อาการของผู้ป่วยโลหิตเป็นพิษเป็นอย่างไร
ผู้ป่วยที่โลหิตเเป็นพิษมักจะมีอาการของอวัยวะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการติดเชื้อ เช่น มีฝีที่ผิวหนัง หรือไอมีเสมหะ หรืออาการปวดท้อง หรือท้องร่วง หรือมีอาการปวดเอวร่วมกับปัสสาวะขัด แต่ก็มีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีอาการของแหล่งติดเชื้อ เช่นผู้ป่วยที่ลิ้นหัวใจอักเสบเป็นต้น นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตเป็นพิษมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย
- ไข้สูงหนาวสั่น หรือบางรายอุณหภูมิต่ำกว่าปรกติ
- หายใจหอบ
- คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง
- สับสน กระวนกระวาย หรืออาจจะซึม
- ปัสสาวะออกน้อย
- ผิวอาจจะอุ่น แดง หรือซีดและเย็นก็ได้ขึ้นกับระยะของโรค
- ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
หากมีอาการตำแหน่งติดเชื้อร่วมกับอาการดังกล่าวให้พบแพทย์
เมื่อไรจึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคโลหิตเป็นพิษ
การจะวินิฉัยว่าโลหิตเป็นพิษจะต้องมีเกณฑ์วินิจฉัยดังนี้
- จะต้องมีแหล่งที่ติดเชื้อซึ่งอาจจะมีอาการหรือสิ่งตรวจพบดังต่อไปนี้เป็นการพิสูจน์ว่าผู้ป่วยกำลังมีการติดเชื้อ ซึ่งจะใช้การตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาตำแหน่งที่กำลังมีการติดเชื้ออยู่ ได้แก่
- การเอกซเรย์ เช่น เอกซเรย์ปอดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในปอดหรือไม่
- การตรวจอัลตราซาวน์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เช่น อัลตราซาวน์ช่องท้องเพื่อดูว่ามีฝีเกิดขึ้นในช่องท้องหรือไม่
- การเจาะน้ำจากตำแหน่งต่างๆ เช่น น้ำไขสันหลัง น้ำในช่องท้อง น้ำในช่องปอด ตรวจพบเม็ดเลือดขาว หากพบแสดงว่ามีการติดเชื้อ
- การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือไม่
- ไอเสมหะสีเหลืองหรือเป็นหนอง หรือตรวจรังสีทรวงอกพบว่าเป็นปอดบวม
- มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
- เพาะเชื้อจากเลือดพบตัวเชื้อ
- เมื่อมีอาการหรือแหล่งที่ติดเชื้อตามข้อ 1 จะต้องมีการตรวจพบในข้อสองอีกสองข้อได้แก่
- มีไข้มากกว่า 38 องศาหรือต่ำกว่า 36 องศา
- หายใจมากกว่า 20 ครั้งหรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
- หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 90 ครั้งต่อนาที
- ตรวจพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า12000 เซลล์ต่อมม หรือน้อยกว่า 4000 เซลล์ หรือมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมากกว่า10%
หากมีอาการในข้อที่ 1 และมีการตรวจพบในข้อที่ 2 อีกสองข้อจะเข้าเกณฑ์ว่าเป็นภาวะโลหิตเป็นพิษ หรือภาวะติดเชื้อเข้ากระแสเลือด
- เป็นเกณฑ์ของการประเมินว่าภาวะโลหิตเป็นพิษเป็นชนิด severe sepsis หรือไม่ หากปรากฎว่ามีข้อใดข้อหนึ่งก็แสดงว่าเป็น severe sepsis
- ระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ หัวใจจะบีบตัวได้น้อยลง ความดันโลหิตก็จะยิ่งลดลง ยิ่งทำให้การส่งเลือดไปสู่อวัยวะต่างๆ น้อยลงไปอีกความดันโลหิตต่ำ ต้องใช้ยาเพิ่มความดันโลหิตโดยร่างกายไม่ขาดน้ำ
- ปอด การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนระหว่างปอดกับเลือดจะน้อยลง มีภาวะขาดออกซิเจน
- ไตเสื่อม ปัสสาวะออกน้อยกว่า0.5ซซ/กม/ชมในเวลา 2 ชม
- มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า80,000
- มีภาวะเลือดเป็นกรดpH<7.30 สูงกว่า 1.5เท่า
- สมอง จะเกิดอาการสับสน วุ่นวาย หรือซึม จนถึงขั้นโคม่า ในที่สุด
- ตับ ตับทำงานน้อยลงจะมีการคั่งของน้ำดี ทำให้มีอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง และตับยังจะหยุดผลิตสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดจึงออกได้ง่าย
- ระบบการแข็งตัวของเลือด นอกจากสารเคมีที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดซึ่งผลิตจากตับจะน้อยลงแล้ว ปริมาณเกล็ดเลือลดลงด้วย ทำให้เลือดออกง่าย ผู้ป่วยจะมีเลือดออกไม่หยุดเกิดขึ้นได้ในอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น ปอด สมอง ลำไส้ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
หลักการรักษา
- การให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยจะต้องให้ให้เร็วที่สุดก่อนที่ผลเพาะเชื้อจะออก แพทย์จะเริ่มให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดโดยครอบคลุมเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุ โดยพิจารณาจากอายุ โรคประจำตัวของผู้ป่วย แหล่งต้นเหตุของการติดเชื้อ รวมทั้งพิจารณาว่าเป็นการได้รับเชื้อจากภายในโรงพยาบาล หรือจากภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อผลการเพาะเชื้อสามารถระบุชนิดเชื้อ และความไวของเชื้อต่อชนิดยาปฏิชีวนะได้แล้ว แพทย์ก็จะเปลี่ยนชนิดยาให้เหมาะสมต่อไป
- การกำจัดต้นเหตุที่มีการติดเชื้อ และทำให้เกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น หากผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะอยู่ แล้วมีการติดเชื้อที่กรวยไต ก็ต้องนำสายสวนปัสสาวะออก ถ้าจำเป็นต้องใส่ ก็ต้องเปลี่ยนเส้นใหม่ หรือหากมีการติดเชื้ออักเสบเป็นหนองในบริเวณไหน ก็ต้องเจาะระบายเอาหนองออก เป็นต้น
- การให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ การเพิ่มความดันโลหิตโดยประเมินจากระดับ lactate ในเลือดให้ต่ำกว่า 4
- การให้สารน้ำอย่างเพียงพอ เมื่อได้สารน้ำอย่างเพียงพอแล้วหากความดันโลหิตไม่เพิ่มจะต้องได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
- การเติมเลือดในกรณีที่ความเข็มของเลือดต่ำกว่า 30
- การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปรกติ
- การใช้เครื่องช่วยหายใจ
- การรักษาประคับประคอง ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ให้ยาลดกรดป้องกันภาวะเลือดออกจากความเครียด
อ่านเรื่องโลหิตเป็นพิษ