การตรวจคุณสมบัติทางเคมี (Chemical examination)
ส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญในปัสสาวะพบว่า 95% เป็นน้ำ 2.5 % เป็นยูเรีย อีก 2.5% เป็นสารอื่นๆ ถ้าแยกส่วนประกอบที่เป็นมิลลิกรัมออกมาในน้ำปัสสาวะ 100 ซีซี (ลูกบาศก์เซนติเมตร) จะพบว่ามี
ส่วนประกอบ |
ปริมาณ (มิลลิกรัม) |
1. Urea Nitrogen |
682 |
2. Urea |
1,459 |
3. Creatinin Nitrogen |
36 |
4. Creatinin |
97 |
5. Uric acid nitrogen |
12.30 |
6. Uric acid |
36.90 |
7. Amino nitrogen |
9.70 |
8. Ammonia nit |
57 |
9. Sodium |
212 |
10. Potassium |
137 |
11. Calcium |
19.50 |
12. Magnesium |
11.30 |
13. Chloride |
314 |
14. Total sulphate |
91 |
15. Inorganic sulphate |
83 |
16. Inorganic phosphate |
127 |
นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ อีก ดังนี้ ได้แก่เอนไซม์ฮอร์โมนฮอรโมนเพศ ช่วยสร้างความกระชุ่มกระชวย ผิวพรรณดี ลดรอยย่นและความหย่อนยานสร้างสุขภาพจิตที่ดี ลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันกระดูกผุอินซูลิน คนที่เป็นเบาหวานจะได้อินซูลินเข้าไปช่วยเสริมสร้างการเจริญอาหารฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) พบในปัสสาวะตอนเช้า สารนี้ช่วยให้จิตใจสงบ ลดความกระวนกระวาย หลับสบาย
การตรวจทางเคมีได้แก่การตรวจดังต่อไปนี้
- ความเป็นกรด - ด่าง (pH)ค่าปกติ4.6 - 8.0 เป็นการบอกความสามารถของไตในการควบคุมสมดุลกรด - ด่างของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของค่า pHจะ เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการเผาผลาญอาหาร ชนิดของอาหาร โรค และ การใช้ยา ค่าความเป็นกรด และด่างของปัสสาวะมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาบางอย่าง และการตกตะกอนของสารบางอย่าง ในปัสสาวะทำให้เกิดนิ่วได้
- ปัสสาวะเป็นกรด พบในภาวะ อดอาหาร รับประทานโปรตีนมากไป การติดเชื้อ ยาบางชนิดหากค่า pH น้อยกว่า 4 แสดงว่าปัสสาวะเป็นกรดมาก
- ปัสสาวะเป็นด่าง พบในภาวะกินเจ ยาบางชนิด หากค่า pH มากกว่า แสดงว่าปัสสาวะเป็นด่างมาก
- โปรตีน(Protein)ในคนปกติจะตรวจไม่พบโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะ การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงการที่มีโปรตีนมากกว่าปกติในปัสสาวะอาจเป็น เครื่องบ่งชี้ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรคที่มีพยาธิสภาพภายในไต ไตอักเสบเรื้อรังและเฉียบพลัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ การสัมผัสสารโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอท แคดเมียม มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อไต มีผลทำให้โปรตีนออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก โรคเบาหวานที่เริ่มมีโรคแทรกซ้อน การตั้งครรภ์ระยะท้ายๆ มีไข้ กลุ่มโรคเนโฟตริก อ่านเรื่องไข่ขาวในปัสสาวะที่นี่
- การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะเป็นช่วงๆ ชั่วครั้ง ชั่วคราวนั้น มักจะเกิดจากภาวะการทำงานของร่างกายมากกว่าที่จะเป็นโรคไต เช่น มีการออกกำลังกายหักโหมเกินไป ยืนเดินนานๆ อยู่ในภาวะเครียดวิตกกังวล การเก็บปัสสาวะในขณะที่มีการแข็งตัวของอวัยวะเพศในเพศชาย การเก็บปัสสาวะในขณะที่มีรอบเดือน เป็นต้น
- การรายงานผลจะรายงานเป็น Trace , 1+ , 2+ , 3+ และ 4+ หมายถึง พบโปรตีนในปริมาณน้อยๆ ไปจนถึงปริมาณมากตามลำดับ
- น้ำตาล (Glucose) ค่าปกติ ไม่มี (Negative) การตรวจพบกลูโคสในปัสสาวะจะสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคเบาหวาน ควรจะงดอาหารไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง แล้วเจาะเลือด ดูน้ำตาลในเลือดเพื่อยืนยันโรคเบาหวานต่อไป
- ถ้าตรวจพบกลูโคสในปัสสาวะ ในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ อาจเกิดจากหลอดเลือดฝอยในไตมีความสามารถในการดูดซึมกลูโคสกลับได้น้อยกว่าปกติ กรณีที่พบกลูโคสในปัสสาวะได้ เช่น หลังรับประทานอาหารหนัก หรือ เกิดความกดดันทางอารมณ์
- การรายงานผลจะรายงานเป็น Trace , 1+ , 2+ , 3+ และ 4+ หมายถึง พบน้ำตาลในปริมาณน้อยๆ ไปจนถึงปริมาณมากตามลำดับ
- คีโตน (Ketone )ปกติจะตรวจไม่พบสารคีโตนในปัสสาวะ การตรวจพบสารคีโตนในปัสสาวะแสดงว่าร่างกายได้ใช้ไขมันมาทำให้เกิดพลังงาน ซึ่งอาจพบว่าเกิดจากการจำกัดอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารประเภท ไขมันเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นพลังงาน จะพบได้ในโรคเบาหวาน หรือ มีการจำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เป็นต้น อ่านคีโตนที่นี่
- สารประกอบของเลือด(Occult blood )ปกตจะตรวจไม่พบ ใช้ตรวจสารฮีโมโกลบินซึ่งมีอยู่ในเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ มักพบในภาวะไตอักเสบเฉียบพลัน เลือดคั่งในไต นิ่ว มะเร็งที่ไต วัณโรคที่ไต
- บิลิรูบิน.(Bilirubin ) ปกติจะตรวจไม่พบ การตรวจพบ bilirubin ในปัสสาวะแสดงถึงโรคที่เกิดจากเซลล์ตับอักเสบ หรือมีการ อุดตันของทางเดินน้ำดี การตรวจนี้จึงมีความสำคัญและจำเป็น ในการวินิจฉัยโรค
- ยูโรบิลิโนเจน (Urobilinogen) ปกติจะตรวจไม่พบสารนี้ในปัสสาวะโดยทั่วๆ ไปโรคใดที่ทำให้ bilirubin เพิ่มขึ้นจะทำให้ urobilinogen เพิ่มขึ้นด้วย โรคชนิดใดที่ทำให้ตับไม่สามารถกำจัด urobilinogen ได้ จะทำให้มี urobilinogen ในปัสสาวะเพิ่มขึ้น รวมทั้งในภาวะที่มีการทำลายของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เช่น hemolytic anaemia เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการตรวจ urobilinogen ในปัสสาวะมีประโยชน์มากเพราะจะช่วยในการแยกชนิด โรคตับ, hemolytic disease, และ การอุดตันของท่อน้ำดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทำการตรวจเป็นระยะๆ จะติดตามการดำเนินของโรคและดูการตอบสนองต่อการรักษา
- เลือด(Blood ) การพบเลือดแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่ว เนื้องอก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ไนไตรท์(Nitrite) ค่าปกติ ไม่มี (Negative) ตรวจเพื่อใช้เป็นเครื่องบ่งชี้การอักเสบของทางเดินปัสสาวะเนื่องจากแบคทีเรีย ดังนั้นจึงควรทำการตรวจภายใน 1 ชั่วโมง หลังเก็บปัสสาวะ
- เม็ดเลือดขาว (Leukocytes) ค่าปกติ ไม่มี (Negative) การพบเม็ดเลือดขาวแสดงว่ามีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ
การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ได้แก่
1.เซลล์(Cells) เซลล์ต่างๆ เหล่านี้ คือ
- จุลชีพ (Microorganism)คนปกติจะตรวจไม่พบเชื้อโรคในปัสสาวะ หากพบจะถือว่าผิดปกติ เชื้อที่เรามักจะพบได้แก่
- แบคทีเรีย (Bacteria) เช่น Cocci , Bacilli
- เชื้อรา (Fungi) เช่น Yeast , Budding , Pseudo , Hyphae
- อสุจิ (Spermatozoa)
- พยาธิ (Parastie) เช่น Tirchomonas vaginalis , Enterobius vermicularis , E.histolytica , Shistosoma spp.
- เม็ดเลือดแดง(Red Blood Cellsปกติปัสสาวะจะไม่พบเม็ดเลือดแดง หากพบแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ อาจจะจากอุบัติเหตมีการกระแทกทางเดินปัสสาวะ หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อบางครั้งก็ทำให้มีเม็ดเลือดแดงออกมาในปัสสาวะได้ แต่มักจะมีเม็ดเลือดขาวมากกว่า สาเหตุที่พบบ่อยสุด ที่ทำให้พบเม็ดเลือดแดงจำนวนมากในปัสสาวะ คือ นิ่ว
- หากพบแสดงว่ามีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ อาจจะจากอุบัติเหตมีการกระแทกทางเดินปัสสาวะ
- หรือมีเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ
- หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ สาเหตุที่พบบ่อยสุด ที่ทำให้พบเม็ดเลือดแดงจำนวนมากในปัสสาวะ คือ นิ่ว
- การติดเชื้อบางครั้งก็ทำให้มีเม็ดเลือดแดงออกมาในปัสสาวะได้ แต่มักจะมีเม็ดเลือดขาวมากกว่า
- ถ้ามีประจำเดือน ไม่ควรเก็บปัสสาวะตรวจ เพราะเลือดจากประจำเดือนจะลงไปปนกับปัสสาวะ ทำให้ พบเม็ดเลือดแดง จำนวนมากในปัสสาวะได้
- เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells) ค่าปกติ ไม่มี (Negative) แสดงว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ กรวยไตอักเสบ
- ถ้าพบเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย เช่น 1-2 Cell/ HDF อาจจะไม่สำคัญเท่าไรนัก อาจจะเกิดจากการเก็บปัสสาวะตรวจไม่ถูกวิธี แต่ถ้ามีการติดเชื้ออาจจะพบหลายสิบตัว หรือเป็นร้อยๆ ซึ่งจะรายงานว่า มีจำนวนมาก (Numerous)
- เซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะในส่วนต่างๆ (Epithelial Cells)ค่าปกติ ไม่มีหรือมีน้อยมาก (Negative) อาจจะพบได้เมื่อมีการอักเสบหรือความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ
2คาสท์ (Casts)
ค่าปกติ ไม่มี (Negative) มีหลายชนิด ได้แก่
- Hyaline casts จะพบในคนที่ออกกำลังกาย มีไข้ และมีโปรตีนในปัสสาวะ ไม่ใช่ตัวบ่งบอกถึง ความผิดปกติของไต ชนิด intrinsic แต่บอกถึง ปัญหาทาง prerenal ซึ่งได้แก่ CHF ภาวะขาดน้ำเป็นต้น
- Cellular casts พบได้ในภาวะไตวายชนิด intrinsic
- Granular และ waxy casts พบประจำในภาวะ acute tubular necrosis
- Broad casts เป็นคาสท์ขนาดใหญ่ชนิดใดก็ได้ พบในภาวะไตวายแบบเฉียบพลัน หรือรุนแรงแบบเรื้อรัง
3ผลึก (Crystal)
ค่าปกติ ไม่มี (Negative) ผลึกในปัสสาวะปกติเกิดขึ้นได้เมื่อปัสสาวะเย็นลง ชนิดและปริมาณของผลึกต่างๆ ในปัสสาวะขึ้นกับ pH เช่น ในปัสสาวะที่เป็นกรด จะพบผลึกยูเรต ในปัสสาวะที่เป็นด่างจะพบผลึกฟอสเฟตและ จะพบผลึกทั้งสองชนิดนี้ในปัสสาวะปกติได้เช่นกัน นอกจากนี้อาจจะมีรายงานผลึกของสารต่างๆ ที่ปนมากับปัสสาวะ เช่น Calcium Oxalate หรือ Urate Crystal ซึ่งสารเหล่านี้อาจจะตกตะกอนเป็นนิ่วต่อไปได้
4อสัณฐาน (Amorphous)
ค่าปกติ ไม่มี (Negative) 3.5ตะกอนปัสสาวะชนิดอื่น(Misellaneous) ได้แก่ Mucous Threads , Cylindroid , Fat Droplets
ค่าผลการตรวจปัสสาวะ
รายการ |
ค่าปกติ |
เม็ดเลือดขาว WBC(White Blood Cells) |
ตรวจไม่พบ |
เม็ดเลือดแดง RBC (Red Blood Cells ) |
ตรวจไม่พบ |
เซลเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ Epithelial Cells |
Negative |
น้ำตาลในปัสสาวะ Glucose |
ตรวจไม่พบ |
น้ำดี Bilirubin |
ตรวจไม่พบ |
ภาวะเป็นกรดในร่างกาย Ketones |
ตรวจไม่พบ |
ความถ่วงจำเพาะ Specific Gravity |
1.003 – 1.030 |
เลือด Blood |
ตรวจไม่พบ |
ความเป็นกรด - ด่าง pH |
4.6 - 8.0 |
โปรตีน Protein |
ตรวจไม่พบ |
สารที่ได้จากน้ำดี Urobilinogen |
0.3-1.0 EU/dL |
ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย Nitrite |
ตรวจไม่พบ |
เม็ดเลือดขาว Leukocytes |
ตรวจไม่พบ |
สี Color |
สีเหลือง ใส |
ไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากเลือดดังนั้นการตรวจปัสสาวะสามารถบอกหน้าที่ของไต การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และการทำงานของระบบอื่น
การตรวจเลือด CBC | การตรวจปัสสาวะ UA | สีปัสสาวะ | การตรวจอุจาระ | การตรวจน้ำตาล | การตรวจไขมัน | การตรวจการทำงานของไต | การตรวจการทำงานของตับ | การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ | การตรวจเลือดเพื่อหามะเร็ง | การตรวจไวรัสตับอักเสบบี | การตรวจหัวใจ