ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ใหม่
การตรวจเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้น | ผู้ที่ติดเชื้อ
HIV ใหม่ | การป้องการติดเชื้อ
HIV | แนวทางการรักษา | การรักษา | การดูแลผู้ที่ติดเชื้อ
HIV | การติดเชื้อฉวยโอกาส | การฉีดวัคซีน | การให้ยาป้องกันโรคเอดส
คงเป็นข่าวร้ายสำหรับท่านผู้อ่านที่ผลเลือดทดสอบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ
HIV
ให้ผลบวกแต่ไม่ใช่สิ้นหวังเหมือนสมัยก่อน
ผู้ป่วยจำนวนมากสามารถมีชีวิตยืนยาวเหมือนคนปกติ
การที่ผลเลือดบวกจะเป็นข้อมูลทีสำคัญที่จะช่วยให้ท่านมีชีวิตที่ยืนยาว สำหรับท่านที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV (รักร่วมเพศ ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน) ท่านหากไม่รีบตรวจเลือดเสียตั้งแต่วันนี้
ต่อไปเมื่อโรคดำเนินมีการทำลายระบบภูมิคุ้มกันจนกระทั่งเกิดโรคเอดส์
เมื่อนั้นท่านก็ปิดใครไม่ได้และยังสูญเสียโอกาสที่จะรักษาด้วย การรักษาการติดเชื้อ HIV
ปัจจุบันเหมือนกับการรักษาโรคเบาหวานคือเป็นโรคเรื้อรัง
รักษาไม่หาย
หากไม่รักษาจะมีโรคแทรกซ้อนหรือบางครั้งรักษาดีก็เกิดโรคแทรกซ้อนได้บทความนี้ จะเป็นแนวทางเรียนรู้ที่จะมีชีวิตกับโรคติดเชื้อ
HIV ท่านจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรค
HIV และปฏิบัติโดยเคร่งครัดจึงจะมีสุขภาพที่แข็งแรง
ณ.ขณะนี้เมื่อท่านติดเชื้อ HIV
ท่านจะติดเชื้อตลอดชีวิต
การรักษาขณะนี้ก้าวหน้าไปมากสามารถคุมโรค
HIV มิให้กลายเป็นโรค AIDS
เมื่อผลเลือดท่านให้ผลบวกต่อเชื้อ
HIV
แสดงว่าท่านได้รับเชื้อไวรัส
HIV ในกระแสเลือดแล้ว
การที่เลือดให้ผลบวกมิได้หมายความว่าท่านเป็นโรคเอดส์
ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV
โดยทั่วไปใช้เวลา 8-10
ปีจึงจะกลายเป็นโรคเอดส์
เมื่อท่านมีเชื้อไวรัสในเลือดสิ่งที่ท่านต้องทำคือ
- ไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น
เชื้อ HIV จะอยู่ในเลือด
น้ำเหลือง น้ำนม
น้ำหล่อลื่นของผู้ชายและผู้หญิง
ท่านสามารถป้องการแพร่เชื้อโดย
- เมื่อท่านมีเชื้อ HIV, ท่านต้องป้องกันผู้อื่นได้รับเชื้อจากท่าน เช่นเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว
คู่ที่มีเพศสัมพันธ์
ท่านต้องเรียนรู้การมีเพศสัมพันธ์ที่ลดการติดเชื้อ
กิจกรรมทางเพศชนิดใดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
กิจกรรมใดที่มีความเสี่ยงต่ำ ให้สวมถุงยางคุมกำเนิดเมื่อจะร่วมเพศทั้งทางช่องคลอด
ทางทวารหนัก
หรือมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
- ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
เนื่องจากท่านอาจจะแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นแล้ว
ท่านอาจจะได้รับเชื้อตัวใหม่ทำให้อาการของท่านแย่ลง
- การกอดหรือจูบโดยที่ไม่มีแผล
การสัมผัสจะไม่แพร่เชื้อ
- ไม่ใช้แปรงสีฟัน
มีดโกนหนวด
ที่ตัดเล็บร่วมกัน
- อย่าเลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง
- ไม่บริจาคเลือดให้แก่ผู้อื่น
- การใช้โถส้วม การใช้แก้ ชาม
ร่วมกัน
ไม่ทำให้ติดเชื้อสู่ผู้อื่น
- การดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1เลือกแพทย์และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อแพทย์จะได้พิจารณาให้ความรู้และการรักษา
แพทย์จะเจาะเลือดท่านเพื่อตรวจดูระยะของโรคโดยจะเจาะหา
CD4-T cell และ viral load
น้อยจากนั้นแพทย์จะตรวจหาการติดเชื้อฉวยโอกาส พราะผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันลดลงมีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาส
เช่นวัณโรค
และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวัคซีนที่ต้องฉีด
ขั้นที่2 ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาใหม่ๆ
- ปัจจุบันมียาต้านไวรัส HIV ซึ่งสามารถชะลอการเกิดโรคเอดส์ยาบางชนิดยับยังการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสทำให้ท่านมีสุขภาพสบายขึ้น
- ปรึกษาแพทย์ว่าท่านควรจะไดรับยาอะไร
- ท่านจะต้องเรียนรู้โรค HIV การรักษา ท่านต้องรู้จักT cells, ระบบภูมิคุ้มกัน(the immune system) และปริมาณเชื้อไวรัส( viral load)เพื่อพิจารณาให้การรักษา
- เมื่อไรจะเริ่มรักษาเมื่อสมัยก่อนเมื่อเจอเลือดให้ผลบวกก็จะให้ยาหลายขนาน แต่ปัจจุบันการพิจารณาว่าจะเริ่มให้ยาเมื่อไรจะพิจารณาจากปริมาณCD4 และปริมาณเชื้อในเลือด(viral load or HIV PCR RNA or HIV bDNA)
- การเลือกวิธีการรักษา เมื่อผลเลือดบ่งว่ายังไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยา
ท่านต้องเจาะเลือดทุก 3 เดือนเพื่อติดตามโรคโดยใกล้ชิดหากผลเลือดของท่านมีเซลล์ CD 4ต่ำจำเป็นต้องรักษาขณะนี้มียา 14
ชนิดสำหรับรักษาโดยใช้ยาหลายชนิดรวมกัน(cocktail) เมื่อท่านตัดสินใจรักษาท่านต้องจำไว้ว่าต้องรับประทานยาสม่ำเสมอมิฉะนั้นเชื้อจะดื้อยาซึ่งจะเป็นผลเสียต่อท่าน
- เรียนรู้ผลข้างเคียงของยา
ยาแต่ละชนิดในแต่ละกลุ่มจะมีผลข้างเคียงของยาไม่เหมือนกัน
ส่วนใหญ่มักจะเป็นระยะสั้นโดยมากไม่เกินสัปดาห์
แพทย์จะสอนวิธีจัดการกับผลข้างเคียงของยา
ยาบางชนิดอาจจะมีผลข้างเคียงมากและอันตรายท่านต้องเฝ้าติดตาม
หากมีอาการผลข้างเคียงท่านต้องรีบปรึกษาแพทย์
ขั้นที่3
เตรียมข้อมูลก่อนพบแพทย์
- ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องเตรียมข้อมูลก่อนไปพบแพทย์อะไรบ้าง
ในการวางแผนการรักษาแพทย์ต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยเพื่อที่จะทำการรักษาได้เหมาะสม
- โรคประจำตัวที่เป็นอยู่
- อาการของโรคที่เกิดใหม่
- วันที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ HIV ระยะเวลาที่เป็นโรค HIV ปกติผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV จะกลายเป็นโรคเอดส์ใช้เวลา
9-11 ปี
- ปัจจุบันรับประทานยาอะไร
- ประวัติการป่วยเป็นวัณโรค
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ตับอักเสบ การได้รับเลือด
ผู้ที่เคยเป็นวัณโรคหากไม่ได้รับยาป้องกัน
อาจจะทำให้เป็นวัณโรคซ้ำ
- เคยได้รับการรักษาโรคเอดส์มาก่อนหรือไม่
ชื่อยาอะไร รักษาเมื่อไร
นานแค่ไหน
มีผลข้างเคียงอะไร
- ประวัติการฉีดวัคซีน
เช่นป้องกันตับอักเสบ
วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม
- ประวัติการแพ้ยา
- ประวัติพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
เช่นการใช้ยาเสพติด
การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้ป้องกัน
- การทำงาน ฐานะ
ขั้นที่4 การเฝ้ามองสุขภาพ
โรคเอดส์ก็เหมือนกับโรคทั่วๆไปคือจะมีอาการเตือน
ถ้าหากท่านมีอาการดังต่อไปนี้โปรดไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา
อาการดังกล่าวอาจจะไม่ใช่อาการของเอดส์
แต่จำเป็นต้องรักษา
- มีก้อนที่คอ
รักแร้ ขาหนีบ
- ฝ้าขาวในปากหรือลิ้น
- รอยช้ำเขียวที่ผิวหนัง
- ไข้และท้องร่วง
- น้ำหนักลด
- ไอและหายใจหอบ
- เหงื่อออกกลางคืน
- ปวดศีรษะอย่างแรง
- ตกขาวไม่หาย
ขั้นที่ 5 ดูแลสุขภาพตัวเอง
- รับอาหารที่มีคุณภาพ
ปรึกษาแพทย์ว่าอาหารที่ควรและไม่ควรรับประทาน
- ผักผ่อนให้เต็มที่
- งดสุราและบุหรี่เพราะจะทำให้ท่านมีภูมิคุ้มกันที่แย่ลง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ให้ทำจิตใจให้ผ่องใส
แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อตรวจเบื้องต้น