การเลือกหน้ากากป้องกันการติดเชื้อ
หน้ากากอนามัยมีด้วยกันหลายชนิดการเลือกใช้อย่างเหมาะสม จะสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ และยังสามารถป้องกันอันตรายจากพิษของฝุ่นบางประเภทได้ด้วยหน้ากากป้องกันการติดเชื้อ ที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้(ในที่นี้จะเกล่าถึงหน้ากากป้องกันการติดเชื้อวัณโรค)
- สามารถกรองที่มีขนาดตั้งแต่ 1µ ประสิทธิ์ภาพในการกรอง 95% ที่อัตราการไหลเวียนของอากาศ 50 ลิตร/นาที(คำอธิบาย
ขนาดของเสมหะมี 1-5µ ดังนั้นหน้ากากต้องกรองเสมหะที่มีขนาดเล็กที่สุด อัตราการไหลเวียน 50
ลิตร/นาที่เป็นปริมาตรของอากาศที่ไหลผ่านเข้าออกเมื่อคนสวมหายใจในขณะออกกำลังกาย)
- หน้ากากต้องสามารถทดสอบการรั่วได้ไม่เกิน 10%
- หน้ากากที่ดีต้องสวมใส่ได้กับทุกคนโดยทั่วไปไม่ควรจะมีขนาดมากกว่า 3 ขนาด
- ต้องสามารถทดสอบว่าหน้ากากมีความสมบูรณ์เพียงใดก่อนการใช้ทุกครั้งตามมาตรฐานการตรวจสอบ
ชนิดของหน้ากาก
- หน้ากากที่ใช้สวมในขณะผ่าตัด Surgical mask เป็นหน้ากากทีสวมขณะผ่าตัดเพื่อป้องกันเลือด หรือเสมหะของผู้ป่วยที่จะกระเด็นเข้าปากและจมูกของหมอผ่าตัด และป้องกันเสมหะหรือน้ำลายของแพทย์ที่จะไปปนเปื้อนบริเวณที่จะผ่าตัด ไม่ควรนำหน้ากากนี้มาใช้กับคนที่ป่วยเป็นวัณโรคเพราะไม่สามารถป้องกันได้ วิธีการใช้คลิกที่นี่
- หน้ากากที่ใช้ครั้งเดียว Disposable Particulate Respirators
ตามมาตรฐานของ NIOSH จะมีชนิด N,R,P ซึ่งจะมีหรือไม่มีช่องสำหรับหายใจออก exhalation valve
ก็ได้
เช่น ชนิด N95
ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้
- ใช้แล้วทิ้ง ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด
- น้ำหนักเบาและสวมใส่ง่าย
ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้
- เนื่องจากการหายใจเข้าจะทำให้เกิดความดันในหน้ากากต่ำกว่าภายนอน อากาศอาจจะเล็ดรอดทางรูรั่วได้
- หน้ากากที่มีท่อสำหรับหายใจออกไม่เหมาะที่จะใช้ในห้องผ่าตัดเพราะจะทำให้บริเวณผ่าตัดสกปรก
N95 |
ไม่มีท่อหายใจออก |
มีท่อหายใจออก |
- หน้ากากชนิดเปลี่ยนไส้กรอง เป็นหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนไส้กรองอากาศได้ สามารถนำมาใช้ใหม่ แต่ต้องหมั่นทำความสะ
อาดแบ่งเป็นสองชนิดคือ
A หน้ากากครอบครึ่งหน้า Half-Mask Replaceable Particulate Filter Respirator
อาจจะมีที่กรอง 1-2 ช่อง อาจจะต้องใช้ร่วมกับแว่นกันใบหน้า
ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้
- น้ำหนักเบา ใช้ได้สะดวก
- หน้ากากนี้ทำด้วยยางใช้ได้นาน สามารถเปลี่ยนไส้กรองก็นำมาใช้ใหม่
ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้
- ต้องหมั่นตรวจสอบรอยรั่ว การเสื่อมของหน้ากาก การทำความสะอาด
- เนื่องจากการหายใจเข้าอาจจะทำให้การรั่วของอากาศโดยไม่ผ่าไส้กรอง
- สื่อสารกับคนอื่นลำบาก
- ไม่สามารถใช้ในห้องผ่าตัด
B หน้ากากครอบเต็มหน้า Full Facepiece Replaceable Particulate Filter Respirator
เหมือนกับชนิดข้างบนแต่มีที่สำหรับกันใบหน้า
ข้อดีของหน้ากาก
- การรั่วของอากาศน้อยกว่าชนิดครึ่งหน้า
- สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนไส้กรอง
- ป้องกันตาจากการกระเด็นของเสมหะ
ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้
- ไม่สามารถใช้ในห้องผ่าตัด
- ต้องมีการทำความสะอาด ตรวจสอบรอยรั่ว
- อาจจะมีการรั่วของอากาศ
- การสื่อสารทำได้ลำบาก
- ต้องใช้แว่นตาชนิดพิเศษ
- หน้ากากชนิดที่มีอากาศหายใจ PAPRs เป็นหน้ากากที่มีมอเตอร์ดูดอากาศจากสิ่งแวดล้อม ผ่านเครื่องกรองอากาศแล้วส่ง ผ่านไปยังภายในหน้ากาก มีสองชนิดคือ
- ชนิดครอบพอดีกับใบหน้า Tight-Fitting PAPR อาจจะเป็นชนิดครึ่งหน้าหรือเต็มหน้า อาจจะมีกระจกสำหรับป้องกันเสมหะ
5
- If you are healthy, you only need to wear a mask if you are taking care of a person with suspected 2019-nCoV infection.
- Wear a mask if you are coughing or sneezing.
- Masks are effective only when used in combination with frequent hand-cleaning with alcohol-based hand rub or soap and water.
- If you wear a mask, then you must know how to use it and dispose of it properly.
- Before putting on a mask, clean hands with alcohol-based hand rub or soap and water.
- Cover mouth and nose with mask and make sure there are no gaps between your face and the mask.
- Avoid touching the mask while using it; if you do, clean your hands with alcohol-based hand rub or soap and water.
- Replace the mask with a new one as soon as it is damp and do not re-use single-use masks.
- To remove the mask: remove it from behind (do not touch the front of mask); discard immediately in a closed bin; clean hands with alcohol-based hand rub or soap and water.
คําแนะนําเรื่องการใช้หน้ากาก เพื่อป้องกันการติดต่อโควิด-19
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3 มีนาคม 2563
1. ผู้ที่มีอาการไข้หวัดทุกคน ใส่หน้ากากอนามัย ให้ติดเป็นนิสัย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แม้ปัญหาเรื่องโควิด-19 จะหมดไปแล้ว
2. ผู้ที่มีประวัติเดินทางไปสถานที่เสี่ยง หรือใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยง ใส่หน้ากากอนามัย แม้จะไม่มีอาการ
3. ผู้ที่ต้องช่วยดูแลบุคคลในข้อ 2. ใส่หน้ากากอนามัย
4. ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ปิดที่มีคนอยู่แออัด ทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เช่น รถสาธารณะ ร้านอาหาร โรงมหรสพ ใส่หน้ากากอนามัย
5. ผู้ที่จะไปติดต่อโรงพยาบาลด้วยเหตุใด ๆ (ช่วงนี้ให้เลี่ยงไปโรงพยาบาล ถ้าไม่จําเป็นจริง ๆ) ใส่หน้ากากอนามัย
6. พนักงานขับรถสาธารณะ หรือให้บริการสาธารณะอื่น ที่มีคนอยู่รวมกันจํานวนมาก ใส่หน้ากากอนามัย
7. บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั่วไป ใส่หน้ากากอนามัย และถ้าเป็นผู้ป่วยมีอาการไข้หวัดหรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ใส่หน้ากากอย่างน้อยเทียบเท่า N 95 เพราะถ้าได้รับเชื้อแล้วจะไปแพร่ให้ผู้ป่วยอื่นได้ง่าย
ส่วนในกรณีอื่น ๆ ถ้าจัดหาหน้ากากอนามัยได้ง่าย เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะใส่เมื่อออกไปที่สาธารณะ เพื่อป้องกันตนเองหรือป้องกันผู้อื่น ยังไม่มีหลักฐานรองรับทั้งด้านคัดค้าน และด้านสนับสนุนในเรื่องของ ประโยชน์ที่ได้รับผลที่เสีย เว้นแต่จะทําให้หน้ากากมีใช้ไม่เพียงพอ
ทั้งนี้หน่วยงานรัฐต้องจัดหาหน้ากากทุกประเภท ให้บุคลากรทางการแพทย์มีใช้อย่างเพียงพอตาม สมควรก่อน แล้วจัดหาหน้ากากอนามัย ให้เพียงพอสําหรับประชาชนทั่วไปใช้งานเท่าที่จําเป็น แล้วจึงไป ทําการแจกหน้ากากอนามัยให้ประชาชน แบบหวังผลทางการเมือง และต้องให้ความรู้กับประชาชนว่า การใส่หน้ากากอนามัย เป็นเพียงมาตรการหนึ่ง ในการป้องกันการติดเชื้อ ต้องทําควบคู่ไปกับ การดูแลสุขภาพทั่วไป การให้ข้อมูลการเจ็บป่วยอย่างเปิดเผย การหลีกเลี่ยงไปที่ชุมนุมชน การะมัดระวังไม่สัมผัสวัตถุและวัสดุและ ส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้อื่นในที่สาธารณะ และหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกฮอล์เจล การใส่ การถอด และการทิ้ง หน้ากากทุกประเภท ต้องทําให้ถูกวิธี เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
คำแนะนำ