารอักเสบ |
70 |
ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ |
54 |
ท้องร่วง |
32 |
ปวดศรีษะ |
32 |
คลื่นไส้อาเจียน |
27 |
ตับม้ามโต |
24 |
น้ำหนักลด |
13 |
ผื่นในปาก |
12 |
อาการทางระบบประสาท |
12 |
สรุปแนวทางปฏิบัติเมื่อคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ เช่นร่วมเพศกับคนอื่น
- เจาะเลือดตัวคุณเองก่อนเพื่อดูว่าตัวคุณเองเคยได้รับเชื้อมาก่อนหรือไม่
- หากไม่ทราบว่าคนที่คุณยุ่งเกี่ยวด้วยติดเชื้อหรือไม่ ก็ให้นำคนนั้นมาเจาะเลือดเช็คอย่างรีบด่วน
- หากทราบว่าเป็นโรคเอดส์หรือผลเลือดบอกว่าเป็นโรคนี้ และคุณพบแพทย์ก่อน 72 ชั่วโมงก็พิจารณาให้ยาป้องกัน หากคุณพบแพทย์หลังสัมผัสโรคเกิน 72 ชั่วโมงก็ไม่ต้องให้
- หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงบ่อยๆ การให้ยาอาจจะให้ผลไม่ดี
-